รายงานผลการศึกษา โครงการจัดทำคู่มือสิทธิเด็กกับแนวทางปกป้องเด็กจากสื่อออนไลน์
งานวิจัยที่ศึกษาข้อมูลสถานการณ์ ปัญหา ผลกระทบประเด็นการถูกกลั่นแกล้งออนไลน์ เพื่อนำมาเป็นแนวทางจัดทำคู่มือการปกป้องสิทธิเด็กในสื่อออนไลน์ สืบเนื่องจากปัญหาที่คุกคามเด็กทางสื่อออนไลน์ มักมาในรูปแบบของการโฆษณาแฝง การกลั่นแกล้งกันทางอินเทอร์เน็ต การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล โดยในยุคสังคม 4.0 ที่การสื่อสารทันสมัยด้วยระบบดิจิทัล พ่อแม่ผู้ปกครองไม่สามารถกันเด็กๆ ออกจากสื่อ Social Media ได้ ดังนั้นจึงเป็นที่มาในการวิจัยข้อมูลเพื่อสนับสนุนการริเริ่มโคงการจัดทำคู่มือหรือแนวทางการปกป้องเด็กจากสื่อออนไลน์ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ในการดูแลเอาใจใส่ พูดคุย และทำความเข้าใจสื่อสารกับเด็ก ๆ ได้ในการทำงานและชีวิตประจำวัน
การศึกษาความรุนแรงทางโซเชียลมีเดียและการรับรู้ของวัยรุ่น
งานวิจัยเพื่อศึกษารูปแบบ การรับรู้ ผลกระทบและวิธีการจัดการปัญหาความรุนแรงของวัยรุ่นไทยในสื่อโซเชียลมีเดีย สืบเนื่องจากสถานการณ์การรับสื่อของวัยรุ่นที่เปลี่ยนไป เมื่อก่อนพ่อแม่ และผู้ปกครองมักจะวิตกกังวลเรื่องสื่อโทรทัศน์ ว่าจะส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมและการเรียนรู้ของเด็ก ทว่าสื่อที่อยู่ใกล้ตัวเด็กและวัยรุ่น ซึ่งมีอิทธิพลมากที่สุดในเวลานี้ คือสื่อ Social Media เราคงปฎิเสธไม่ได้ว่าในยุคสื่อดิจิทัล ไม่มีเด็กคนไหนเลยที่ไม่เคยเล่นอินเทอร์เน็ต ดูสื่อต่างๆ ผ่านช่องทางนี้ ผลการศึกษาพฤติกรรมเด็กและวัยรุ่นครั้งนี้ เป็นการทำงานร่วมกับกลุ่มเด็กวัยรุ่น อายุ 14 – 16 ปี ด้วยข้อมูลทางเอกสาร และการสนทนากลุ่ม เก็บความคิดเห็นมาเป็นเข็มทิศนำทางแบบ 360 องศา เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาและควบคุมรูปแบบสื่อต่าง ๆ ทาง Social Media ต่อไป
Fact Sheet ความฉลาดทางดิจิตอล และการศึกษาการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ของวัยรุ่น
สรุปข้อสนเทศเรื่องการศึกษาและประเมินพฤติกรรมการใช้สื่อสารสนเทศและดิจิตอลของวัยรุ่น โดย สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) และคณะผู้วิจัยได้จัดทำ Fact Sheet ‘ความฉลาดทางดิจิตอล’ เพื่อศึกษาการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ของวัยรุ่นและสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิตอล โดยมีจุดมุ่งหมายในการส่งเสริมให้เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานอินเทอร์เน็ต อีกทั้งทักษะการเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพ มีความเห็นอกเห็นใจเคารพผู้อื่นและมีความรับผิดชอบร่วมกันในสังคมออนไลน์ เพื่อที่จะได้ใช้ชีวิตในสังคมออนไลน์และในชีวิตจริงได้อย่างรู้เท่าทันและปลอดภัย
บทวิเคราะห์เปรียบเทียบ ร่าง พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
บทวิเคราะห์เปรียบเทียบ ร่าง พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
นโยบายข้าวไทยร่วมสมัย
งานวิชาการทบทวนเรื่องนโยบายข้าวไทยร่วมสมัย โดยการทำความเข้าใจ โครงสร้างกลไกการสนับสนุนของรัฐ กระบวนการสนับสนุน และผลจากการสนับสนุนของรัฐ ภายใต้แนวคิดเศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยเรื่องข้าว ในช่วงปี 2542-2551 ในสมัย 3 นายรกรัฐมนตรี ได้แก่ ช่วงปลายรัฐบาลชวน-ทักษิณ-สุรยุทธ์ ที่มีกระแสแนวความคิดเสรีนิยมใหม่แผ่ขยายครอบคลุมไปทั่วภูมิภาคนี้ โดยแสดงออกในรูปของการค้าเสรีที่รู้จักกันในชื่อว่า FTA เป็นต้น
