trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "กา" พบ 1177 ข้อมูล

คู่มือนิเวศภาวนา เตรียมการเดินทาง ค้นหาตัวเองในธรรมชาติแห่งป่าเขา

“ชีวิตคือการเดินทางอยู่ทุกขณะจิต” มนุษย์เราเริ่มออกเดินทางตั้งแต่วินาทีแรกที่เราเกิดมาและระหว่างการเดินทางนั้น เราได้เรียนรู้ ได้ถูกหล่อหลอมขึ้นมาจากสิ่งที่เราได้ประสบพบเจอในสังคมและตลอดเวลาเราต้องเผชิญกับสิ่งที่ทำให้เราสับสนหรือแม้กระทั่งรู้สึกหมดคุณค่าในตัวตน แล้วการเดินทางแบบไหนที่จะสร้างคุณค่าและการตระหนักรู้ให้กับเรา? คู่มือเตรียมการเดินทางค้นหาตัวเองในธรรมชาติแห่งป่าเขา หรือ นิเวศภาวนา ฉบับปี 2563 คือ คู่มือเตรียมความพร้อมในการเดินทางกลับสู่บ้านภายในที่จะนำเรากลับไปค้นหาตัวตนและคุณค่าที่แท้จริงของเราอย่างตระหนักรู้และเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ เพื่อนำคุณค่าที่เราค้นพบในธรรมชาติกลับมาสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับตัวเราและสังคม

การสื่อสารด้วยความกรุณา

หลายครั้งที่การสื่อสารของเรานำไปสู่การเข้าใจผิดและเกิดความขัดแย้งระหว่างเราและผู้ที่เรามีปฏิสัมพันธ์ด้วย ซ้ำร้ายบางความสัมพันธ์ต้องพังลงเพราะการสื่อสารที่ผิดพลาดไม่ตรงความต้องการและความรู้สึกของเราที่ต้องการจะสื่อ ทว่าการจะสื่อสารให้ตรงตามความรู้สึกของแต่ละฝ่ายนั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นกัน การสื่อสารด้วยความกรุณาและการฟังอย่างลึ้งซึ้งด้วยหัวใจ จึงมีความสำคัญและเป็นหัวใจหลักของการสื่อสารที่จะช่วยทลายกำแพงอคติทางความคิด เพื่อช่วยให้ทุกฝ่ายเข้าใจกันและกันให้ลึกไปกว่าคำพูดและเข้าถึงความต้องการของทุกฝ่าย

การจัดระบบชุมชนในพื้นที่ประสบภัยสึนามิ

ในเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิที่ซัดเข้าฝั่งไทยเมื่อปี 2547 ได้สร้างความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างมหาศาล และในความสูญเสียนั้นก็ยังมีปัญหาเรื่องการยึดครองที่ดินของนายทุนตามเข้ามาซ้ำเติมชาวบ้านอีกระลอกหนึ่ง ซึ่งสร้างผลกระทบแก่ชาวบ้านและชุมชนชาวพื้นเมืองทางภาคใต้อย่างรุนแรงไม่ต่างไปกว่าคลื่นยักษ์ แต่วิกฤตปัญหานี้ได้กลายเป็นโอกาสให้เกิดการริเริ่ม การจัดระบบชุมชน โดยการจัดระบบดังกล่าว เป็นการฟื้นฟูรักษาวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวพื้นเมืองทางภาคใต้และสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนในการต่อสู้เพื่อสิทธิของตน รวมถึงสร้างจิตสำนึกแก่คนในสังคมให้มองชนพื้นเมืองอย่างเท่าเทียมและเข้าใจสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์

การจัดระบบชุมชน และขบวนการทางสังคม

ยิ่งสังคมมีความเจริญก้าวหน้ามากเท่าไร ช่องว่างและความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยกับคนจนในสังคมยิ่งมีให้เห็นมากขึ้น ผู้คนเคยชินกับการแข่งขันและให้คุณค่ากับวัตถุมากกว่าเรื่องของจิตใจและคุณธรรม ชุมชนเก่าแก่ในประเทศไทยและในหลายประเทศต้องผจญกับการถูกไล่ที่เพื่อการพัฒนาเมือง ทั้งนี้เพราะมีเหตุปัจจัยมาจากระบบเสรีนิยมที่ให้คุณค่ากับการแข่งขันและการค้าอย่างเสรี การจัดระบบชุมชนและขบวนการทางสังคม ไม่เพียงแค่เข้ามาช่วยสร้างความเข้มแข็งให้แก่คนในชุมชนในการต่อสู้เพื่อสิทธิของตนเท่านั้น แต่ยังให้ความรู้และสร้างจิตสำนึกเรื่องความเท่าเทียมแก่กลุ่มคนอื่นๆ ในสังคม ซึ่งถือเป็นการช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคมและปรับสมดุลการครอบครองทรัพยากรในโลกได้จริง

