ก้าวแรกครูกล้าสอน ก้าวย่างที่เริ่มต้นด้วยการฟัง
ครู คือ ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างสรรค์การเรียนรู้ในห้องเรียนให้น่าสนใจและมีคุณภาพ โครงการ “ครูกล้าสอน” รุ่นที่สอง เปิดหลักสูตรอบรมให้แก่ครูอาจารย์ เพื่อทบทวนบทบาท สร้างแรงบันดาลใจ คุณค่าความหมายของการเป็นครูและสร้างการยอมรับในความแตกต่างผ่านทักษะการฟังอย่างเปิดใจ ซึ่งทักษะในการฟังนี้จะเป็นตัวเชื่อมสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้สอนและนักเรียน อีกทั้งเป็นเครื่องมือที่จะนำไปสู่กระบวนการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ในชั้นเรียนต่อไป
แนะนำโครงการครูกล้าสอน
บทความนี้ จะพาทุกคนไปรู้จัก “ครูกล้าสอน” ผู้ที่ต้องการมายืนอยู่หน้าห้องเรียนเพื่อเปลี่ยนให้ห้องเรียนนั้นเป็นพื้นที่เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชน โดย “ครูกล้าสอน” ล้วนเป็นครูที่ผ่านการเรียนหลักสูตร “ครูกล้าสอน” ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากหนังสือ The Courage to Teach : Exploring the Inner Landscape of a Teacher Life ของนักจัดการศึกษาคนสำคัญปาร์กเกอร์ เจ. ปาล์มเมอร์ นำมาสู่การออกแบบหลักสูตรนี้ เพื่อฟื้นฟูพลัง ปลุกจิตวิญญาณความเป็นครูให้กลับมาเปี่ยมพลังอีกครั้ง โดยหลักสูตร “ครูกล้าสอน” ดำเนินงานภายใต้โครงการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาด้วยชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง ดำเนินงานโดย ทีม New Spirit (จิตวิญญาณ ใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลง) บริษัท สวนเงินมีมา ผู้ประกอบการสังคม ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากส านักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ก่อการครู : ก้าวแรกของก่อการครู
โครงการก่อการครู: ครูบันดาลใจ จุดไฟการเรียนรู้ เป็นการร่วมมือกันระหว่างเครือข่ายคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์และเครือข่ายที่ทำงานด้านการศึกษาในภาคประชาสังคม ซึ่งโครงการมีเป้าหมายในการสร้างครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง สร้างพื้นที่การเรียนรู้ใหม่และแนวทางการสร้างครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงให้เป็นอีกแนวทางเลือกให้กับการศึกษาไทย โดยจะเพิ่มทักษะองค์ความรู้ต่างๆ ของการเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้หรือกระบวนกรให้กับครู เพื่อให้ครูกลับไปยังชั้นเรียนได้อย่างมีพลังและสร้างสรรค์ สามารถสร้างกระบวนการเรียนรู้แบบใหม่และสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับนักเรียนในรูปแบบองค์รวม เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนเติบโตไปอย่างมีคุณภาพและช่วยพัฒนาประเทศต่อไป
ก่อการครู : ทัศนะ ดร.กันตพงศ์ คงหอม ครูแกนนำรุ่น 1
