Invisible boy (การ์ตูนในเพจเฟสบุ๊ค) โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
การ์ตูนที่ช่วยเปลี่ยนทัศนคติด้านลบของสังคมที่มีต่อเด็กเร่ร่อนให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้น
BLEND PROJECT โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ตัวอย่างการออกแบบบรรจุภัณฑ์ สำหรับงานฝีมือของเด็กเร่ร่อนต่างด้าวเพื่อจำหน่ายหารายได้เป็นทุนการศึกษาแก่พวกเขา
Childred Bridge (ที่นั่งใต้สะพาน) โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
สะท้อนปัญหาเด็กเร่รอนให้สังคมได้เห็น ผ่านมุมมองบ้านที่อยู่อาศัยบนถนนเป็นอย่างไร
แผนที่นำสุข โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
จัดทำแผนที่โดยรอบกรุงเทพ เพื่อให้เด็กเร่ร่อนรู้จักสถานที่ราชการและเข้าไปรับความช่วยเหลือได้
Free Box (รถบูธกล่องเคลื่อนที่รับบริจาค) โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
จำลองโมเดลรถเคลื่อนที่รับบริจาคสิ่งของและเป็นแหล่งหางานให้เด็กเร่รอนเพื่อสร้างการยอมรับให้กับสังคม
SIXX (กระเป๋า) โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
การออกแบบกระเป๋าใส่อุปกรณ์ทำงาน สำหรับผู้ที่ทำงานกับกลุ่มเด็กเร่ร่อน ได้ใช้ประโยชน์สูงสุด
Cyberbullet โดย คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ให้ความรู้เรื่อง cyberbullying หรือการกลั่นแกล้งรังแกกันบนโลกไซเบอร์เพื่อให้ผู้คนรู้เท่าทัน ไม่ตกเป็นเหยื่อ
ครูอยู่ไหน โดย คณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต
สะท้อนให้สังคมเห็นปัญหา “การขาดแคลนครู” ของโรงเรียนในชนบท เป็นอีกปัญหาที่รอการแก้ไข
VIP เด็กเส้น โดย คณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต
เสนอการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา ไม่ให้เกิดการใช้เส้นสาย เงิน ยศ เข้ามาช่วยในเรื่องการศึกษา ให้ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน และส่งผลให้เด็กไทยมีประสิทธิภาพมากขึ้น
Reasons of the Raerons เรื่องนี้มีเหตุผล โดย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โลกของเด็กเร่ร่อน วัยรุ่นที่สังคมมองว่าเป็นเด็กเหลือขอและแหล่งอาชญากรรม มีกำแพงความเข้าใจผิดที่ทำให้ผู้คนไม่อยากจะเข้าใจ ไม่อยากช่วยเหลือ แต่จริงๆ เด็กพวกนี้คิดอะไรกันอยู่ และทำไมพวกเขาจึงใช้ชีวิตแบบนั้น พาผู้ชมไปรู้จักกับโลกของเด็กเร่ร่อนวัยรุ่นว่าเป็นอย่างไร และสังคมควรให้ความช่วยเหลืออะไรกับพวกเขาบ้าง
ลองแชร์ Long Share โดย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยศิลปากร
เนื่องจากการที่ในปัจจุบันยังมีเด็กที่ยังถูกพ่อแม่ตีกรอบชีวิตเอาไว้ว่า โตขึ้นจะต้องเป็นอะไร และระหว่างทางก็บังคับว่าจะต้องเรียนอย่างเดียวนะ ต้องทำแบบนี้เท่านั้นนะ ถึงจะโตมามีชีวิตที่ดีได้ โดยไม่เปิดโอกาสให้ลูกได้ลองคิด และเดินตามความฝันของตัวเอง
D Read โดย คณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
D+Read : การอ่านอย่างมีวิจารณญาณในการเสพสื่อ มาจากการอ่านที่ดี คิดบวก และยังพ้อง เสียงกับคำว่า Delete เพื่อลดการใช้สื่ออย่างขาดวิจารณญาณวัตถุประสงค์ในการสร้างสรรค์ผลงานของนักศึกษา : อยากให้คนรุ่นใหม่ตระหนักถึงความสำคัญของการอ่าน และมีวิจารณญาณในการรับสื่อ ซึ่งจะ เป็นตัวอย่างที่ดีให้คนรุ่นถัดไปในสังคม