ลงทะเบียนเรียนฟรี การรู้เท่าทันสื่อเพื่อสร้างสังคมของทุกคน
ลงทะเบียนเรียนฟรี “การรู้เท่าทันสื่อเพื่อสร้างสังคมของทุกคน” เนื้อหาหลักสูตรออนไลน์ระยะสั้น ที่จะพาไปเรียนรู้ทำความเข้าใจเกี่ยวสื่อในฐานะสถาบันทางสังคมที่ขัดเกลาความคิดผู้คน ฝึกฝนวิเคราะห์ถอดรื้อการประกอบสร้างสื่อ เพิ่มศักยภาพความคิดเชิงวิพากษ์ และขยายหัวใจของความเป็นพลเมืองอยู่ร่วมนับรวมผู้คนสังคมเดียวกัน จุฬาฯ และ สสส. ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าเรียนรู้พัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ทักษะสุขภาวะ ในหลักสูตรออนไลน์ระยะสั้น CUVIP series เท่าทันสื่อ ก้าวทันโลก หมวดเนื้อหา การรู้เท่าทันสื่อเพื่อสร้างสังคมของทุกคน เลือกเรียนได้ตามความสนใจใน 3 หัวข้อ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย 21 มิถุนายน 2565 หัวข้อ เปิดสายตาอ่านสื่ออย่างรู้เท่าทัน MIDL 101 19 กรกฎาคม 2565 หัวข้อ พลิกมุมคิด สะกิดมุมมอง วิพากษ์สื่อด้วยสายตาพลเมือง 21 กรกฎาคม 2565 หัวข้อ วิพากษ์สื่ออย่างรู้เท่าทันสร้างสรรค์สังคมของทุกคน ทุกหัวข้อใช้เวลาเรียน 2 ชั่วโมง ช่วง 16:30-18:30 น. ด้วยรูปแบบการเรียนออน์ไลน์ผ่าน Zoom Appication รับเกียรติบัตรหลังผ่านการประเมินการเรียนรู้แต่ละหัวข้อ ออกแบบหลักสูตรและวิทยากรสอน โดย คุณโตมร อภิวันทนากร และ คุณทัศนวรรณ บรรจง มูลนิธิการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองไทย Thai Civic Education Foundation รับจำนวนจำกัด !!! สมัครเข้าร่วม CUVIP และลงทะเบียนเรียนเลยตอนนี้ เพียง 4 ขั้นตอน ลงทะเบียนเป็นผู้ใช้งานใหม่ ที่ http://www.cuvip.gened.chula.ac.th/Member-Public.php ติดตามประกาศตารางวันเวลาเรียน และวันลงทะเบียนเข้าร่วมในหัวข้อที่สนใจ ที่ Facebook: CUVIP Project ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม CUVIP ที่ เว็บไซต์ http://www.cuvip.gened.chula.ac.th/Timetable.php ก่อนวันเรียน 2-3 วัน สามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ได้เข้าร่วมกิจกรรม CUVIP ที่ Facebook : CUVIP Project หรือ โทรศัพท์ 0 2218 3920 ทำความรู้จักภาพรวมหลักสูตร CUVIP series เท่าทันสื่อ ก้าวทันโลก ได้ที่ https://online.fliphtml5.com/mqfzw/vpuj/
สุขภาพคนไทย 2565
รายงานสุขภาพคนไทยปี 2565 ในวิกฤตโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมสุขภาพกาย สุขภาพจิต การศึกษา ชีวิตการทำงาน เศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้ำในสังคมชุมชนและครอบครัวในแง่มุมต่างๆ ที่อาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนไทยในระยะสั้นและระยะยาว นอกเหนือจากรายงานผลกระทบที่เกิดขึ้นจากวิกฤตโควิด-19 แล้วก็ยังมีอีก 10 สถานการณ์เด่นที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตสุขภาพกายของคนไทยที่เป็นทั้งเรื่องใหม่และที่ยังรอการแก้ไข เช่น การปลดล็อกกัญชา กัญชงและพืชกระท่อม การโฆษณาอาหารเสริมเกินจริง โรงงานหมิงตี้ระเบิดบทเรียนภัยพิบัติจากโรงงานสารเคมี ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากและการปรับตัว อนาคตเกษตรไทยกับเกษตรอัจฉริยะ ไทยกับ RECP และ CPTPP ข้อดีและสิ่งที่ต้องระวังและสุดท้ายเรื่องการเมืองบนท้องถนนกับทางออก ซึ่งรายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้นต่อไป
รายงานการศึกษาการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาและจิตวิญญาณในสถานที่ทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาลเอกชน
