สื่อเป็นโรงเรียนของสังคม ขอนแก่น
สื่อเป็นโรงเรียนของสังคม ต.ท่าพระ จ.ขอนแก่น สนับสนุนให้น้องๆ ผลิตสื่อสร้างสรรค์ที่หลากหลาย เพื่อให้น้องๆ เกิดความรัก และความผูกพันกับชุมชน
คุณตาสุ่ม เล่าเรื่องสาวะถี ปราชญ์ชาวบ้าน ณ. สาวะถี
ศิลป์สร้างสุขพาไปรู้จัก บ้านตาสุ่ม สุวรรณวงศ์ ปราชญ์สาวะถี พักอยู่ตรงใกล้ๆ วัดไชยศรี ผู้รู้เรื่องหมู่บ้านสาวะถี เล่าเรื่องราวชุมชน ไปชมกันว่าคุณตามีชีวิตเรียบง่ายอย่างไร
ท่าพระ ชุมชนเศรษฐกิจ อดีตชุมทางการค้าภาคอีสาน
เสียงฉึกกะฉัก...ฉึกกะฉัก...ของรถไฟดังขึ้นครั้งแรกในชุมชน “ท่าพระ” หนึ่งใน 18 ตำบลของอำเภอเมืองขอนแก่น จากชุมชนเล็กๆ ที่มีผู้คนอาศัยอยู่เพียง 2 – 3 ครอบครัว เริ่มมีจำนวนมากขึ้น ซึ่งไม่ได้มีแค่คนไทยแต่ยังมีคนจีนแผ่นดินใหญ่ที่หอบเสื่อผืนหมอนใบ มาตั้งหลักปักฐานบนแผ่นดินนี้ เกิดเป็นชุมชนที่มีขนาดใหญ่ขึ้น มีตลาดสถานีรถไฟที่พ่อค้าแม่ขายได้นำสินค้ามาจำหน่าย แม้จะเป็น “ตลาดแบกะดิน” หรือตลาดที่ขายของบนพื้น แต่ตลาดแห่งเดียวกันนี้ก็นับว่าเป็นศูนย์กลางทางการค้า เพราะนอกจากชาวท่าพระแล้วยังมีชาวบ้านจากอำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม และใกล้เคียง บ้างเดินเท้า บ้างนั่งเกวียนเพื่อนำ “ของป่า” มาขายให้คนท่าพระและพ่อค้าคนกลางที่จะนำสินค้าเหล่านั้นไปขายในกรุงเทพมหานคร รายได้จากการขายของป่าก็นำมาซื้อข้าวของกลับไปขายต่อให้คนในหมู่บ้านซึ่งอยู่ห่างไกลออกไป วิธีนี้ช่วยให้ชาวโกสุมพิสัยและใกล้เคียงไม่ต้องเดินทางไปไกลถึงในตัวจังหวัดขอนแก่นเพราะมีแม่น้ำชีขวางกั้นการสัญจรค่อนข้างลำบาก สำหรับ “ของป่า” ที่ว่านั้น ชาวท่าพระผู้เป็นบุคคลอาวุโสได้บอกเล่าให้ฟังว่า ของป่าเป็นสินค้าชาวบ้านนิยมขาย ได้แก่ มะขามเปียก ครั่ง นุ่น ปอ ข้าว เศรษฐกิจท่าพระในขณะนั้นจึงคึกคักมาก ทำให้บริเวณใกล้เคียงสถานีรถไฟมีการปลูกสร้างบ้านเรือนมากขึ้น
ความฝันความหวังความสุขของเด็กเมืองขอนแก่น
เอกสารสรุปการจัดกิจกรรมในโครงการ ปฏิบัติการเปลี่ยนเมือง ภาคอีสาน ดำเนินการในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นภายใต้ชื่อกิจกรรม 'โครงการ 4 ป. ภูมิใจไทอีสาน (ปลุก ปรับ เปลี่ยน ปลื้ม)' เนื้อหากิจกรรมเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนใน 3 พื้นที่คือ สถานพินิจเด็กและเยาวชนจังหวัดขอนแก่น, ชุมชนเทพารักษ์ ริมทางรถไฟในเขตเทศบาลนครขอนแก่น, ชุมชนสาวะถี อ.เมือง จ.ขอนแก่น นำเสนอความคิดภายใต้แนวคิด 'ความสุข ความฝัน และความหวัง' ว่าลึก ๆ แล้วแท้จริงเด็ก ๆ ต้องการอะไร โดยผลที่ได้ออกมานั้น เด็ก ๆ ในแต่ละพื้นที่ต่างสะท้อนมุมมองออกมาตามบริบทสิ่งแวดล้อมและประสบการณ์ของตัวเองได้อย่างน่าสนใจ เป็นข้อมูลที่ส่งต่อให้ผู้ใหญ่ได้นำไปดำเนินการพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์ เพื่อตอบโจทย์เด็กและเยาวชนให้ได้ตรงจุดอย่างแท้จริง