กากดีเหลือเกินนะเรา
พราะอาหารเป็นพื้นฐานสำคัญของการมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง และเราก็มักจะมุ่งไปที่การรับประทานอาหารจากสารอาหารทั้ง 5 หมู่ จนหลงลืมความสำคัญของสารอาหารที่ไม่ให้พลังงานอย่างไฟเบอร์ หรือกากใยอาหารไป ซึ่งในความเป็นจริงนั้น กากใยอาหารมีความจำเป็นต่อระบบการทำงานของร่างกายเป็นอย่างมาก ซึ่งการรับประทานอาหารที่ให้กากใยอาหารอย่างเพียงพอวันละ 5 กำมือ จะช่วยให้ร่างกายเกิดสมดุลในระบบขับถ่าย ทำให้ขับถ่ายคล่อง ลดการเกิดโรคในระบบทางเดินอาหาร ไม่เกิดอาการท้องผูก ลำไส้แข็งแรง และยังป้องกันมะเร็งลำไส้ด้วย มากไปกว่านั้น ประโยชน์ของกากใยอาหาร ยังช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลและระดับไขมันในเลือด และช่วยในการควบคุมน้ำหนัก ดังนั้นจึงควรเพิ่มเมนูประเภทที่ให้กากใยอาหารสูงในแต่ละมื้อ ซึ่งมีอยู่มากในอาหารประเภทถั่วเมล็ดแห้ง ธัญพืชและข้าวไม่ขัดสี ผักและผลไม้ ถ้ารู้ตัวว่าร่างกายของเราได้รับกากใยอาหารน้อยไป ก็อยากชวนมาปฏิวัติตัวเองใหม่ ด้วยการเพิ่มเมนูที่ให้กากใยสูงตั้งแต่มื้อต่อไปเลย
มีใบไหม รู้จัก PGS ระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
ทำไมต้องมี PGS เพราะระบบการตรวจสอบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่ดำเนินการโดยหน่วยงานอิสระจากภายนอก เช่น IFOAM หรือ มกอช. (มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ Organic Thailand) นั้น มักจะมีระเบียบข้อกำหนดที่ค่อนข้างเข้มงวด สลับซับซ้อน และอาจไม่เหมาะกับเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์เพื่อขายในท้องถิ่นหรือเกษตรกรรายย่อย ทาง IFOAM จึงได้มีการพัฒนาระบบการรับรอง Participatory Guarantee System (PGS) ที่สมาชิกกลุ่มผู้ผลิตและชุมชนสามารถมีส่วนร่วมในการกำหนดข้อตกลงที่เหมาะสมกับเกษตรกรในพื้นที่ แต่ก็ยังมีตรวจสอบกระบวนการผลิตเป็นประจำ ทำให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ถึงความปลอดภัย ขณะที่เกษตรกรรายย่อยก็สามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสังคมอินทรีย์ได้เช่นกัน
ขบวนการกินกู้โลก
ปัจจุบันนี้การกินของเรานั้นไม่ยั่งยืนสักเท่าไหร่ และเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน เราอาจนึกไม่ถึงว่าก๊าซเรือนกระจกถูกปล่อยมาจากระบบอุตสาหกรรมอาหารมีสัดส่วนมากกว่าก๊าซเรือนกระจกจากโรงงานอุตสาหกรรมหนักที่เรามองว่าเป็นตัวร้าย หรือการกินของยังทำให้ระบบนิเวศถูกทำลาย เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่า สัตว์สูญพันธ์ุ และปัญหาสิ่งแวดล้อมอีกมากมาย การกอบกู้โลกจากวิกฤตสิ่งแวดล้อมในทุกวันนี้จะเป็นไปไม่ได้เลย หากเราไม่ปรับเปลี่ยนวิถีการกิน
รายงานวิจัย พฤติกรรมและสถานการณ์ทางการเงินของครัวเรือนที่ปัญหาหนี้สิน
