trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "กา" พบ 1177 ข้อมูล

ร.๙ ในใจชน ตอน เรื่องของปู่ทูแซะ

“เป็นครูใช่ไหม? ขอฝากเด็ก ๆ ด้วยนะ ช่วยสอนให้เขาเป็นคนดี”  พระราชดำรัสของในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่ครูมิตร ครู กศน. อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ได้ยึดมั่นในพระราชดำรัสนี้ และเดินตามรอยเท้าพ่อเสมอ ครูมิตร มีโอกาสสอนทั้งเด็กและผู้ใหญ่ชาวเขาชาวดอยได้อ่านออกเขียนได้ เพื่อดำรงชีวิตอย่างไม่ลำบาก วันหนึ่งครูมิตรได้พบลูกศิษย์ ชื่อ อากาโหล ซึ่งเป็นทายาทของปู่ทูแซะ ผู้เฒ่าชาวอาข่าที่สมัยหนุ่มได้ต่อสู้กับกองกำลังขุนส่า เพื่อปกป้องบ้านเกิดไม่ให้ถูกยึดเป็นพื้นที่ผลิตยาเสพติด ในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงทราบเรื่องจึงมาชื่นชม และพระราชทานนามสกุลให้ครอบครัวนี้ว่า พนานุรักษ์ แปลว่า ฝากป่าให้ดูแล เรื่องราวนี้ย้ำเตือนให้ครูมิตรและคนไทยทุกหมู่เหล่า ทั้งชาวไร่ชาวนา ชาวเขาชาวดอย ได้ตระหนักว่าในหลวงทรงห่วงใยพสกนิกรของพระองค์ และฝากฝังให้ทุกคนช่วยกันเป็นหูเป็นตา ดูแลซึ่งกันและกันเสมอ

ร.๙ ในใจชน ตอน แสงสว่างกลางใจชน

แม้จะเกิดมาเป็นผู้บกพร่องทางสายตา  ทว่าพระมหากรุณาธิคุณและพระเมตตาที่มีต่อปวงชนชาวไทยของในหลวง รัชกาลที่ 9 ซึ่งได้ยินได้ฟังผ่านเหตุการณ์ที่ประสบพบเจอด้วยตนเอง  หรือเรื่องเล่าที่รุ่นพี่ ณ โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ เล่าสืบต่อกันมา เปรียบเสมือนแสงสว่างกลางใจ ที่ส่องประกายความรัก ความเมตตา และความอ่อนโยนให้เด็ก ๆ และผู้พิการทางสายตาได้ยึดเป็นหลักใจ หลักชัย ในการดำเนินชีวิตก้าวตามรอยเท้าพ่อหลวงของปวงชน

ร.๙ ในใจชน ตอน เรื่องเล่าของในหลวงกับชายถอดเสื้อ

แนวทางคิดในทำงานของในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่ว่า  “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” อาจเสมือนคำพูดที่สวยหรู แต่เมื่อคุณเสถียร วิริยะพรรณพงศา ผู้ทำหน้าที่สื่อมวลชน ได้ลงพื้นที่ทำข่าว และมีโอกาสได้พูดคุยกับคุณลุงดิลก ศิริวิลลภ ล่ามประจำพระองค์ในหลวง รัชกาลที่ 9 จึงได้รับรู้เหตุการณ์ที่ในหลวงทรงลงพื้นที่ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ซึ่งเป็นพื้นที่ประสบปัญหาน้ำท่วมขังซ้ำซาก ทำมาหากินลำบาก ในหลวงทรงเข้าถึงชาวบ้านทุกชนชั้น แม้กระทั่งคุณลุงที่ไม่ได้สวมเสื้อ และวิ่งหนีเมื่อเห็นในหลวง  พระองค์ก็มิทรงถือสา และพูดคุยถึงปัญหาต่างๆ อย่างเข้าใจ เพื่อนำมาพัฒนา เป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพราชดำริ จ.นราธิวาส ในการบรรเทาทุกข์ให้ประชากรได้มีพื้นที่ทำกินไม่ลำบากอีกต่อไป

