The Learner Vol.3 : ครูเล็ก ภัทราวดี มีชูธน
"ครูเล็ก - ภัทราวดี มีชูธน" เป็นทั้งนักแสดงฝีมือเยี่ยมไม่ว่าจะในสาขาภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ และละครเวที เป็นนักเต้น ผู้กำกับ เป็นตำนานด้านการแสดงของเมืองไทย ที่มีผลงานมากมาย เป็นครูที่สอนด้านการแสดงให้ลูกศิษย์ลูกหาหลายต่อหลายรุ่น และเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ประจำปี 2557 จากลูกสาวคนเล็กของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และคหบดีตระกูลเก่าแก่ แต่ครูเล็กถูกเลี้ยงดูอย่างทันสมัยอย่างยิ่ง ครูมีครอบครัวที่เข้าใจ มีคุณแม่เป็นแบบอย่าง ที่ส่งเสริมให้ครูเลือกทางเดินที่ชอบได้อย่างเต็มที่ #LifeisLearning ของครูเล็ก สะท้อนสิ่งเหล่านั้นออกมา อย่างทรงพลัง
The Learner Vol.2 : เรียนรู้จากสิ่งที่มีและทำให้ดีที่สุด ดีเจอ้อย นภาพร ไตรวิทย์วารีกุล
ดีเจอ้อย นภาพร ไตรวิทย์วารีกุล นักเรียนรู้ที่อยู่ในแวดวงการใช้เสียง และการ "ฟัง" เรื่องราวของคนอื่น ที่เป็นเรื่องเล่าสอนใจใครหลาย ๆ คน แต่ชีวิตจริง ๆ ของเธอก็น่าสนใจจเรียนรู้และเป็นตัวอย่างเช่นกัน
The Learner Vol.1 : ศาสตราจารย์ วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์
ศ.วิริยะ นามศิริพงษ์พันธุ์ ที่ชีวิตต้องเปลี่ยนแปลงไป เมื่อดวงตามองไม่เห็น และเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง เมื่อเรียนรู้ว่า คนตาบอด ไม่ได้ไร้ค่า คนตาบอดทำได้ทุกอย่าง และท่านส่งต่อความเชื่อและความเข้มแข็งนั้นให้ทั้งผู้ที่มองเห็นและมองไม่เห็น ให้เดินหน้าต่อไปได้อย่างมีความมั่นใจ
The Learner
Short Clip Series "The Learner" ถ่ายทอดเรื่องราวนักเรียนรู้ ต่างเพศ วัย อาชีพ และบทบาท เพื่อให้เห็นว่า ทุกชีวิตสามารถมีการเรียนรู้ ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับตนเองได้ ทำให้เราเข้าใจและเปลี่ยนแปลงจากภายในของตน
เรียนรู้คุณค่าแห่งชีวิต
“ชีวิต คือการเรียนรู้” ประโยคคุ้นชินที่กระตุกเตือนให้เราแสวงหาการเรียนรู้ไม่มีวันจบสิ้น แต่จะมีสักกี่คนที่ค้นพบการเรียนรู้ที่แท้จริง...เรียนรู้ใน “คุณค่าแห่งชีวิต” เพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเองจากภายในสู่ภายนอก ซึ่งเป็นรูปแบบการเรียนรู้ด้วยจิตวิญญาณ ด้วยใจที่ใคร่ครวญ การรู้ด้วยจิตสำนึกใหม่ หรือที่สากลเรียกว่า การเรียนรู้แบบองค์รวม – Holistic Learning หนังสือเล่มนี้จะเป็นแรงบันดาลใจให้เราหันมาทบทวนชีวิตของตนเองว่าที่ผ่านมาเราใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าหรือไม่ ?
