ลมหายใจแห่งความสุข ณ ต้นทางแห่งการเปลี่ยนแปลง
ทุกชีวิตต้องการความสุข แต่กลับลืมไปว่าว่าสุขมาแล้วก็ไป พระอาจารย์นาวี ปิยทัสสี เจ้าอาวาสวัดถ้ำดอยโดน อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ อธิบายความสุขออกเป็น 2 แบบ คือ ความสุขจากภายนอกและความสุขจากภายใน ทุกวันนี้ที่คนเราเป็นทุกข์มากมาย เพราะไปยึดติดกับความสุขจากภายนอก สุขจากความสัมพันธ์ พอสุขเปลี่ยนไปก็เกิดทุกข์ การยอมรับความจริงแห่งความเปลี่ยนแปลง มีวัคซีนบอกตัวเองว่าความสัมพันธ์มันเปลี่ยนแปลงได้ เราก็จะทุกข์น้อยลง จงใช้ “ปัญญา” ในการยอมรับการเปลี่ยนแปลง แล้วเราจะมีความสุขมากขึ้นจากภายในของเราเอง อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
มาตาภาวนา ธรรมะพักใจผู้หญิงเมืองกรุง
“มาตาภาวนา” เป็นการปฏิบัติธรรมสำหรับผู้หญิงเมืองกรุง โดยเฉพาะเพราะสถานที่ในการเข้าไปพักใจ ด้วยการปฏิบัติธรรม ฝึกภาวนา และปิดวาจา เพื่อชำระล้างใจให้สะอาดนั้น จัดขึ้นที่สวนโมกข์กรุงเทพฯ ย่านจตุจักร เป็นประจำทุกสัปดาห์ที่ 2 และ 4 ของทุกเดือน หลังจากนั้นผู้หญิงซึ่งมีภาระหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่ ในการเป็นแม่ที่ต้องดูแลลูก เป็นภรรยาที่ต้องดูแลสามี และเป็นลูกสาวที่ต้องดูแลพ่อแม่ที่แก่เฒ่า ก็จะได้ชาร์ตแบตให้จิตใจได้เข้มแข็งและมีพลังก้าวเดินไปอย่างมีความสุข อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
แผนที่สู่ความสุขบนเส้นทางนพลักษณ์
นพลักษณ์ คือศาสตร์แห่งการเข้าถึงตนเอง โดยพระสันติกโร พระภิกษุชาวอเมริกัน นำมาเผยแพร่ที่เมืองไทย นพลักษณ์ จะกล่าวถึงคุณลักษณะของคนทั้ง 9 ลักษณ์ที่แตกต่างกัน แต่ละลักษณ์มีศักยภาพและจุดอ่อนในตัวเอง ถ้าเรารู้ทันตัวเรา และดึงศักยภาพนั้นมาพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นได้ รวมทั้งถ้าเราตระหนักรู้ ก็จะสามารถดูแลจุดอ่อนของเราไม่ให้เบียดเบียนตัวเราเองและผู้อื่น นพลักษณ์จึงเปรียบเสมือนแผนที่ของชีวิตที่ทำหเราเข้าใจตนเองมากขึ้น และเห็นใจผู้อื่นด้วยเช่นกัน อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
ความสุขของนักเสริมพลังการเรียนรู้เพื่อครูปฐมวัย
สรวงธร นาวาผล และ สายใจ คงทน สองสาว พี่เลี้ยงผู้ริเริ่มโครงการ มหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3 ดี วิถีสุข (สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี) ภายใต้การสนับสนุนของ สสส. เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพครูศูนย์เด็กเล็กทั่วประเทศ ด้วยการรับฟัง ยอมรับ และการให้ควาทเชื่อมั่นต่อพลังอำนาจของครูที่มีคุณค่า กับการสร้างเครือข่าย “ครอบครัวครูมหัศจรรย์ทั้งสี่ภาค” เพื่อเสริมพลังให้ครูในศูนย์เด็กเล็กได้ประสบความสำเร็จ สร้างความเปลี่ยนแปลงให้เด็ก ๆ ด้วยพลังของความรัก และความเข้าใจ ควบคู่ไปกับความรู้ อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
ส่งความรักผ่านการออกกำลังกายจากแม่สู่ลูกภาวะออทิสติก