ร.๙ ในใจชน ตอน หนังสือของพ่อ (ตอนที่ 2)

ท่ามกลางพื้นที่แห่งความขัดแย้ง ความตายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นง่ายดาย  แต่ไม่อาจทัดทานความเสียสละของคุณหมอชาวต่างชาติที่ทุ่มเทกำลังกายใจเต็มที่ในการช่วยเหลือชีวิตผู้เจ็บป่วย โดยมีความหวังว่าหากโลกนี้มีพระราชาเฉกเช่นในหลวง รัชกาลที่ 9 ความขัดแย้งในดินแดนนี้คงไม่เกิด ...เมื่อเราไม่อาจเปลี่ยนชะตาจึงต้องเรียนรู้ และยอมรับ เช่นเดียวกับวันที่คุณโตมร ศุขปรีชา  ต้องเสียคุณพ่อไปอย่ากระทันหันโดยมิได้กล่าวคำลา ทว่าความสูญเสียที่สำคัญในชีวิตครั้งนั้น กลับเทียบเท่าไม่ได้กับความโศกเศร้าอาดูรของคนไทยทั้งแผ่นดิน  เมื่อในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จสู่สวรรคาลัย

ร.๙ ในใจชน ตอน หนังสือของพ่อ (ตอนที่ 1)

จากหนังสือที่พ่อมอบให้ในวันคล้ายวันเกิด เมื่อตอนเรียนอยู่ประถมศึกษาปีทื่ 6  หนังสือปกแข็ง สีแดงเข้ม รวบรวมบทเพลงพระราชนิพนธ์ ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้จุดประกายสร้างแรงบันดาลใจด้านการดนตรีให้ คุณโตมร ศุขปรีชาในวัยเด็ก พัฒนา เติบโต เป็นความประทับใจภายใน  เมื่อนึกถึงหนังสือเล่มนั้น พระปรีชาสามารถด้านการดนตรีของพระองค์ และบทเพลงสายฝน ที่ตนเคยเล่นอิเล็กโทนเมื่อยังเยาว์ ก็จะเกิดความรู้สึก “ยำเยง ยกย่อง ทว่าเต็มตื้น และสดชื่นอย่างยิ่ง”

ไอดอลคิดดี สื่อดีมีไอเดีย

สรุปเรื่องราวของโครงการไอดอลคิดดี สื่อดีมีไอเดีย กับการสร้างนักสื่อสารสร้างสรรค์สุขภาวะภาคใต้ (Creative Communication for Health) พลังของ 30 ทีมคนรุ่นใหม่ที่ใช้พลังสื่อสร้างสรรค์ถ่ายทอดสิ่งดี ๆ สู่สังคมในมิติต่าง ๆ ภายใต้กรอบแนวคิดสื่อเป็นโรงเรียนของสังคม และการสร้างเมือง 3 ดีวิถีสุข 

