Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "การพัฒนาเด็ก" พบ 70 ข้อมูล

รวมไอเดียเล่นกับลูก

การที่พ่อแม่อยู่กับลูก ๆ ที่บ้าน เป็นโอกาสทองที่วิเศษ ในการทำกิจกรรมด้วยกัน หรือ “การเล่นกับลูก” เพื่อเสริมสร้างความฉลาดให้กับลูก ๆ  เริ่มตั้งแต่การจัดหามุมเล่นบทบาทสมมุติในบ้านเพื่อเสริมสร้างจินตนาการ, การเล่นแบบอิสระกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวทั้งการเล่นดิน เล่นทราย, การเล่นต่อคำ ต่อประโยคต่อเพลง  หรือการฝึกบวกเลขทะเบียนรถยนต์ ก็เป็นการเพิ่มทักษะการเรียนรู้  รวมไปถึงการเคลื่อนไหวปีกป่ายออกกำลังกายหรือการอ่านหนังสือ 

เล่น สานสัมพันธ์ครอบครัวฝ่าวิกฤติโควิด-19 ตอน มุมเล่นช่วยลูกนิ่ง สำหรับช่วงอายุ 2-9 ปี

เมื่อ “บ้าน” กลายเป็นที่ทำงานของพ่อแม่  และลูก ๆ ต้องอยู่กับพ่อแม่  เพื่อทำตามมาตรการอยู่บ้าน หยุดเชื้อ ในช่วงของวิกฤติวิด 19   การสร้างสรรค์มุมเล่นช่วยลูกนิ่ง  สำหรับเด็กอายุ 2-9 ปี จึงทำให้พ่อแม่มีสมาธิและเวลาในการทำงาน ขณะเดียวกันเด็ก ๆ ก็ได้เรียนรู้และพัฒนาการตามวัย  โดยมุมเล่นที่น่าสนใจมีทั้ง มุมทราย, มุมบ้านจำลอง, มุมเล่นขายของ, มุมอุโมงค์ และมุมแฟนตาซีหรือมุมเล่นแต่งตัว โดยพ่อแม่ชวนลูก ๆ ช่วยอันออกแบบมุมที่ลูกชอบเล่น จากนั้นพ่อแม่ตกลงกับลูกว่าต้องเล่นในมุมของตนเอง แล้วพ่อแม่จึงออกมาทำงานและค่อนสังเกตการณ์ห่างๆ ปล่อยให้ลูกเล่นตามจินตนาการและความสนุกสนาน

คู่มือบริโภคศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

คู่มือบริโภคศึกษา ฉบับมัธยมศึกษาตอนต้น  เล่มนี้ถูกออกแบบมาสำหรับผู้สอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ใช้งานง่ายแม้เป็นผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เพราะมีคำอธิบายขั้นตอนการสอนอย่างชัดเจน มีใบงานพร้อมใช้งาน อีกทั้งมีข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับผู้สนใจได้ทำการสอน รวมทั้งมีแบบฝึกหัดเพื่อให้ผู้สอนได้ใช้ประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนในแต่ละกิจกรรม  การจัดทำคู่มือชุดนี้ได้มีการพัฒนาและตรวจสอบการใช้ในบริบทของการเรียนการสอนจริงมา 3 ขั้นตอน เพื่อความสมบูรณ์ของเนื้อหาและการนำไปใช้งานจริง

คุณภาพชีวิตเด็ก 2556 (Eng Version)

หนังสือคุณภาพชีวิตเด็ก 2556 ภาคภาษาอังกฤษ จัดทำโดยสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล แปลจากหนังสือคุณภาพชีวิตเด็ก 2556 ฉบับภาษาไทย เพื่อให้เกิดการเผยแพร่ในวงการวิชาการในระดับสากล ทั้งนี้เนื้อหาในหนังสือนำเสนอข้อมูลองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาเด็กในมิติต่าง ๆ ทั้งกาย ใจ อารมณ์ สังคมและปัญญา เพื่อการพัฒนาศักยภาพเด็กในทุกด้านอย่างสมบูรณ์