คู่มืออบรมการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาหรือจิตวิญญาณในสถานที่ทำงานเป็นคู่มือที่ได้ผ่านการศึกษาวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูล จนกลายมาเป็นหลักสูตรที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นคู่มืออบรมการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาในสถานที่ทำงานต่างๆ ได้ เพราะการมีสุขภาวะทางปัญญาหรือจิตวิญญาณในสถานที่ทำงาน คือ สิ่งที่สำคัญที่สุดต่อองค์การแห่งการเรียนรู้ เพื่อการสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก สร้างความเชื่อมโยงและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นภายในองค์การ หลายคนที่ได้เข้ารับการอบรมเรื่องสุขภาวะทางปัญญาและการมีจิตวิญญาณในสถานที่ทำงานพบว่ามีความพึงพอใจในการทำงานและความผาสุกทางจิตเพิ่มขึ้น มีการตระหนักรู้ถึงตนเอง มองโลกในแง่บวกและมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น ซึ่งยังรวมไปถึงมีการเชื่อมโยงกับธรรมชาติมากขึ้น
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาเรื่อง รูปแบบและกระบวนการปรับตัวของชาวนาสู่การผลิตอาหารที่ยั่งยืน
ปัญหาหนี้สิน เป็นปัญหาเรื้อรังสำหรับพี่น้องเกษตรกรไทยมาเนิ่นนาน บั่นทอนคุณภาพและความมั่นคงของชาวเกษตรกรไทย การปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำเกษตรสู่เกษตรอินทรีย์ ในพื้นที่นำร่อง อย่าง จ.ปทุมธานี จ.ชัยนาท และจ.เพชรบุรี จะทำให้การทำงานส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์หรือการผลิตอาหารที่มีความปลอดภัย เป็นไปอย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น รวมถึงช่วยปลดล็อคพันธนาการหรือกับดักหนี้สินที่พี่น้องเกษตรกรยังต้องเผชิญอยู่ด้วย
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาเรื่อง ธนาคารที่ดินชุมชน เพื่อการผลิตอาหารที่ยั่งยืน กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา และฉะเชิงเทรา
ปัญหาความเหลื่อมล้ำอยู่กับสังคมไทยมาเป็นเวลานาน หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคมมากที่สุด ก็คือ การถือครองทรัพย์สินที่ดิน ...การปฏิรูปที่ดินจะทำให้เกิดความมีประสิทธิภาพในการใช้ที่ดินมากขึ้น และทำให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม เนื่องจากจะมีการจัดสรรทรัพยากรใหม่ระหว่างผู้เป็นเจ้าของที่ดินและผู้ที่ต้องการใช้ประโยชน์ในที่ดิน มีการนำที่ดินที่ถูกทิ้งร้างมาใช้ประโยชน์มากขึ้น ก่อให้เกิดความมีประสิทธิภาพในการใช้ที่ดิน นอกจากนั้นการปฏิรูปที่ดินยังทำให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมมากขึ้น ลดการกระจุกตัวของการถือครอง ที่ดิน และลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ
จุดไฟเรียนรู้คนรุ่นใหม่ด้วยเถื่อนเกมกับ ดร.เดชรัตน์ สุขกำเนิด
“...ความรู้สึกมันทำให้เราเปลี่ยนแปลงตัวเรา ความรู้สึกนี่แหละที่มันสำคัญ และเป็นสิ่งที่ขาดไปในการเรียนการสอนวิชาเศรษฐศาสตร์” นี่คือความรู้สึกของ ดร.เดชรัตน์ สุขกำเนิด ผู้บุกเบิกการเรียนรู้ผ่านบอร์ดเกม ชื่อว่า “เถื่อนเกม” เครื่องมือที่นำมาเติมเต็มกระบวนการเรียนรู้ ให้เกิดการทำงานระหว่างความรู้และความรู้สึก เน้นการเรียนด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่ไม่ใช่แค่ให้ผู้เรียนรู้เพียงสิ่งที่ผู้สอนรู้เท่านั้น อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
อาจารย์รุ่นใหม่สนใจจิตตปัญญา
ดร.สุปรีย์ กาญจนพิศศาล หรือ อาจารย์แบต อาจารย์ประจำศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ที่สนใจการสอนเรื่องการพัฒนาตนเอง และเชื่อมั่นว่าความมั่นคงของชีวิตเราสร้างได้จากภายในตัวเอง เพราะแก่นแท้ของการพัฒนาคนไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เราต้องก้าวให้พ้นตัวตนของเรา เราสามารถ “สุข” ได้ สุขแบบไม่ได้ร่าเริงสุดโต่ง แต่สุขใจได้แม้ในยามปกติ นั่นคือความสุขทางจิตตปัญญา ที่เกิดจากการเดินทางสายกลาง อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