กลไกและกติกาการจัดการที่ดินภาคเกษตรกรรมของลาวในบริบทของจินตนาการใหม่
งานวิจัยศึกษาระบบการจัดการที่ดินของประเทศลาว ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจ นับตั้งแต่ปี 1975 ที่ลาวเปลี่ยนจากระบบสังคมนิยม เข้าสู่เศรษฐกิจเสรีเต็มตัวในแนวทางที่เรียกว่า 'นโยบายจินตนาการใหม่' ส่งผลการเปลี่ยนแปลงต่อหนึ่งในทรัพยากรที่สำคัญและมีคุณค่ายิ่งของประเทศ การศึกษานี้จะเข้าไปมุ่งศึกษาในทุกกระบวนการจัดการที่ดินของประเทศลาว ในสถานการณ์อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงนี้
สังคมไทยต้องสูญเสียอะไร หากไม่ปฏิรูปที่ดิน
งานวิจัยศึกษาเรื่องของการจัดการที่ดินกับความเป็นธรรมในสังคม ศึกษากรณีเกษตรกรในพื้นที่ภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย โดยเฉพาะศึกษาระบบแนวคิดและปฏิบัติการการใช้ 'โฉนดที่ดินชุมชน' อันเป็นมาตรการที่ชุมชนร่วมพลังกันนำมาต่อรองและรักษาพื้นที่ของชุมชนเอาไว้จากภาครัฐและนายทุน
การสูญเสียที่ดินของเกษตรกรภายใต้ระบบสินเชื่อของสถาบันการเงิน
ถอดบันทึกการสัมมนาวิชาการเรื่องการสูญเสียที่ดินของชาวนาภายใต้ระบบสินเชื่อของสถาบันการเงิน ท่ามกลางสถานการณ์ที่เกษตรกรไทยกว่า 70% ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง ส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาการนำที่ดินไปกู้แปลงเป็นทุน หลังจากนั้นไม่สามารถใช้หนี้ได้ ทำให้ที่ดินจำนวนมากหลุดจำนองให้กับธนาคารซึ่งกลายเป็นเจ้าของที่ดินรายใหญ่ของประเทศ การสัมมนาครั้งนี้ สะท้อนแนวคิดจากหลากหลายมิติ ทั้งชาวนา ธนาคาร กรมบังคับคดี ตัวแทนชุมชน ฯลฯ นำสู่การแก้ไขปัญหานี้อย่างรอบคอบและเป็นธรรมสำหรับทุกฝ่าย
รายงานวิจัยภาวะหนี้สินกับการสูญเสียที่ดินของเกษตรกรรายย่อย จังหวัด อ่างทอง
ศึกษากรณีการสูญเสียที่ดินของเกษตรกรไทยที่มีที่มาจากปัญหาหนี้นอกระบบ ศึกษาจากกลุ่มเกษตรกร จ.อ่างทอง วัตถุประสงค์ของงานวิจัยเพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายได้มีการสะท้อนและทบทวนปัญหาและทางแก้ไขหนี้นอกระบบกับปัญหาการสูญเสียที่ดิน ซึ่งผลักดันให้เกษตรกรยากจนและกลายเป็นเพียงผู้ใช้แรงงาน ขณะเดียวกันก็เพื่อให้สังคมได้รับรู้ เรียนรู้ และช่วยเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหานี้ร่วมกันอย่างยั่งยืน
รายงานการศึกษา กระบวนการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรกรณีศึกษาสภาเครือข่ายองค์กรเกษตรกรแห่งประเทศไทย
ปัญหาหนี้สินของเกษตรกรไทยเป็นปัญหาที่เรื้อรังมานาน ต้องการแนวทางการแก้ไขที่เป็นกระบวนการที่ยั่งยืน งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งศึกาา "กระบวนการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร กรณีศึกษาสภาเครือข่ายองค์กรเกษตรกรแห่งประเทศไทย" เพื่อเป็นการถอดบทเรียนความสำเร็จตัวอย่างจากเกษตรกรในเครือข่ายที่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ อันจะเป็นองค์ความรู้สำคัญในการต่อยอดเพื่อสร้างกระบวนการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรที่ยั่งยืนต่อไป
รายงานการศึกษา เรื่องการสูญเสียที่ดินของเกษตรกรจากปัญหาหนี้นอกระบบ
สถานการณ์การสูญเสียที่ดินทำกินของเกษตรกรเป็นปัญหาใหญ่มากขึ้นเรื่อย ๆ สาเหตุหนึ่งเกิดจากปัญหาหนี้สินที่รุมเร้าเกษตรกรไทย งานวิจัยชิ้นนี้ของมูลนิธิไทชีวิตไท มุ่งเน้นที่จะหาคำตอบเชิงความสัมพันธ์ระหว่างการเป็นหนี้สินนอกระบบกับปัญหาการสูญเสียที่ดิน นอกจากนี้ยังเป็นการหาสาเหตุที่แท้จริงของการเป็นหนี้ของเกษตรกรพร้อมกับหาหนทางแก้ไขให้ได้ตรงจุดอย่างแท้จริง