คุณภาพชีวิตเด็ก 2556 : ฟื้นความฝันการศึกษาให้เด็กไทย

หนังสือเล่มนี้ พาผู้อ่านไปมองภาพและสังเคราะห์ปัญหาระบบการศึกษาไทยในภาพรวมหลากหลายมิติ ทั้งด้านเศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ การศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ หรือการศึกษาทางเลือก เพื่อมุ่งเป้าหมายในการกระตุ้นเตือนสังคมให้มองการศึกษาในแง่มุมใหม่ พาการศึกษาไทยไปสู่เป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนอย่างเต็มศักยภาพ และเกิดการเรียนรู้สร้างสรรค์ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน

คุณภาพชีวิตเด็ก 2556

หนังสือคุณภาพชีวิตเด็ก 2556  เป็นฉบับปฐมฤกษ์ของสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ที่จัดทำขึ้น เพื่อเป็นสื่อกลางนำเสนอข้อมูลองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาเด็ก โดยได้ทำการรวมรวมข้อมูล วิเคราะห์ และจัดทำองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาศักยภาพเด็กไทยทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนให้ครอบครัวและผู้ทำงานด้านเด็กได้มองเห็นประเด็น เกิดองค์ความรู้ เพื่อนำสู่การพัฒนาศักยภาพเด็กไทยอย่างสมบูรณ์

3 ฐาน สานพลังต้นทุนชีวิต : บทเรียนการเสริมสร้างพลังบวก

หนังสือ “3 ฐาน สานพลังต้นทุนชีวิต : บทเรียนการเสริมสร้างพลังบวก” เป็นการถอดบทเรียนการทํางาน “ต้นทุนชีวิต” 3 บริบทสําคัญในชีวิตได้แก่ ต้นทุนชีวิตบริบทครอบครัว บริบทชุมชน และบริบทโรงเรียน ซึ่งเปรียบเสมือนต้นไม้ที่เติบโตจากการบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์หยั่งรากลงดิน และเติบโตแตกกิ่งก้านเป็นลําต้นใหญ่ ซึ่งแม้แต่ละบริบทจะมีจุดเน้นต่างกัน แต่เป็นการเชื่อมร้อยต่อกันเป็นห่วงโซ่  ทั้งนี้โดยพื้นฐานของคนเราเกิดมาล้วนมีต้นทุนชีวิต (Life Assets) กันทุกคน  ซึ่งต้นทุนเหล่านั้นจะแปรเปลี่ยนสภาพตามสภาวะแวดล้อม และการเรียนรู้ทางสังคม  หากเราเข้าใจการสานพลัง 3 ฐานนี้แล้ว ก็จะพัฒนาสู่ต้นทุนชีวิตที่ดีงามให้กับเด็กและเยาวชนต่อไป

คุณภาพชีวิตเด็กปฐมวัย

หนังสือคุณภาพชีวิตเด็กปฐมวัย (ปีที่ 2) นำเสนอประเด็นสำคัญที่น่าห่วงใยและทางออกในการพัฒนาเด็กปฐมวัยของประเทศไทย ภายใต้ข้อมูลฐานงานวิจัยและวิชาการของสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว เพื่อการพัฒนาและส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการที่สมวัย นำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นประเด็นบทบาทของครอบครัวในการเลี้ยงดูเด็ก โภชนาการที่เหมาะสมกับเด็ก ความปลอดภัยและป้องกันการการบาดเจ็บและสารพิษในเด็ก โรคติดเชื้อในศูนย์เด็กเล็ก ปัญหาการบริโภคสื่อของเด็ก  รวมทั้งสิทธิและความเสมอภาคของเด็กในการเรียนรู้อย่างเท่าเทียม

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.