trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "การฟัง" พบ 13 ข้อมูล

การสื่อสารด้วยความกรุณา

หลายครั้งที่การสื่อสารของเรานำไปสู่การเข้าใจผิดและเกิดความขัดแย้งระหว่างเราและผู้ที่เรามีปฏิสัมพันธ์ด้วย ซ้ำร้ายบางความสัมพันธ์ต้องพังลงเพราะการสื่อสารที่ผิดพลาดไม่ตรงความต้องการและความรู้สึกของเราที่ต้องการจะสื่อ ทว่าการจะสื่อสารให้ตรงตามความรู้สึกของแต่ละฝ่ายนั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นกัน การสื่อสารด้วยความกรุณาและการฟังอย่างลึ้งซึ้งด้วยหัวใจ จึงมีความสำคัญและเป็นหัวใจหลักของการสื่อสารที่จะช่วยทลายกำแพงอคติทางความคิด เพื่อช่วยให้ทุกฝ่ายเข้าใจกันและกันให้ลึกไปกว่าคำพูดและเข้าถึงความต้องการของทุกฝ่าย

Hearing Test

วาระวันแม่ปี 2563 มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แม่ เพจสายสะดือ และ สสส. ส่งหนังโฆษณาตัวใหม่ 'Hearing Test' สร้างสรรค์โดยครีเอทีฟไดเร็คเตอร์มือรางวัลอย่าง กิตติ ไชยพร จากทีมมานะ และผู้กำกับที่เชี่ยวชาญหนังเชิงทดลอง Social Experiment อย่าง กมลวัฒน์ ชูเตชะ จากบริษัท มีอะไร จำกัด มาท้าทายคนดูด้วยภารกิจชวน 6 คู่แม่ลูกที่มีปัญหาความสัมพันธ์ในรูปแบบที่หลากหลาย มาเชื่อมโยงสายสัมพันธ์ที่เปรียบได้ดัง 'สายสะดือที่หายไป' ด้วยการฟังเสียงลึกๆ ที่ซุกซ่อนอยู่ในใจของอีกฝ่าย เพื่อให้ความสัมพันธ์ที่ปรักหักพัง ได้หวนคืนกลับมาเชื่อมโยงเข้าด้วยกันอีกครั้ง

รวม 40 ประสบการณ์จริง 40 เส้นทางสู่การตื่นรู้ - ธีรัญญ์ ไพโรจน์อังสุธร

บทความ เส้นทางสู่การตื่นรู้ โดย คุณ ธีรัญญ์ ไพโรจน์อังสุธร โค้ช วิทยากร และที่ปรึกษาด้าน Soft Skills จากที่เคยแสวงหาประสบการณ์ในการบริหารธุรกิจ ได้ผันตัวมาแสวงหาการเติบโตภายในของชีวิต ศึกษาคำสอนและฝึกปฏิบัติตามแนวทางของหมู่บ้านพลัม โดย หลวงปู่ ติช นัท ฮันห์ ที่ทำให้ค้นพบ “ความหมายใหม่ของความสุขและความสำเร็จ” จากการปล่อยวาง ‘ความสำเร็จ’ การยอมรับการเปลี่ยนแปลงของชีวิตอย่างค่อยเป็นค่อยไป ชื่นชมสิ่งต่าง ๆ รอบตัวตามอย่างที่มันเป็น ซึ่งได้ก่อให้เกิดพฤติกรรมใหม่ ๆ ที่เกื้อหนุนความเจริญงอกงามของชีวิต

Care club ชุดเครื่องมือเพื่อการดูแลใจ สำหรับผู้ดูแลผู้ป่วย

บางครั้งผู้ดูแล...ก็ต้องการการดูแลด้วยเช่นกัน กิจกรรมกลุ่ม Care club เกิดขึ้นเพื่อดูแล “ใจ”  ของผู้ดูแลผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งกิจกรรมกลุ่มนี้เกิดขึ้นและพัฒนาโดย กลุ่ม Peaceful Death โดยเป้าหมายหลักของกิจกรรมคือ เพื่อสร้างพื้นที่พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลและให้กำลังใจซึ่งกันและกันด้วยความเข้าใจอย่างสร้างสรรค์ ผ่านทักษะการฟังอย่างลึกซึ้งและการ์ดเกม ซึ่งเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม กิจกรรมนี้เหมาะกับบุคลากรสุขภาพหรือ นักจัดกิจกรรมในชุมชนที่สนใจการดูแล สุขภาวะของผู้ดูแลผู้ป่วย  

