รู้เท่าทันข่าว (News Literacy)
ในยุคของการสื่อสารแบบหลอมรวม ส่งผลให้พฤติกรรมการบริโภคข่าวสารของผู้คนเปลี่ยนไป คนใช้สื่อออนไลน์หรือสื่อโซเชียลมีเดียในการสื่อสารกันมากขึ้น ทั้งเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ หรือ ไลน์ และเรามิได้เป็นเพียงผู้อ่านหรือรับชมสื่อเท่านั้น ในคน ๆ หนึ่งเป็นได้ทั้งผู้ผลิตและผู้รับสารในคร่าวเดียวกัน เราเน้นการแชร์ การส่งต่อ และการกระจายข่าวออกแบบรวดเร็ว ขาดการตรวจสอบ จึงทำให้เกิดปัญหาข่าวลวง ข่าวปลอมเกิดขึ้นมากมาย ด้วยรูปแบบการสื่อสารในสังคมยุคนี้ เราทุกคนจึงกลายเป็น “พลเมืองดิจิทัล” ที่ต้องเรียนรู้และมีทักษะในการรู้เท่าทันข่าว หรือ News Literacy คือ มีความรอบรู้ คิดวิเคราะห์ และเลือกใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์
เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร
หนังสือสรุปผลงานวิจัย 3 เรื่อง เพื่อการส่งเสริม ปกป้อง และคุ้มครองเด็กและเยาวชนในสื่อยุคดิจิทัล ในรูปแบบที่อ่านง่าย เข้าใจง่าย ประกอบไปด้วย 1. งานวิจัยประเด็นข้อเสนอนโยบายของหน่วยงานรัฐ เอกชน และภาคประชาสังคมต่อประเด็นการแข่งขันอีสปอร์ตในประเทศไทย 2. งานวิจัยประเด็นการขับเคลื่อนการรู้เท่าทันสื่อและดิจิทัลสำหรับเด็กเยาวชนในต่างประเทศและแนวทางสำหรับประเทศไทย และ 3. งานวิจัยประเด็นการนำเสนอข่าวที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเด็กผ่านสื่อเฟซบุ๊กของสำนักข่าวออนไลน์ เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองและผู้ที่ทำงานด้านเด็กและเยาวชนตระหนักและรู้เท่าทันสื่อในโลกยุคดิจิทัลอย่างทันท่วงที