ละคร มิติสื่อเชิงสร้างสรรค์ต่อสังคม
น้อยคนนักที่จะปฏิเสธว่าไม่เคยดูละครหลังข่าว ละครโทรทัศน์ ธุรกิจการผลิตวัฒนธรรมของสังคมสมัยใหม่ที่สะท้อนแง่มุมและกระแสชีวิตที่เกิดขึ้นในสังคมในรูปแบบความบันเทิง แต่จะทำอย่างไรให้ละครโทรทัศน์ที่มีอิทธิพลต่อคนในสังคมมีความสร้างสรรค์สามารถนำพาสังคมไปสู่สังคมที่ดีกว่าได้และยังมีความกลมกลืนกันระหว่างพาณิชย์และศิลปะที่สร้างความสุนทรีย์ในชีวิตให้กับคนดูในสังคม บทความ ละครมิติสื่อเชิงสร้างสรรค์ต่อสังคม ที่เป็นการรวมตัวกันระหว่างบุคลากรฝ่ายการละครโทรทัศน์และสำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. ในเวทีเสวนา การสร้างสื่อละครมิติใหม่ ที่สามารถชักนำสังคมและชักจูงให้คนดูมีปฏิสัมพันธ์อย่างเหมาะสมกับผู้คนรอบข้างและสังคม เพื่อทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่น่าอยู่และมีสุขภาวะที่ดี ครบทั้ง 4 มิติ
ข่าวปลอม สร้างมาป่วน ปอกลอก ปลุกปั่นอันตราย stop fake news
ในปัจจุบันคนทั้งโลกกำลังประสบกับวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบและสร้างความวิตกกังวลให้กับคนในสังคมทั่วโลก ตั้งแต่เรื่องสุขภาพ การงาน ไปจนถึงภาวะเศษฐกิจในปัจจุบัน ในแต่ละวันเราจะเห็นรายงานข่าวการเสียชีวิตของคนทั่วโลกที่ล้มตายกันเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังมีข่าวปลอมที่สร้างมาป่วน ปอกลอก ชวนเชื่อ สร้างกระแสและปลุกปั่นอันตรายที่แฝงมากับโลกอินเตอร์เนต การรู้เท่าทันข่าวสาร ใช้วิจารณญาณในการบริโภคสื่อ คือสิ่งที่เราทำได้ เพื่อให้ตัวเราปลอดภัยทั้งจากโรคระบาดและไม่ตกเป็นเหยื่อข่าวปลอมเหล่านี้ การ์ตูนแอนิเมชัน โครงการขับเคลื่อนงานคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์
Infographic แนวปฏิบัติสำหรับสื่อมวลชนในการนำเสนอข่าวที่เกี่ยวข้องกับเด็ก กรณีภัยออนไลน์
ข้อแนะนำและแนวทางการปฏิบัติสำหรับสื่อมวลชนที่ควรพึงระวัง ในการนำเสนอข่าวที่เกี่ยวข้องกับเยาวชนเรื่องภัยออนไลน์ โดยต้องคำนึงถึงหลักจริยธรรมเป็นหลัก ทั้งเนื้อหาและวิธีการนำเสนอข่าว ไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล อีกทั้งข้อควรระวังต่างๆ ที่จะไม่เป็นการสร้างภาพลักษณ์ในทางลบแก่เยาวชนหรือสร้างกระแสวิจารณ์จากสาธารณะ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อตัวเยาวชนและครอบครัวในภายหลัง
เทคนิครับมือข่าวร้ายและข่าวลวง
วิธีรับมือข่าวลวง (Fake News) และข่าวร้าย (Bad News) ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่เราถูกห้อมล้อมด้วยข่าวมากมาย สื่อภาพอินโฟกราฟิกนี้ รวบรวมเทคนิคการตรวจสอบข่าวและข้อมูลให้ชัวร์ก่อนแชร์ และเทคนิคการรับมือข่าวร้ายๆ ด้วยสุขภาวะทางปัญญา ทำให้ใจไม่เป็นทุกข์และร้อนรนไปกับข่าวสารที่ได้รับ
10 ประเภทของ Fake News
ในยุคการสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์หรือสื่อดิจิทัล ข่าวสารมีอยู่มากมายการไล่ทะลักของข่าวจำนวนมาก ย่อมแฝงมาด้วยข่าวลวง (Fake news) โดยเราพอจะจำแนกข่าวลวงได้ 10 ประเภท คือ ข่าวพาดหัวยั่วให้คลิก, โฆษณาชวนเชื่อ, ข่าวแฝงการโฆษณา จะมีการ Tie In โฆษณาในเนื้อข่าว, ข่าวล้อเลียนและเสียดสี, ข่าวที่ผิดพลาด, ข่าวเอนเอียงเลือกข้าง, ทฤษฎีสมคบคิด, ข่าววิทยาศาสตร์ลวงโลก ส่วนใหญ่จะเป็นข่าวเกี่ยวกับสุขภาพ, ข่าวลือ และสุดท้ายข่าวหลอกลวง เป็นการแอบอ้างหรือปลอมเป็นแหล่งข่าวนั้นเสียเอง
ทำไมคนถึงหลงเชื่อข่าวปลอม (Fake News)
ทำไมคนถึงหลงเชื่อข่าวปลอมได้ง่าย เพราะว่าข่าวปลอมเป็นข่าวที่เล่นกับความรู้สึกของคน เมื่อคนอ่านแล้วก็ตกหลุมพราง เกิดเป็นกลไกการเชื่อตาม ๆ กันในคนหมู่มาก และที่สำคัญผู้อ่านข่าวไม่มีความละเอียด เน้นการอ่านข่าวเร็ว จึงไม่ได้คิดวิเคราะห์แยกแยะข้อเท็จจริงของข่าวบนหน้าเว็บนั้น ๆ
สร้างทักษะ รู้เท่าทันข่าว (News Literacy) เพื่อรับมือกับข่าวปลอม
การเสพข่าวในปัจจุบันต้องมีการคิด วิเคราะห์ และแยกแยะให้ถี่ถ้วนระหว่างข่าวจริง และข่าวปลอม โดยเราควรสร้างทักษะในการรับมือข่าวปลอม ด้วยการตรวจสอบวันเวลาของข่าวที่เผยแพร่ ตรวจสอบแหล่งข่าวว่าน่าเชื่อถือไหม สังเกตสิ่งผิดปกติต่าง ๆ ในข่าว ทั้งภาษาที่ใช้ รูปภาพประกอบมีการตัดแปลงต่อเติมหรือไม่ ผู้เขียนเป็นใคร ข่าวนี้มาจากสำนักข่าวอะไร เชื่อถือได้หรือไม่
5 ทักษะสู่การเป็นพลเมืองดิจิทัล
ในยุคสื่อสังคมออนไลน์ ทุกคนคือพลเมืองดิจิทัล ที่ต้องมีทักษะในการเสพข่าวดังนี้ ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งข่าว วิเคราะห์จุดประสงค์ของข่าว และแยกแยะข้อเท็จจริงกับความคิดเห็นให้ออก เพื่อไม่หลงเชื่อตามคำชี้นำ และทุกครั้งให้รับข่าวสารโดยไม่มีอคติและมีสติในการเสพข่าวทุกครั้ง เพื่อไม่ตกเเป็นเหยื่อของข่าวลวง
รู้เท่าทันข่าว : ตอนที่ 6 พรุ่งนี้ที่ดีกว่า กับการเท่าทันข่าว
ในสื่อออนไลน์ที่มีการสื่อสารอย่างรวดเร็วการนำเสนอข่าวปลอมข่าวลวงจึงเกิดขึ้นเป็นทวีคูณ เพื่อเรียกยอด Link และยอด Share จากผู้ชมเมื่อคลิกเข้าไปดู การรู้เท่าทันข่าวปลอม ด้วยการค้นคว้าของเท็จจริงของเนื้อหาและแหล่งข่าวก่อนจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น จำไว้เสมอว่า “ชัวร์ก่อรแชร์”
รู้เท่าทันข่าว : ตอนที่ 5 กลุ่มแชท แหล่งเพาะพันธุ์ข่าวปลอม
การแพร่ระบาดของข่าวปลอมบางครั้งมีความรวดเร็วและกระจายไปในวงกว้างมากกว่าข่าวจริงเสียอีก โดยเฉพาะในกลุ่มการสื่อสารแบบปิด หรือ กลุ่มแชททางสื่อออนไลน์ อย่าง Line Group ที่พอคนหนึ่งแชร์เข้ามา ทุกคนก็จะเชื่อว่าเป็นความจริงเป็นทุนเดิม เพราะเป็นกลุ่มญาติ และเพื่อนกัน จึงเกิดการแชร์ต่อ หรือบางครั้งหลงเชื่อทำให้เกิดความเสียหายต่อสุขภาพและทรัพย์สิน ดังนั้นเมื่อได้รับข่าวข้อมูลใด ๆ ควรเช็คดูข้อเท็จจริงจากแหล่งอ้างอิงก่อน และดูว่าแหล่งข่าวมีความน่าเชื่อถือหรือไม่