ฝึกกาย ฝึกจิต ชีวิตยืนยาว
หนังสือเล่มนี้ เป็นการแนะนำการออกกำลังกายด้วยการผสานกลมกลืนระหว่างกายและใจ สำหรับผู้ที่เคยปฏิบัติธรรมอยู่ที่หมู่บ้านพลัม ประเทศไทย ก็จะเคยออกกำลังกายด้วยรูปแบบนี้ เป็นการฝึกกระบอง - เหยืองชิง หมั่นทำเป็นประจำร่างกายจะแข็งแรงแก้ปัญหาไหล่คิด ปวดบ่า และยังส่งผลให้จิตสุขสงบ ชีวิตสดชื่นเบิกบาน
เล่น เป็น เด็ก เรียนรู้การฝึกสติกับเด็กอย่างเป็นธรรมชาติ
ปัจจุบันการเรียนการสอน และการเรียนรู้ของเด็กแวดล้อมไปด้วยภาวะการแข่งขัน และการเรียนเร็ว เรียนลัด แท้จริงแล้วท่านติช นัท ฮันห์ เน้นการสอนเด็กต้องทำควบคู่กับความรักและความเข้าใจระหว่างครูและนักเรียน ระหว่างพ่อแม่และลูก เพราะนั่นคือ พื้นฐานการเรียนรู้ที่ดี และที่สำคัญ “การฝึกสติ” ก็เป็นเครื่องมือสำคัญของการเรียนรู้ ช่วยพัฒนากระบวนการรับรู้ของเด็กได้ดีขึ้น ทำให้เด็กเกิดความมั่นคงทางอารมณ์ และมีความเชื่อมั่นและเบิกบานในชีวิต เพื่อเสริมสร้างภูมิปัญญาและภูมิรู้อย่างมีความสุข
คู่มือจัดทำข้อเสนอโครงการ เมือง 3 ดีวิถีสุข
คู่มือฉบับนี้ เป็นเสมือนเข็มทิศเพื่อให้ชุมชมและสังคม ร่วมกันขับเคลื่อนชุมชนและท้องถิ่นของตนเองสู่ “เมืองสื่อสร้างสรรค์” หรือ “เมือง 3 ดี วิถีสุข” ซึ่งเป็นเมืองต้นแบบในการมี “สื่อดี พื้นที่ดี และภูมิดี” โดยเป็นผสานพลังการทำงานของแผนงานหลักของ สสส. ประกอบด้วย แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน, แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน และแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาวะ เบื้องต้นมีพื้นที่นำร่อง 3 จังหวัดที่ขับเคลื่อน คือ แม่ฮ่องสอน, สุรินทร์ และ เพชรบุรี
อาสารับฟัง ฟังยังไงให้เข้าไปถึงหัวใจ
การฟังให้เป็น ฟังเสียงแล้วเข้าอกเข้าใจไปถึงหัวใจคนพูด ฟังแล้วไม่ตัดสินให้เขาทุกข์ใจไปมากกว่าเดิม ฟังแล้วให้อีกฝ่ายวางใจ กล้าที่จะบอกเล่าสิ่งที่อยู่ในใจออกมา ต้องทำยังไง?นี่เป็น 7 ขั้นตอนในการรับฟังที่อยากให้ทุกคนลองนำไปใช้กันดู
จุดไฟเรียนรู้คนรุ่นใหม่ด้วยเถื่อนเกมกับ ดร.เดชรัตน์ สุขกำเนิด
“...ความรู้สึกมันทำให้เราเปลี่ยนแปลงตัวเรา ความรู้สึกนี่แหละที่มันสำคัญ และเป็นสิ่งที่ขาดไปในการเรียนการสอนวิชาเศรษฐศาสตร์” นี่คือความรู้สึกของ ดร.เดชรัตน์ สุขกำเนิด ผู้บุกเบิกการเรียนรู้ผ่านบอร์ดเกม ชื่อว่า “เถื่อนเกม” เครื่องมือที่นำมาเติมเต็มกระบวนการเรียนรู้ ให้เกิดการทำงานระหว่างความรู้และความรู้สึก เน้นการเรียนด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่ไม่ใช่แค่ให้ผู้เรียนรู้เพียงสิ่งที่ผู้สอนรู้เท่านั้น อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
อาจารย์รุ่นใหม่สนใจจิตตปัญญา
ดร.สุปรีย์ กาญจนพิศศาล หรือ อาจารย์แบต อาจารย์ประจำศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ที่สนใจการสอนเรื่องการพัฒนาตนเอง และเชื่อมั่นว่าความมั่นคงของชีวิตเราสร้างได้จากภายในตัวเอง เพราะแก่นแท้ของการพัฒนาคนไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เราต้องก้าวให้พ้นตัวตนของเรา เราสามารถ “สุข” ได้ สุขแบบไม่ได้ร่าเริงสุดโต่ง แต่สุขใจได้แม้ในยามปกติ นั่นคือความสุขทางจิตตปัญญา ที่เกิดจากการเดินทางสายกลาง อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
ดร.ภาสกร แช่มประเสริฐ มิสเตอร์เตือนภัยพิบัติ
ดร.ภาสกร แช่มประเสริฐ หรือ “มิสเตอร์ภัยพิบัติ” อาจารย์ดีกรีวิศวกรคอมพิวเตอร์ฯ จากเมืองนอก ผู้ซึ่งอุทิศตนตัดสินใจเดินทางกลับมาเมืองไทย นำวิชาความรู้ที่ร่ำเรียนมาเรื่องระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้กับการจัดการภัยพิบัติ ด้วยเชื่อมั่นว่าถ้าสื่อสารทำความเข้าใจกับชาวบ้านเรื่องการป้องกันภัยพิบัติได้ดีแล้ว ชาวบ้านก็จะเตรียมการจัดการ และรับมือกับภัยพิบัติให้เกิดความสูญเสียน้อยที่สุด นอกจากนำสื่อออนไลน์เพื่อเสริมสร้างความรู้เรื่องภัยพิบัติผ่านทางเว็บไซต์ “ภัยพิบัติดอทคอม” และทวิตเตอร์ แอคเค้าท์ “ภัยพิบัติ” แล้ว อาจารย์ยังมีเป้าหมายสำคัญคือการสร้างวิศวกรคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ที่จะมาช่วยให้เมืองไทยให้ปลอดภัยและมีความสุข ภายใต้แนวคิด “ หนึ่ง ดร. หนึ่ง อำเภอ” อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com