Leadership for Transcendence ภาวะการนำเพื่อการข้ามพ้น
หนังสือเล่มนี้ เรียบเรียงมาจากการสรุปสาระสำคัญจากการอบรมเชิงปฏิบัติการภาวะการนำเพื่อการข้ามพ้น (Leadership for Transcendence) ซึ่งออกแบบหลักสูตรโดย คุณวิกรัม ภัฏฏ์ ผู้ร่วมก่อตั้งองค์กรเครือข่าย Leadership that Works ในประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นองค์กรที่มุ่งทำงานด้านการพัฒนาศักยภาพของผู้นำและผู้บริหารในองค์กรต่าง ๆ มุ่งเน้นการให้ผู้นำกลับมาเชื่อมโยงกับปัญญาภายใน เท่าทันเสียงตัดสิน ฝึกฝนการเปิดรับญาณทัศนะ รับฟังเสียงภายในที่นำทางไปสู่เป้าประสงค์แห่งชีวิต ร่วมค้นหาเส้นทางการเรียนรู้และเติบโตใน “ขอบ” หรือพื้นที่ระหว่างความรู้ และไม่รู้
Intrapreneur for Change เพื่อนร่วมทางสร้างการเปลี่ยนแปลง
Intrapreneur for Change 4 เพื่อนร่วมทางสร้างการเปลี่ยนแปลง เป็น E-Magazine ที่เกาะติดชีวิต 4 Intrapreneur ใน 4 พื้นที่ คือ องค์กรขอนแก่นนิวสปิริต จ.ขอนแก่น, สถาบันไทยเบิ้งโคกสลุงเพื่อการพัฒนา จ.ลพบุรี, สมาคมประชาสังคมพังงาแห่งความสุข จ.พังงา และมูลนิธิบ้านครูน้ำ จ.เชียงราย เพื่อถอดบทเรียนการทำงานของ 4 Intrapreneur ที่ร่วมเดินบนเส้นทางการเปลี่ยนแปลงด้วยพลังสร้างสรรค์ เน้นการทำงานกับชาวบ้านและชุมชน พร้อมขับเคลื่อนภาคชุมชน สังคม และธุรกิจเพื่อสังคม สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน มีสุขภาวะที่ดีทั้ง กาย ใจ และปัญญา
Intrapreneur for Change ย่างก้าวการเดินทาง ร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลง
หนังสือ Intrapreneur for Change: ย่างก้าวการเดินทาง ร่วมสร้างความเปลี่ยนแปลง เป็นการถ่ายทอดเรื่องราว ประสบการณ์ และการเรียนรู้ในแง่มุมต่าง ๆ ของ Intrapreneur หรือคนตัวเล็กหัวใจใหญ่ จาก 4 พื้นที่ ได้แก่ จังหวัดลพบุรี เชียงราย ขอนแก่น และพังงา ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ที่มีจิตอาสาและมองเห็นโอกาสในการสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ความรู้และประสบการณ์ของพวกเขาที่ได้ร่วมทำงานกับผู้นำในพื้นที่ครั้งนี้ถูกถ่ายทอดออกมาผ่านวิธีการเขียนเชิงเรื่องเล่า โดยภารกิจการเปลี่ยนแปลงเมืองและชุมชนนั้น ขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการสร้างเสริมด้านสุขภาวะทางปัญญา และก่อให้นวัตกรรมทางสังคม ภายใต้การนำ ‘โครงการผู้นำแห่งอนาคต’ ที่ได้รับกรสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
จิตอาสาที่ยั่งยืน แผนที่ทำดีประเทศไทย
หนังสือ 'จิตอาสาที่ยั่งยืน แผนที่ทำดีประเทศไทย' เป็นหนังสือโดยโครงการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาผู้นำจิตอาสาด้วยศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เนื้อหาภายในเล่ม แบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก ส่วนแรกเป็นเรื่องราวน่ารู้เกี่ยวกับพัฒนาการจิตอาสาทั้งในระดับประเทศและระดับโลก ความเป็นมาของงานอาสาสมัครในประเทศไทย ส่วนที่สอง เป็นตัวอย่างของผู้ที่ทำงานจิตอาสาในหลากหลายรูปแบบ ให้มองเห็นเป็นต้นแบบและแรงบันดาลใจ และส่วนสุดท้ายคือแผนที่ความดี รวบรวมสถานที่ที่เปิดรับอาสาสมัคร โดยแบ่งข้อมูลเป็นภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย มีชื่อองค์กร ประเด็นการทำงานขององค์กร สถานที่ติดต่อ และลักษณะงานอาสาสมัครที่ต้องการ เพื่อเป็นช่องทางให้ผู้ที่สนใจได้สามารถเลือกงานอาสาที่ตรงใจและเหมาะสมกับทักษะที่มีได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
การสื่อสารที่สร้างความเกลียดชัง (Hate Speech)
การสื่อสารที่สร้างความเกลียดชัง (Hate Speech) เป็นอีกหัวข้อหนึ่งที่พลเมืองประชาธิปไตยควรเรียนรู้และทำความเข้าใจ เนื่องจากข้อมูลในโลกไซเบอร์ไม่ได้มีเพียงข่าวสาร ข้อเท็จจริง หรือเนื้อหาที่สร้างความบันเทิงเพียงด้านเดียว แต่ยังมีข้อมูลข่าวสารที่เต็มไปด้วยอคติและความรุนแรง พลเมืองประชาธิปไตยควรรู้เท่าทันสื่อ และเข้าใจผลกระทบการการสื่อสารที่สร้างความเกลียดชังที่มีต่อบุคคลและกลุ่มคนอื่นๆ ในมิติต่างๆ และเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นที่มีความแตกต่างจากตนเองในด้านต่างๆ เช่น แนวคิดทางการเมือง ชนชั้น ศาสนา เพศสภาพ เพื่อบรรลุความเป็นพลเมืองที่มุ่งเน้นความเป็นธรรมในสังคม เป็นผู้ที่เคารพสิทธิและอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมที่หลากหลายได้อย่างรับผิดชอบในฐานะพลเมืองที่ต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น