ดร.ภาสกร แช่มประเสริฐ มิสเตอร์เตือนภัยพิบัติ
ดร.ภาสกร แช่มประเสริฐ หรือ “มิสเตอร์ภัยพิบัติ” อาจารย์ดีกรีวิศวกรคอมพิวเตอร์ฯ จากเมืองนอก ผู้ซึ่งอุทิศตนตัดสินใจเดินทางกลับมาเมืองไทย นำวิชาความรู้ที่ร่ำเรียนมาเรื่องระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้กับการจัดการภัยพิบัติ ด้วยเชื่อมั่นว่าถ้าสื่อสารทำความเข้าใจกับชาวบ้านเรื่องการป้องกันภัยพิบัติได้ดีแล้ว ชาวบ้านก็จะเตรียมการจัดการ และรับมือกับภัยพิบัติให้เกิดความสูญเสียน้อยที่สุด นอกจากนำสื่อออนไลน์เพื่อเสริมสร้างความรู้เรื่องภัยพิบัติผ่านทางเว็บไซต์ “ภัยพิบัติดอทคอม” และทวิตเตอร์ แอคเค้าท์ “ภัยพิบัติ” แล้ว อาจารย์ยังมีเป้าหมายสำคัญคือการสร้างวิศวกรคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ที่จะมาช่วยให้เมืองไทยให้ปลอดภัยและมีความสุข ภายใต้แนวคิด “ หนึ่ง ดร. หนึ่ง อำเภอ” อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
คฑา มหากายี : ใช้โลกนี้เป็นห้องเรียน แล้วให้เด็กๆ รู้จากประสบการณ์ตรง
คฑา มหากายี เจ้าของโรงแรมพระนครนอนเล่น นักธุรกิจที่เชื่อมั่นในวิถีแห่งธรรมชาติ กับการตั้งคำถามถึงระบบการศึกษาไทยในอดีตจนถึงปัจจุบัน ที่มีข้อจำกัดและยังไม่สามารถตอบโจทย์ให้แก่ชีวิตหลากมิติของมนุษย์ได้ จึงได้เกิด ”บ้านเรียน” หรือ Home School ด้วยกระบวนการออกแบบการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์โดยใช้โลกแห่งธรรมชาติ ต้นไม้ ลำธาร ท้องฟ้าและผืนดินเป็นห้องเรียน เพื่อสร้างวินัยและให้เด็กได้เรียนรู้ชีวิตจากประสบการณ์จริง
ประชา หุตานุวัตร : เราต้องช่วยกันเรียน ไม่ใช่แข่งกันเรียน
‘ประชา หุตานุวัตร’ กระบวนกรรุ่นใหญ่ ผู้บุกเบิกกระบวนการเรียนรู้ที่เข้าถึงชีวิตจิตใจในแวดวงการศึกษาทางเลือก และผู้จัดทำหลักสูตร Awakening Leadership Training Program กับบทความเรื่องการแข่งขันกันเรียนในโลกปัจจุบัน ที่ทำร้ายและลดคุณค่าในตัวตนของเด็กและครูผู้สอน การจะผลักดันให้เกิดการศึกษาที่ไม่ทำร้ายและลดคุณค่าความเป็นคนได้นั้น จะต้องเริ่มจากการให้เด็กนักเรียนมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์กระบวนการเรียนรู้ ร่วมสร้างองค์ความรู้ มีความเข้าใจในเรื่องของการศึกษา มีความเป็นมิตรเห็นอกเห็นใจกัน เพื่อช่วยกันเรียน รวมถึงครูและนักเรียนเองจะต้องมีความเข้าใจและสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน
มนุษย์ครู ในวันที่การศึกษาไม่เอื้อต่อการสร้างความเป็นมนุษย์
'มนุษย์ครู' ในวันที่การศึกษาไม่เอื้อต่อการสร้างความเป็นมนุษย์ชวนครูสำรวจความเป็นมนุษย์ในตัวเอง ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ที่มีพลัง ส่งต่อไปยังห้องเรียนจากวงแลกเปลี่ยน “รวมพลคนกล้าสอน สู่การเรียนรู้มีชีวิต” เมื่อวันที่ 21 ก.ค.2561
Courage to Teach ชวนครูเปลี่ยนห้องเรียนด้วยความกล้า
หลักสูตร “ครูกล้าสอน” จากทีม new spirit ภายใต้โครงการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาด้วยชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเกิดจากแนวคิดที่จะช่วยผลักดันระบบการศึกษาในประเทศไทยให้ดีขึ้น ด้วยการสร้างการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาศักยภาพในตัวครู ในหลักสูตรของโครงการมีอยู่ 3 ชุดการเรียนรู้ด้วยกันคือ “ครูผู้ตื่นรู้ในตน” “ครูผู้ตั้งคำถามทรงพลัง” และ “ครูผู้ออกแบบการเรียนรู้” ซึ่งกลุ่มเป้าหมายหลักคือ ครู อาจารย์ ในสถาบันอุดมศึกษา เพราะนอกจากครูจะต้องมีความเชี่ยวชาญในวิชาที่ตนเองสอนแล้ว ครูยังจะต้องมีความตระหนักรู้ มีความเข้าใจและทบทวนตัวเอง รวมถึงต้องเข้าใจจิตใจของนักเรียนในชั้นเรียน เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมและสร้างสรรค์