อาสารับฟัง ฟังยังไงให้เข้าไปถึงหัวใจ

การฟังให้เป็น ฟังเสียงแล้วเข้าอกเข้าใจไปถึงหัวใจคนพูด ฟังแล้วไม่ตัดสินให้เขาทุกข์ใจไปมากกว่าเดิม ฟังแล้วให้อีกฝ่ายวางใจ กล้าที่จะบอกเล่าสิ่งที่อยู่ในใจออกมา ต้องทำยังไง?นี่เป็น 7 ขั้นตอนในการรับฟังที่อยากให้ทุกคนลองนำไปใช้กันดู

ความสุขซุกซ่อน อยู่ที่ไหน

ความสุขที่เราตามหา...อยู่ที่ไหน? ชีวิตของเราเต็มไปด้วยบทสนทนาเกี่ยวกับ คนอื่นและโลกภายนอก จะดีแค่ไหน ถ้าได้พูดคุยกับตัวเองอย่างมีคุณภาพ หรือได้คุยอย่างใส่ใจ ได้ฟังแบบไม่ตัดสิน ได้แลกเปลี่ยนอย่างเปิดใจ กับคนที่รัก คนใกล้ตัว เราอาจพบว่า คนที่เรารักและตัวเรา อาจจะได้เห็น ได้รู้จักตัวเองมากขึ้น โครงการสำรวจความสุขที่ซุกซ่อนภายในใจ ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 8 ช่องทางในการเข้าถึงความสุข รวมถึงการใช้ เกมการ์ด Happiness Explorer 9 คน การ์ด 8 หมวด 64 คำถามและการใช้กระบวนการรับฟังอย่างลึกซึ้ง หรือ Deep listening ฟังอย่างไม่ตัดสินเป็นเครื่องมือในการเล่นเกม ซึ่งเกมจะเป็นเครื่องมือในการช่วยสะท้อนความคิดและแสดงตัวตนที่แท้ของเราต่อคนรอบข้าง อีกทั้งเป็นการช่วยให้เรากลับมามองตัวตนที่แท้จริงของเราและสร้างการตระหนักรู้เท่าทันตนเอง ในการจัดการกับปัญหาต่าง ๆ

คุณเคย Bully คนเหล่านี้หรือเปล่า

เพราะการมองใครแค่เปลือก คงไม่ได้ทำให้เรารู้จักเขาจริงๆ หลายครั้งที่เรามักชอบตัดสินคนจากการสบตาแค่ไม่กี่วินาที คงจะดีถ้าคนในสังคมจะได้รู้จักและเข้าใจกันที่ข้างในจริงๆ  วันนี้เราเลยพาคนที่มักจะถูกสังคมตัดสินอย่างเช่น เด็กช่างกล ผู้หญิงกลางคืน เพศที่สาม คนสักเต็มตัว ฯลฯ มาใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับคนอื่นๆในสังคม โดยที่พวกเขา ต่างก็ไม่รู้ว่าใครเป็นใคร และจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อพวกเขา ได้เปิดเผยตัวเองให้ทุกคนได้เห็น...  รู้สึกบ้างไหมว่า เมื่อเราเติบโตขึ้น โลกก็ดูเหมือนจะเป็นมิตรกับเราน้อยลงเรื่อย ๆ นั่นอาจเป็นเพราะเรามองโลก มองคนรอบตัวด้วยสายตาที่เปลี่ยนไป เมื่อเติบโตขึ้นและมีประสบการณ์ชีวิตมากขึ้น เราจะ "ตัดสิน" ผู้คนที่เราพบเจอเร็วขึ้น โดยเฉพาะคนที่ดู "แตกต่าง" ไปจากเรา และหลายครั้งมันก็ทำให้เราตกอยู่ภายใต้ความกังวล ความกลัว รู้สึกแปลกแยก ไปจนถึงสร้างความขัดแย้ง และทำให้"ความสุข" ของเราลดลง การด่วนตัดสิน ทำให้เราพลาดโอกาสที่จะรับฟังกัน พลาดโอกาสที่จะเข้าใจกัน และพลาดโอกาสที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ในทางตรงข้าม การไม่ด่วนตัดสิน ทำให้เราสามารถรับฟังผู้อื่นได้อย่างลึกซึ้ง (deep listening) และมีความสุขมากขึ้นได้อย่างไร คลิปนี้มีคำตอบ .... ไม่ด่วนตัดสิน รู้เท่าทันความคิดตนเอง สามารถฟังคนรอบข้างดัวยหัวใจ รับฟังอย่างลึกซึ้งจนเกิดความเข้าใจ สร้างความสัมพันธ์ที่ดี และมีความสุขมากขึ้น