วรรณวิชญ์ เหล่าตระกูลงาม หรือ ปาล์ม ลูกชายของแม่อู๊ด ที่เริ่มเป็นเด็กออทิสติก ตั้งแต่ 4 ขวบ ด้วยแม่อู๊ดสังเกตอาการของคุณปาล์ม ว่าไม่พูดและม่สบตาม แม่อู๊ดคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวลูกสอง เลยตัดสินใจลาออกจากงานมาเลี้ยงดูลูกทั้ง 2 คน ด้วยความรัก ความเข้าใจ และเอาใจใส่ให้ลูกสามารถยืนหยัดในสังคมได้ แม่อู๊ดจึงค้นหาวิธีการเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของคุณปาล์ม ด้วยการออกกำลังกายด้วย “การวิ่ง” เพราะการออกกำลังกายทำให้คุณปาล์มมีสมาธิ ช่วยลดพฤติกรรมก้าวร้าว รุนแรง นอกจากนี้การวิ่ง ยังเป็นกิจกรรมที่คุณปาล์มและแม่อู๊ดได้ใช้กิจกรรมด้วยกัน ผลพวงที่ได้คือ สุขภาพแข็งแรงทั้งแม่และ อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
โยคะภาวนา ฝึกกายและจิตรวมเป็นหนึ่งเดียว
กวี คงภักดีพงษ์ หรือ ครูกวี ผู้อำนวยการสถาบันโยคะวิชาการ มูลนิธิหมอชาวบ้าน ได้ค้นพบหัวใจของการฝึก “โยคะภาวนา” คือ การเข้าไปดูที่จิต ปิดจิตไม่ให้คิดปรุงแต่ง เมื่อไหร่ที่เราดับการปรุงแต่งของจิต จิตเราจะเข้าสู่สมาธิ หลักการฝึกโยคะภาวนา ใช้ความนิ่งและสบาย ใช้แรงกายให้น้อยที่สุด สภาวะของการฝึกโยคะภาวนาแบ่งออกเป็น 3 สภาวะด้วยกัน คือ 1. การรวมกายและจิตเข้าด้วยกัน มีสติรู้อยู่กับกายตลอดเวลา 2. ความสมดุล ทั้งภายในตนเอง ระหว่างตนเองกับผู้อื่น และตนเองกับสภาพแวดล้อม 3. การพัฒนา โดยเฉพาะการฝึกจิตให้นิ่งและบริหารจิตให้เข้มแข็งจนยกระดับให้สูงยิ่งๆ ขึ้นไป อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
สุขกายสุขใจวัยเกษียณ
สุรีย์ นาวีเรือรัตน์ หรือ ครูเจี๊ยบ ครูสอนออกกำลังกายแบบเต้าเต้อจิง ทางเลือกของการออกกำลังที่เหมาะกับผู้สูงอายุ เพราะเน้นการหายใจและการเคลื่อนไหวไปตามจังหวะเพลงแบบไม่เร่งรีบ ครูเจี๊ยบอดีตเป็นดีไซน์เนอร์กระเป๋าที่โรงงานย่านนครปฐม หลังจากหายป่วยจากโรคมะเร็งรังไข่ ก็หันมาดูแลสุขภาพด้วยการออกกำลังกายเต้าเต้อจิง รวมทั้งชักชวนเพื่อนๆ ในวัยเกษียณ มาจัดตั้งกลุ่มผู้สูงอายุ ออกกำลังกายแบบเต้าเต้อจิง ที่จังหวัดนนทบุรีด้วย อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
ร้านยิ้มสู้ คาเฟ่ของคนหัวใจไม่พิการ
“ปัจจุบันคนพิการในประเทศไทยที่อยู่ในวัยทำงานมีทั้งหมดประมาณ 7 แสนคนและยังมีศักยภาพที่ความสามารถทำงานได้ประมาณ 4 แสนคน ส่วนที่เหลืออีก 2 แสนมีความพิการซ้ำซ้อนซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน ทว่าหากสังคมไทยมองข้ามความบกพร่องของผู้พิการสู่การเติมเต็มความแตกต่างแล้ว คนพิการจะสามารถทำงานได้มากกว่าอาชีพขอทานอย่างแน่นอน” ศ. ดร. วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ กล่าวไว้ และนี่เองคือแนวคิดของ “ยิ้มสู้คาเฟ่” ร้านคาเฟ่ธรรมดา ที่ไม่ธรรมดา เพราะที่นี่มีคนพิการแตกต่างกัน ทว่าสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุขด้วยหัวใจที่ไม่พิการ อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
ลมหายใจแห่งความสุขของ ครูประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ
ครูประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิดวงประทีป เจ้าของรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะเมื่อปี 2521 ครูผู้มุ่งมั่น บ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ที่ใคร ๆ ตั้งข้อกังขาว่าจะเติบโตงดงามได้เพียงไร ครูประทีปใช้เวลาเกือบทั้งชีวิตทำหน้าที่เป็นครูผู้ต่อสู้เพื่อให้สิทธิทางการศึกษากับเด็ก ๆ ในชุมชนแออัด “สลัมคลองเตย” และสามารถพิสูจน์แล้วว่า โอกาสทาง “การศึกษา” ช่วย “ยกระดับ” เด็กในชุมชนคลองเตยแห่งนี้ เติบโตได้งดงามไม่แพ้พื้นที่อื่น ๆ ภายในเมืองหลวงเลย อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
ความสุขไร้กรอบเพศภาวะของ อวยพร เขื่อนแก้ว
อวยพร เขื่อนแก้ว นักสตรีนิยมในสังคมไทย ผู้ก้าวเดินบนถนนสายนักต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมทางเพศมาเนิ่นนาน เธอได้เห็นตัวอย่างแนวทางปฏิบัติของ “หลวงแม่ธัมมนันทา” ภิกษุณีองค์รูปแรกของเมืองไทย (เจ้าอาวาสวัดทรงธรรมกัลยาณี) ที่ได้ขับเคลื่อนประเด็นความไม่เท่าเทียมทางเพศผ่านการพัฒนาศักยภาพของผู้หญิง โดยที่ท่านเป็นผู้นำแนวหน้าเรื่องสิทธิสตรีในพุทธศาสนาระดับโลก ตั้งแต่นั้นมาคุณอวยพรได้ศึกษาเรื่องการทำงานบนฐานความเมตตากรุณาแทนการทำงานที่ถูกผลักดันจากความโกรธ ความไม่พอใจที่เห็นความไม่เป็นธรรม คุณอวยพรจึงเริ่มทำงานเรื่องสิทธิสตรีแนวพุทธ ที่เน้นการพัฒนาและเปลี่ยนแปรจิตใจตนเองให้พ้นจากความโลภ โกรธ หลงด้วย ทั้งภายนอกและภายในที่ผสานสอดคล้องไปด้วยกัน โดยมีชื่อเรียกกลุ่มตัวเองว่า “บุดดิสท์ เฟมินิสต์” (Buddhist Feminist Activist) หรือนักสตรีนิยมแนวพุทธ อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
Folk Rice ตลาดข้าวอินทรีย์ในมือคนรุ่นใหม่
Flok Rice พันธุ์ข้าวหลากหลายพันธุ์ ที่เกิดจากริเริ่มจากการ “อกหัก” ขออนุกูล ทรายเพชร อดีตเด็กวัด ที่เกิดมาเป็นลูกชายของชาวนา แต่กลับบอกแม่ให้ขายที่นา เพื่อส่งตนเองรียนวิศวกรรมศาตร์ สายอินเตอร์ฯ แต่สุดท้ายก็ไม่ปลื้มจนกระทั่งมาสอบเข้าศึกษาด้านสังคมศาสตร์ ด้าน area studies ที่คณะสหวิทยาการสังคมศาสตร์ สาขาอนุภาคลุ่มน้ำโขงศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลังจากจบการศึกษามีความรู้สึก “ดาวน์และดาร์ก” ด้วยบาดแผลจากระบบการศึกษา จึงตัดสินใจกลับบ้านเกิดมาเช่าที่นาเพื่อปลุกข้าวอินทรีย์ และทำการตลาดผ่านออนไลน์ ภายใต้ชื่อแบรนด์ “Flok Rice” ที่ทำการตลาดทั้งในและต่างประเทศ เพิ่มความโดดเด่นด้วยการหุงข้าวให้ชิมหลากหลายสายพันธุ์ ..ปัจจุบัน“Flok Rice” มีออเดอร์หลักพันตัน อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
หมอต้นไม้ เมตตาธรรมค้ำจุนโลกสีเขียว
“หมอต้นไม้” คือ การดูแลรักษาต้นไม้เก่าแก่ให้อยู่คู่กับชุมชนเพื่อท าหน้าที่บอกเล่าประวัติศาสตร์ของชุมชนให้คนรุ่นต่อไปได้รับรู้ ส าหรับบ้านเราเพิ่งเริ่มได้ยินคำนี้ ในช่วงสิบปีที่ผ่านมาโดยมี “ศาสตร์จารย์กิตติคุณ เดชา บุญค้ำ” เป็นหมอต้นไม้รุ่นบุกเบิก และต่อมา “อาจารย์บรรจง สมบูรณ์ชัย” คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้น าแนวคิดหมอต้นไม้มาเผยแพร่จนเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากยิ่งขึ้น อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com