ดร.กันต์พงศ์ คงหอม ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสี่แยก ครูแกนนำในโครงการก่อการครู ครูบันดาลใจ จุดไฟการเรียนรู้ รุ่นที่หนึ่ง และ นายสมโชค อารยา ประธานเครือข่ายผู้ปกครองโรงเรียนบ้านสี่แยก ได้ร่วมกันผลักดันและจุดประกายให้เกิดการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา โดยให้ผู้ปกครองและคนในชุมชนมีส่วนร่วมส่งเสริมในจุดที่ขาดหายไป เพื่อสร้างความสมดุลและให้เด็กในชุมชนได้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาที่ดีได้ รวมถึงได้นำหลักการระบบนิเวศเพื่อการเรียนรู้มาปรับใช้ในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อทำให้โรงเรียนเป็นพื้นที่ปลอดภัยและเอื้อต่อการเรียนรู้
ผู้นำแห่งอนาคต ความรู้ฉบับพกพา
ท่ามกลางวิกฤตของปัญหาสังคมที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เราไม่สามารถมีผู้นำที่เป็นวีรบุรุษเพียงคนเดียวท่านั้น สังคมไทยต้องเรียนรู้และพัฒนาภาวะการนำรูปแบบใหม่เป็น “การนำร่วม” ที่เปิดโอกาสให้บุคคลมีความสามารถและความคิดที่หลากหลายเข้ามานำพาสังคมก้าวไปข้างหน้า เป็นการนำที่เริ่มจากการเปลี่ยนแปลงตนเองจากภายใน หรือเรียกว่า “การนำด้วยจริยธรรม” แล้วจึงไปเสริมสร้างกระบวนการทัศน์ใหม่ในการกอบกู้สังคมไทยเมื่อต้องเผชิญกับวิกฤตต่าง ๆ
วิจัยถอดบทเรียนการพัฒนาครูผู้นำด้านการเรียนรู้ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม
งานวิจัยถอดบทเรียนการพัฒนาครูผู้นำด้านการเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลงสังคม ภายใต้ “โครงการผู้นำแห่งอนาคต” เพื่อศึกษาประสบการณ์ แนวคิด ความเชื่อ แรงบันดาลใจของกลุ่มคนหรือองค์กรที่ทำงานด้านการพัฒนาครู ซึ่งเป็นกลุ่มที่มุ่งผลักดันให้เกิด “ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง” หรือครูยุคใหม่ที่มีสมรรถนะ มีความสามารถในการสร้างสรรค์กระบวนการเรียนรู้แบบใหม่ๆ และเป็นกำลังขับเคลื่อนทางสังคมในการสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนบนฐานสุขภาวะทางปัญญา เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะความพร้อมในการดำรงชีวิตให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในสังคม
ครูปล่อยแสง ครูบันดาลใจ จุดไฟการเรียนรู้
“ครู” คือบุคคลสำคัญในการขับเคลื่อนระบบการศึกษาไทยให้มีคุณภาพ เพื่อมาวางนรากฐานที่มั่นคงให้กับประเทศชาติ ครูเพียงหนึ่งคนสามารถสร้างและพัฒนาเด็กให้เติบโตเป็นพลเมืองที่ดีของสังคมเพื่อมาพัฒนาประเทศชาติได้มากมาย หนังสือครูปล่อยแสง ครูบันดาลใจ จุดไฟเรียนรู้ เป็นการถอดบทเรียนการสร้างเสริมสุขภาวะทางปัญญาให้กับครู ตามโครงการผู้นำแห่งอนาคต ของ สสส. ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาการ ขณะเดียวกันก็มีความอิ่มเอม เบิกบานในอาชีพครูได้อย่างภาคภูมิ
Intrapreneur for Change ย่างก้าวการเดินทาง ร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลง
หนังสือ Intrapreneur for Change: ย่างก้าวการเดินทาง ร่วมสร้างความเปลี่ยนแปลง เป็นการถ่ายทอดเรื่องราว ประสบการณ์ และการเรียนรู้ในแง่มุมต่าง ๆ ของ Intrapreneur หรือคนตัวเล็กหัวใจใหญ่ จาก 4 พื้นที่ ได้แก่ จังหวัดลพบุรี เชียงราย ขอนแก่น และพังงา ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ที่มีจิตอาสาและมองเห็นโอกาสในการสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ความรู้และประสบการณ์ของพวกเขาที่ได้ร่วมทำงานกับผู้นำในพื้นที่ครั้งนี้ถูกถ่ายทอดออกมาผ่านวิธีการเขียนเชิงเรื่องเล่า