ท่าพระ ชุมชนเศรษฐกิจ อดีตชุมทางการค้าภาคอีสาน

เสียงฉึกกะฉัก...ฉึกกะฉัก...ของรถไฟดังขึ้นครั้งแรกในชุมชน “ท่าพระ” หนึ่งใน 18 ตำบลของอำเภอเมืองขอนแก่น จากชุมชนเล็กๆ ที่มีผู้คนอาศัยอยู่เพียง 2 – 3 ครอบครัว เริ่มมีจำนวนมากขึ้น ซึ่งไม่ได้มีแค่คนไทยแต่ยังมีคนจีนแผ่นดินใหญ่ที่หอบเสื่อผืนหมอนใบ มาตั้งหลักปักฐานบนแผ่นดินนี้ เกิดเป็นชุมชนที่มีขนาดใหญ่ขึ้น มีตลาดสถานีรถไฟที่พ่อค้าแม่ขายได้นำสินค้ามาจำหน่าย แม้จะเป็น “ตลาดแบกะดิน” หรือตลาดที่ขายของบนพื้น แต่ตลาดแห่งเดียวกันนี้ก็นับว่าเป็นศูนย์กลางทางการค้า เพราะนอกจากชาวท่าพระแล้วยังมีชาวบ้านจากอำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม และใกล้เคียง บ้างเดินเท้า บ้างนั่งเกวียนเพื่อนำ “ของป่า” มาขายให้คนท่าพระและพ่อค้าคนกลางที่จะนำสินค้าเหล่านั้นไปขายในกรุงเทพมหานคร รายได้จากการขายของป่าก็นำมาซื้อข้าวของกลับไปขายต่อให้คนในหมู่บ้านซึ่งอยู่ห่างไกลออกไป วิธีนี้ช่วยให้ชาวโกสุมพิสัยและใกล้เคียงไม่ต้องเดินทางไปไกลถึงในตัวจังหวัดขอนแก่นเพราะมีแม่น้ำชีขวางกั้นการสัญจรค่อนข้างลำบาก สำหรับ “ของป่า” ที่ว่านั้น ชาวท่าพระผู้เป็นบุคคลอาวุโสได้บอกเล่าให้ฟังว่า ของป่าเป็นสินค้าชาวบ้านนิยมขาย ได้แก่ มะขามเปียก ครั่ง นุ่น ปอ ข้าว เศรษฐกิจท่าพระในขณะนั้นจึงคึกคักมาก ทำให้บริเวณใกล้เคียงสถานีรถไฟมีการปลูกสร้างบ้านเรือนมากขึ้น

Welcome HIV ยินดีที่ได้รู้จัก ทีม LI2T โครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคม

เรื่อง : Welcome HIV ยินดีที่ได้รู้จัก ประเด็น : สุขภาวะในชุมชน ผลงานจาก : ทีม L.I.2T จากสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ สมาชิก : นางสาวกริสรินทร์ บุญรวิวัฒน์ นางสาวแพรวา คงฟัก นางสาวกัญญา เบี้ยเลี่ยม ผลิตสื่อของนักสื่อสารสร้างสรรค์ ภายใต้โครงการ “สื่อเป็นโรงเรียนของสังคม” @MediaAsSocialSchool

ผลงานจาก โครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคม

พบกับผลงานมากมายในการผลิตสื่อของนักสื่อสารสร้างสรรค์ ภายใต้โครงการ “สื่อเป็นโรงเรียนของสังคม” @MediaAsSocialSchool ที่นี่

จุลสารศิลป์สร้างสุขฉบับที่ 35 เดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม 2560

จุลสารศิลป์สร้างสุขฉบับนี้ พาไปพบกับนวัตกรรมสร้างสรรค์ได้รับรางวัลชนะเลิศของเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านขุนประเทศ ชื่อว่า 'บ้านขุนสเตชั่น ไม่มีวันอ้วน' จากโครงการอย่าปล่อยให้เด็กอ้วน (ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผัก ผลไม้) ปีที่ 2 และพบกับสื่อไอเดียสร้างสรรค์ของคุณครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ที่สามารถประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาเป็นสื่อให้กับเด็ก ๆ ได้อย่างน่าทึ่ง สุดท้ายขึ้นไปที่เมืองน่าน คุณครูที่โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 56 ได้ใช้ดินน้ำมันชวนเด็ก ๆ สร้างโลกแห่งจินตนาการกลายเป็น 'เมืองในดินอินน่าน' เกิดเป็นแรงบันดาลใจให้เด็ก ๆ สร้างพลังชีวิตและเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง

VTR ในโครงการประกวดภาพยนตร์สั้น อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา

คลิปวีดิโอสรุปข้อมูลและนำเสนอเรื่องราวของโครงการประกวดสื่อสร้างสรรค์รณรงค์ 'อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา' มีสถิติ ผลกระทบจากเหล้าต่อสังคม เด็กและเยาวชนในหลาย ๆ ด้าน ทิศทางของการรณรงค์ และโครงการประกวดสื่อภาพยนตร์สั้นที่กระตุ้นให้เด็กและเยาวชนสะท้อนแง่มุมความคิด ช่วยกันรณรงค์ให้รู้เท่าทันอันตรายจากเหล้าที่มีต่อทั้งกับตัวเอง ครอบครัว และสังคม

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.