ความฉลาดทางดิจิทัล (DQ: Digital Intelligence)
ความฉลาดทางดิจิทัล (DQ: Digital Intelligence Quotient) คือ กลุ่มความสามารถทางสังคม อารมณ์ และการรับรู้ ที่จะทำให้คนคนหนึ่งสามารถเผชิญกับความท้าทายของชีวิตดิจิทัล และสามารถปรับตัวให้เข้ากับชีวิตดิจิทัลได้ ความฉลาดทางดิจิทัลครอบคลุมทั้งความรู้ ทักษะ ทัศนคติและค่านิยมที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตในฐานะสมาชิกของโลกออนไลน์ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ทักษะการใช้สื่อและการเข้าสังคมในโลกออนไลน์
การรักษาความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ (Cybersecurity)
โลกดิจิทัลได้เปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คนในยุคปัจจุบันในหลายๆ ด้าน เช่น วิธีการติดต่อกับเพื่อนและคนรู้จัก การทำธุรกรรมทางการเงิน การซื้อขายสินค้า และการรับชมสันทนาการความบันเทิงต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามโลกไซเบอร์ซึ่งรวมถึง อินเทอร์เน็ต เครือค่ายสังคมออนไลน์ โทรศัพท์มือถือ เกมออนไลน์ แอปพลิเคชั่น และอื่นๆ ยังมีภัยคุกคามที่แฝงมากับความสะดวกสบายและความบันเทิงเหล่านี้ด้วย
การกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ (Cyberbullying)
การรู้เท่าทันการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญและใส่ใจไม่ว่าจะเป็น เด็กและเยาวชนที่ควรได้รับการปลูกฝังให้รู้จักป้องกันตัวเอง พ่อแม่และโรงเรียนควรจะเข้าใจในการให้คำปรึกษา และภาคเอกชนผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต สื่อดิจิทัล และสื่อสังคมออนไลน์ ควรจะมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องกฎหมายและระเบียบกติกาการใช้สื่อคอมพิวเตอร์และสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อสามารถจัดการปัญหาเบื้องต้นได้หากพบว่ามีการกระทำดังกล่าวเกิดขึ้น มีรายงานสำรวจหลายชิ้นบ่งบอกว่า ตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา สถิติของการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์มีจำนวนสูงขึ้นเรื่อยๆ
รายงานสุขภาพคนไทย 2562 : สื่อสังคม สื่อสองคม สุขภาวะคนไทยในโลกโซเชียล
รายงานสุขภาพคนไทย 2562 จัดทำโดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเรื่องพิเศษประจำฉบับได้แก่ “สื่อสังคม สื่อสองคม” สุขภาวะของคนไทยในโลกโซเชียล ส่วนอื่น ๆ ได้แก่ ส่วน 12 หมวดตัวชี้วัดสุขภาพประชากรเปราะบาง ประกอบด้วย ประชากรข้ามชาติในไทย, ประชากรไทยในต่างแดน, ผู้ต้องขัง พนักงานบริการทางเพศ และผู้ใช้สารเสพติด, กลุ่มเพศวิถีนอกขนบ, คนจนและผู้มีรายได้น้อย, ครอบครัวเปราะบาง, กลุ่มเปราะบางจากปัญหาสุขภาพจิต, เด็กเปราะบาง, วัยรุ่น, และ ผู้สูงอายุ
ชุดหนังสือคู่มือลดความเหลื่อมล้ำด้วยตนเอง โดย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
เสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทห่างไกล
คู่มือการใช้ชีวิตของแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
มองเห็นปัญหาของการใช้ชีวิตของแรงงานข้ามชาติในเมืองไทย จึงได้จัดทำคู่มือเพื่อเป็นแนวทางในการช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติที่จะใช้ชีวิตในเมืองไทยได้อย่างมีความสุข อาทิเรื่องการแจ้งเหตุเมื่อประสบเหตุร้าย การเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล เป็นต้น
หนังสือ My Right ความฝัน ขาฉัน ไดอารี่ คณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
ไดอารี่เล่มนี้ เขียนขึ้นโดยนักศึกษาภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ และภาคนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ต้องการสะท้อนมุมมอง ความรู้สึกนึกคิดของคนพิการกับการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างเท่าเทียม เข้าถึงสิทธิ กฎหมาย สวัสดิการ และสิ่งต่างๆ ที่ผู้พิการพึงจะได้รับ แม้เรื่องราวจะเป็นตัวละครสมมติ แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นสิ่งที่พบเห็นได้จริงในสังคม ไดอารี่เล่มนี้ จึงเป็นเสียงสะท้อนที่บอกไปยังคนในสังคมได้ตื่นตัวในการเปิดพื้นที่และสิทธิเพื่อดูแลผู้พิการให้ได้รับความเท่าเทียมทางสังคม