ศาสตร์พระราชาสู่หนึ่งเดียวกัน ตอนที่ 2 โดย ศาสตราจารย์กีรติ บุญเจือ
ศาสตร์พระราชา สู่ความเป็นหนึ่งเดียว ด้วยการนำแนวคิดทางปรัชญา มาเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ และนำไปสู่การปฏิบัติ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง บางครั้งสังคมนำมาใช้อย่างผิดหลักของปรัชญา เลยไม่ก่อให้เกิดปัญญาในบ้านเมือง แท้จริงแล้วปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือการทำให้คนอยู่ดีมีกิน แต่ไม่ใช่ให้รอแต่จะให้พออยู่พอกินด้วยการรอรัฐบาลสนับสนุน เราต้องเรียนรู้ในการใช้ชีวิตด้วยการพึ่งพาตนเอง นำความเข้มแข็งในระบบเศรษฐกิจพอเพียงมาพัฒนาเศรษฐกิจตามกลไกของโลก และสอดคล้องกับความเจริญของความคิดและจิตใจ เรียกว่าต้องมีการพัฒนาปรัชญาของแนวคิด และพัฒนาปัญญาของคนในชาติด้วย
ศาสตร์พระราชาสู่หนึ่งเดียวกัน โดย ศาสตราจารย์กีรติ บุญเจือ
ศาสตราจารย์กีรติ บุญเจือ ได้สะท้อนแนวคิดศาสตร์แห่งปรัชญา ควรมีพื้นฐานมาจากปรัชญา “ปรัชญา” เป็นภาษาสันสกฤตมีความหมายเดียวกันกับ “ปัญญา” ในภาษาบาลี ศาสตร์พระราชาสู่ความเป็นหนึ่งเดียว ไม่ได้หมายความว่าทำตาม ๆ กันไป แต่ต้องมีพื้นฐานมาจากแนวคิดมาจากปรัชญา คือ รู้ถึงความจริง รู้ว่าความจริงกับความเท็จต่างกันอย่างไร และเรามีการคัดเลือกความจริงที่ถูกต้องมาปรับใช้ในชีวิตได้อย่างไร ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระราชา หมายถึงการรู้ถึงแก่นแท้ของความพอประมาณ, ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี แล้วการเป็นหนึ่งเดียวกัน คือ การประสานกันทุกฝ่ายเพื่อนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาสู่ชีวิต
ชีวิต และปรัชญา โดย ศาสตราจารย์กีรติ บุญเจือ
ร่วมฟังมุมมอง ชีวิตและปรัชญา โดย ศาสตราจารย์กีรติ บุญเจือ ผู้เชี่ยวชาญแนวคิดของปรัชญา ศาสตร์ของการคิดอย่างสร้างสรรค์ บนพื้นฐานของหลักเหตุและผล เพราะแท้จริงการเรียนปรัชญา เพื่อเหตุผล 3 ประการ หนึ่งมองเห็นปัญหาที่คนอื่นธรรมดามองไม่เห็น สองมองเห็นคำตอบเพื่อไปหาทางออกหรือแก้ไขปัญหาที่เราพบด้วยเหตุและผล และสุดท้ายเราสามารถเลือกสิ่งที่ดีที่สุดของคำตอบนั้น เพื่อพัฒนาชีวิตของเราและดูแลสังคมได้ ชีวิตและปรัชญา จึงเกิดขึ้นมาคู่กันอย่างแยกไม่ออก