โดยภารกิจการเปลี่ยนแปลงเมืองและชุมชนนั้น ขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการสร้างเสริมด้านสุขภาวะทางปัญญา และก่อให้นวัตกรรมทางสังคม ภายใต้การนำ ‘โครงการผู้นำแห่งอนาคต’ ที่ได้รับกรสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ลองแชร์ Long Share คลิปวีดีโอ โดย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยศิลปากร
ปัญหาเด็กถูกมองข้ามความฝัน ไม่ได้เรียนในสิ่งที่อยากเรียนนั้นเกิดจากปัจจัยหลายด้าน ทางคณะผู้จัดทำเล็งเห็นว่าปัจจัยด้านครอบครัวมีผลเป็นอย่างมาก หลายครั้งที่ความฝันเหล่านั้นไม่เกิดขึ้นเป็นเพราะครอบครัวขาดการรับฟังซึ่งกันและกัน ไม่เกิดการพูดคุยและปรึกษาหารือจนทำให้ส่งผลเสีย คณะผู้จัดทำจึงได้จัดทำวิดีโอซึ่งมุ่งหมายให้เกิดการกระตุ้นให้เห็นถึงความสำคัญของการพูดคุยกันภายในครอบครัว ให้เห็นถึงด้านดีด้านเสียของการโต้ตอบกันในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้คนตระหนักรับฟังซึ่งกันและกัน
ลองแชร์ Long Share โดย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยศิลปากร
เนื่องจากการที่ในปัจจุบันยังมีเด็กที่ยังถูกพ่อแม่ตีกรอบชีวิตเอาไว้ว่า โตขึ้นจะต้องเป็นอะไร และระหว่างทางก็บังคับว่าจะต้องเรียนอย่างเดียวนะ ต้องทำแบบนี้เท่านั้นนะ ถึงจะโตมามีชีวิตที่ดีได้ โดยไม่เปิดโอกาสให้ลูกได้ลองคิด และเดินตามความฝันของตัวเอง
มาชิด แทนแชท เพิ่มความชิดใกล้ ให้คนใกล้ชิด คลิปวีดีโอ How to a plastic doll โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง-นฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
" How to be a plastic doll " มีชีวิตแค่โลกในจอ ไร้ชีวิตในโลกความจริง สื่อถึงความไร้ชีวิต ไร้ปฏิสัมพันธ์ทางกายภาพ เหมือนกับหุ่นพลาสติกนิ่งๆที่มีรูปร่างเหมือนคน แต่ไม่สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ได้ เป็นหุ่นนิ่งที่มีชีวิตแค่กับคนในมือถือ วัตถุประสงค์ในการสร้างสรรค์ผลงานของนักศึกษา : เพื่อสื่อสารสื่อให้ผู้คนได้ฉุกคิดและหันมาสร้างปฏิสัมพันธ์กับคนรอบๆข้างให้มากขึ้นกว่าเดิม เหตุผลเพราะว่า ถ้าหากในอนาคตการมีปฏิสัมพันธ์ของคนเราลดลง อาจจะมีปัญหาต่างๆในสังคมตามมา เช่น การขาดการมีน้ำใจ ขาดการช่วยเหลือกัน
มาชิด แทนแชท เพิ่มความชิดใกล้ ให้คนใกล้ชิด คลิปวีดีโอ โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง-นฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
" How to be a plastic doll " มีชีวิตแค่โลกในจอ ไร้ชีวิตในโลกความจริง สื่อถึงความไร้ชีวิต ไร้ปฏิสัมพันธ์ทางกายภาพ เหมือนกับหุ่นพลาสติกนิ่งๆที่มีรูปร่างเหมือนคน แต่ไม่สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ได้ เป็นหุ่นนิ่งที่มีชีวิตแค่กับคนในมือถือ วัตถุประสงค์ในการสร้างสรรค์ผลงานของนักศึกษา : เพื่อสื่อสารสื่อให้ผู้คนได้ฉุกคิดและหันมาสร้างปฏิสัมพันธ์กับคนรอบๆข้างให้มากขึ้นกว่าเดิม เหตุผลเพราะว่า ถ้าหากในอนาคตการมีปฏิสัมพันธ์ของคนเราลดลง อาจจะมีปัญหาต่างๆในสังคมตามมา เช่น การขาดการมีน้ำใจ ขาดการช่วยเหลือกัน