ออกแบบการเรียน เปลี่ยนคำว่า ต้องรู้ เป็น อยากรู้

กิจกรรมการอบรม “ครูกล้าสอน” ชุดการเรียนรู้ที่ 3 “ครูผู้ออกแบบการเรียนรู้” เป็นการทบทวนเนื้อหาการเรียนรู้และการนำไปปฏิบัติจริงจากชุดการเรียนครั้งที่ผ่านมา ครูอาจารย์ที่เข้าร่วมกิจกรรมการอบรมในหลักสูตรครั้งนี้ ได้เรียนรู้หลักการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ วิธีการกระตุ้นความสนใจ สร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ที่มีพลัง สนับสนุนช่วยเหลือและไว้วางใจต่อกัน ผ่านกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นกระบวนการสร้างการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปพัฒนาการออกแบบการเรียนรู้ในห้องเรียนให้ดียิ่งขึ้น

ปวีณ์กร สุรบรรณ์ : ครูมือใหม่ในหมู่เด็กช่าง

โบว์ ปวีณ์กร สุรบรรณ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรรายวิชาสังคมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตสงขลา ครูในโครงการครูกล้าสอน ได้นำประสบการณ์และกระบวนการฟังที่ได้เรียนรู้จากโครงการมาปรับใช้พัฒนาศักยภาพในตนเอง เพื่อแก้ไขการติดอยู่ในกรอบแห่งความกลัวในการสอนและความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันในชั้นเรียน โดยได้นำหลัก Childs Center คือ เด็กเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ มาประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนและเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น เพื่อให้ทั้งครูผู้สอนและนักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์การเรียนรู้ร่วมกัน

ณรงค์ กาญจนะ : เปลี่ยนครูสายแข็งด้วยการฟัง เปลี่ยนเกลียดชังเป็นความรัก

ผศ.ดร.ณรงค์ กาญจนะ อาจารย์ภาควิชาครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ครูสายแข็งผู้เปลี่ยนแปลงตัวเองด้วยการฟัง โดยการนำประสบการณ์จากการเข้าร่วมอบรมในโครงการครูกล้าสอนและในโครงการต่างๆ มาปรับใช้พัฒนาศักยภาพในตนเอง ทั้งในเรื่องความรู้ความเข้าใจในการฟังอย่างมีสติและกระบวนการสร้างสรรค์การเรียนรู้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชั้นเรียน ที่สำคัญคือความรู้จากการที่ได้เข้าร่วมอบรมในโครงการนั้น สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและภายในครอบครัวได้

ก้าวแรกครูกล้าสอน ก้าวย่างที่เริ่มต้นด้วยการฟัง

ครู คือ ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างสรรค์การเรียนรู้ในห้องเรียนให้น่าสนใจและมีคุณภาพ โครงการ “ครูกล้าสอน” รุ่นที่สอง เปิดหลักสูตรอบรมให้แก่ครูอาจารย์ เพื่อทบทวนบทบาท สร้างแรงบันดาลใจ คุณค่าความหมายของการเป็นครูและสร้างการยอมรับในความแตกต่างผ่านทักษะการฟังอย่างเปิดใจ ซึ่งทักษะในการฟังนี้จะเป็นตัวเชื่อมสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้สอนและนักเรียน อีกทั้งเป็นเครื่องมือที่จะนำไปสู่กระบวนการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ในชั้นเรียนต่อไป

ความสุขของสูงวัย หล่นหายไปไหน

ไม่ใช่แค่วัยรุ่นที่ต้องเผชิญความเปลี่ยนแปลง ผู้สูงวัยเองก็เป็นวัยที่ต้องเผชิญความเปลี่ยนแปลงมากไม่แพ้กัน ทั้งความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่เสื่อมถอยลง ความเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม หน้าที่การงาน ยังรวมไปถึงความเปลี่ยนแปลงจากสภาพจิตใจ การสูญเสียเพื่อน คนรัก คู่ชีวิต สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ลูกหลานและคนรอบข้างควรให้ความสำคัญ และช่วยกันประคับประคองให้ผู้สูงวัยรับความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้อย่างมีความสุข กิจกรรมและสิ่งที่ลูกหลานควรทำเพื่อสร้างสุขให้ผู้สูงวัยมีอะไรบ้าง ติดตามได้ในอินโฟกราฟิกชิ้นนี้  

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.