การเปลี่ยนกระบวนทัศน์

ในยุคปัจจุบันมนุษย์เราถูกกลืนเข้าไปในกระแสแนวคิดภาวะทันสมัย เราใช้ชีวิตมุ่งเน้นไปในทางบริโภคนิยมเพื่อหาความสุขและแข่งขันกับเวลาเพราะต้องการความก้าวหน้าและความทันสมัย แต่ความก้าวหน้าและความทันสมัยนี้กลับทำให้เราขาดความอ่อนโยนและยังต้องเบียดเบียนผู้อื่นและธรรมชาติ อีกทั้งยังสร้างวิกฤตปัญหาความเลื่อมล้ำในสังคม สร้างความขัดแย้งและมลภาวะเอาไว้มากมายอย่างไม่มีทางแก้ การใช้ชีวิตในแนวคิดแบบเดิมๆ ไม่สามารถแก้ไขวิกฤตปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างยั่งยืน ทางออกเดียวที่จะยับยั้งวิกฤตเหล่านี้ได้ คือ การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่ให้เข้าใจต้นตอของปัญหาและสร้างสมดุลในการใช้ชีวิตอย่างตระหนักรู้คุณค่าของธรรมชาติที่เรามี ก็จะช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับตัวเราและสังคมได้

การเจริญสติ เพื่อภาวะการนำจากด้านใน

ทุกครั้งสติมักจะมาหลังจากที่เรารู้สึกทุกข์หรือปัญหาได้เกิดไปแล้ว แต่ถ้าเราฝึกเจริญสติเป็นประจำให้รู้เท่าทันอารมณ์และความคิดของเราปัญหาทั้งหลายก็จะลดน้อยลง เพราะตลอดเวลาสิ่งที่เรารับรู้ทางสัมผัสต่างๆ ถูกนำไปปรุงแต่งต่อด้วยความคิดจนเกิดเป็น “ตัวเราของเรา” เกิดอาการเป็นเจ้าเข้าเจ้าของทั้งร่างกายของเราและสิ่งที่เราได้สัมผัส ซึ่งอาการนี้เป็นบ่อเกิดแห่งปัญหาทั้งหลายในชีวิต การเจริญสติพัฒนาเพื่อภาวะนำภายใน ที่มาพร้อมกับแบบฝึกหัดให้เราฝึกฝนด้วยตัวเอง เพื่อสังเกตความคิด จับอากัปกิริยา ความรู้สึกของตัวเรา การฝึกฝนเจริญสติอย่างต่อเนื่องจะช่วยลดการเกิดปัญหาและทำให้เราดำเนินชีวิตอย่างมีสติรู้เท่าทันตัวเองตลอดเวลา

เยียวยาปมชีวิต เพื่ออิสรภาพภายใน

โรคภัยไข้เจ็บของมนุษย์ที่ปรากฏให้เห็นทางกายภาพ ที่จริงแล้ว บางสาเหตุของอาการมีที่มาจากปมที่ฝังลึกในจิตใจ และปมเหล่านี้มาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตที่สร้างความกระทบกระเทือนต่อจิตใจอย่างรุนแรง จนส่งผลให้ร่างกายสร้างปฏิกิริยาตอบโต้ หรือ เกราะป้องกันตัว เมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกับอดีต อาจจะปรากฏให้เห็นในรูปแบบความผิดปกติต่างๆ ทางร่างกาย หรือ รูปแบบนิสัยบางอย่าง แต่กลไกทางสมองของมนุษย์เองก็มีศักยภาพในการเยียวยารักษาตัวเองได้เช่นกัน เพราะกายกับจิตมีความสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียว การเยียวยารักษาปมที่ฝังในจิตใจจึงต้องเริ่มจากการฝึกฝนให้ตัวเองกลับมาอยู่กับปัจจุบันขณะ ละทิ้งความคิดที่สร้างอคติ ยอมรับตัวตนและการช่วยเหลือจากผู้อื่น เพื่อปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระจากความทุกข์และการใช้ชีวิตในรูปแบบเดิมๆ 

เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

หลายๆ คนอาจจะไม่เคยคิดคำนวณจำนวนไฟฟ้าที่เราใช้ในชีวิตประจำวันว่าเราใช้ไปมากน้อยเท่าไร อีกทั้งอาจจะไม่ได้นึกไปไกลถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้ไฟฟ้าของเราในแต่ละวัน ในประเทศไทยเมื่อมีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ทางรัฐก็ต้องสร้างโรงไฟฟ้าใหม่เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งเท่ากับทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากรเพิ่มขึ้นและยังไม่นับผลกระทบอื่นๆ ที่จะตามมาในภายหลัง เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมชุดนี้ มาพร้อมกับเกร็ดความรู้ในเรื่องผลกระทบในการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างสิ้นเปลืองและวิธีการประหยัดพลังงาน ที่เราในฐานะผู้บริโภคสามารถนำไปศึกษาและประยุกต์ใช้งานได้จริง เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ประเทศของเราและช่วยรักษาทรัพยากรธรรมชาติได้อีกทาง

Slow is beautiful วิถีทางเลือกนั้นเป็นไปได้จริง

หลายคนคงจะไม่เคยรู้มาก่อนว่าตัว “สลอธ” ที่เคลื่อนไหวร่างกายได้สุดแสนจะเชื่องช้านั้น ที่จริงแล้ว พวกเขารู้จักการใช้ชีวิตและรู้สำนึกถึงคุณค่าของธรรมชาติมากกว่ามนุษย์อย่างเราๆ เสียอีก ในโลกของมนุษย์ที่ถูกขับเคลื่อนด้วยระบบเสรีนิยมและการแข่งขัน เราใช้ชีวิตกันอย่างรีบเร่งเน้นสร้างปริมาณและให้คุณค่ากับวัตถุมากกว่าจิตใจ เพราะมีกรอบความเชื่อแบบเดิมๆ ตามฝั่งตะวันตกว่า ยิ่งมีมากยิ่งสุขมาก แต่ยิ่งเรามีมากก็เท่ากับเราต้องเบียดเบียนธรรมชาติและเพื่อนมนุษย์ด้วยกันมากขึ้น ถ้าหากเราลองเปลี่ยนกรอบความคิดเดิมให้กลับมาใช้วิถีชีวิตแบบตะวันออก ที่ใช้ชีวิตให้ช้าลง ใจเย็นลง เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติมากขึ้น เราจะค้นพบว่า เราได้สร้างการเบียดเบียนชีวิตอื่นน้อยลง เรามีความสุขง่ายขึ้นและมองเห็นคุณค่าของสิ่งเล็กๆ ได้ง่ายมากขึ้น

การสำรวจสถานการณ์เด็กไทยกับภัยออนไลน์ 2563

COPAT กรมกิจการเด็กและเยาวชน ร่วมกับ มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นำเสนอข้อมูลการสำรวจสถานการณ์เด็กกับภัยออนไลน์ปี 2563 โดยได้ทำการสำรวจในกลุ่มเด็กมัธยมศึกษา อายุ 12-18 ปี ผลการสำรวจพบหลายประเด็นที่น่าสนใจ เช่น เด็ก 89% เชื่อว่าโลกออนไลน์มีภัยหรือความเสี่ยงต่างๆ 69% มีประสบการณ์ถูกกลั่นแกล้งออนไลน์ด้วยการเรียกถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น และมีเด็ก 29% เคยนัดพบเพื่อนออนไลน์ เป็นต้น

คู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างพลเมืองรู้เท่าทันสื่อสำหรับระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

คู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างพลเมืองรู้เท่าทันสื่อสำหรับระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เนื้อหาบรรจุทั้งแนวคิดเบื้องต้น 8 กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะพลเมืองเท่าทันสื่ออย่างรอบด้าน ทั้งการเข้าใจตนเอง การรู้เท่าทันอารมณ์​ การเคารพสิทธิ์ผู้อื่น การคำนึงถึงความเสี่ยงและความปลอดภัยในโลกออนไลน์ ฯลฯ ปิดท้ายด้วยแบบวัดประเมินทั้งความรู้และทักษะการรู้เท่าทันสื่อ คู่มือนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อเรียนรู้ในครอบครัวและกิจกรรมต่างๆ นอกห้องเรียนสำหรับเด็กในกลุ่มวัยเดียวกัน

เด็กดอยยังกินดี

หนังสือที่ต้องการนำเสนอให้เห็นว่าเด็กในชุมชนชาติพันธุ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะในชุมชนที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจมากขึ้น มีวิถีการบริโภคเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร รวมทั้งครอบครัวชาติพันธุ์ใช้ชีวิตอย่างไรกับกระแสบริโภคนิยมเช่นนี้

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.