ปัญหาหนี้สินของเกษตรกรอยู่คู่กับสังคมไทยมายาวนาน โดยที่ในยุคแรกผู้ให้บริการเงินกู้ส่วนใหญ่เป็น กลุ่มที่อยู่นอกระบบ จนเมื่อธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) มีนโยบายให้บริการแก่ เกษตรกรรายย่อยและยากจนมากขึ้น ทำให้เกษตรกรมีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบมากขึ้น อย่างไรก็ดี ปัญหาหนี้สินของเกษตรกรมิได้หมดไป และยังมีแนวโน้มที่มีหนี้สินในสัดส่วนที่เพิ่มสูงขึ้น ...รายงานฉบับนี้ เพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมทางด้านการเงิน การใช้จ่าย รายได้ของครัวเรือน การกู้ยืม และ สถานะทางการเงินของครัวเรือน และ เพื่อศึกษาความไม่เป็นธรรมของสัญญาสินเชื่อของธนาคารต่าง ๆ เพื่อสร้างความเท่าเทียมกันของพี่น้องเกษตรกรไทย
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาเรื่อง รูปแบบและกระบวนการปรับตัวของชาวนาสู่การผลิตอาหารที่ยั่งยืน
ปัญหาหนี้สิน เป็นปัญหาเรื้อรังสำหรับพี่น้องเกษตรกรไทยมาเนิ่นนาน บั่นทอนคุณภาพและความมั่นคงของชาวเกษตรกรไทย การปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำเกษตรสู่เกษตรอินทรีย์ ในพื้นที่นำร่อง อย่าง จ.ปทุมธานี จ.ชัยนาท และจ.เพชรบุรี จะทำให้การทำงานส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์หรือการผลิตอาหารที่มีความปลอดภัย เป็นไปอย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น รวมถึงช่วยปลดล็อคพันธนาการหรือกับดักหนี้สินที่พี่น้องเกษตรกรยังต้องเผชิญอยู่ด้วย
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาเรื่อง ธนาคารที่ดินชุมชน เพื่อการผลิตอาหารที่ยั่งยืน กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา และฉะเชิงเทรา
ปัญหาความเหลื่อมล้ำอยู่กับสังคมไทยมาเป็นเวลานาน หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคมมากที่สุด ก็คือ การถือครองทรัพย์สินที่ดิน ...การปฏิรูปที่ดินจะทำให้เกิดความมีประสิทธิภาพในการใช้ที่ดินมากขึ้น และทำให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม เนื่องจากจะมีการจัดสรรทรัพยากรใหม่ระหว่างผู้เป็นเจ้าของที่ดินและผู้ที่ต้องการใช้ประโยชน์ในที่ดิน มีการนำที่ดินที่ถูกทิ้งร้างมาใช้ประโยชน์มากขึ้น ก่อให้เกิดความมีประสิทธิภาพในการใช้ที่ดิน นอกจากนั้นการปฏิรูปที่ดินยังทำให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมมากขึ้น ลดการกระจุกตัวของการถือครอง ที่ดิน และลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ
Hearing Test
วาระวันแม่ปี 2563 มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แม่ เพจสายสะดือ และ สสส. ส่งหนังโฆษณาตัวใหม่ 'Hearing Test' สร้างสรรค์โดยครีเอทีฟไดเร็คเตอร์มือรางวัลอย่าง กิตติ ไชยพร จากทีมมานะ และผู้กำกับที่เชี่ยวชาญหนังเชิงทดลอง Social Experiment อย่าง กมลวัฒน์ ชูเตชะ จากบริษัท มีอะไร จำกัด มาท้าทายคนดูด้วยภารกิจชวน 6 คู่แม่ลูกที่มีปัญหาความสัมพันธ์ในรูปแบบที่หลากหลาย มาเชื่อมโยงสายสัมพันธ์ที่เปรียบได้ดัง 'สายสะดือที่หายไป' ด้วยการฟังเสียงลึกๆ ที่ซุกซ่อนอยู่ในใจของอีกฝ่าย เพื่อให้ความสัมพันธ์ที่ปรักหักพัง ได้หวนคืนกลับมาเชื่อมโยงเข้าด้วยกันอีกครั้ง