จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับที่25 เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2559
ฉบับพิเศษเนื่องในวาระความสูญเสียของคนไทยทั้งชาติ น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เรียนรู้คำพ่อสอน เรื่องเล่าจากราษฎรถึงกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ในดวงใจ ผู้สถิตอยู่ในดวงในราษฎร์ตลอดกาล
จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับที่26 เดือนมกราคม 2560
ฉบับพิเศษเรื่องราวของศิลปินเพื่อพ่อ รวมเรื่องเล่าของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่ยังคงประทับอยู่ในใจของศิลปินต่าง ๆ สานต่อเป็นแรงบันดาลใจเพื่อการสร้างสรรค์งานศิลปะเพื่อสังคมต่อไป
จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับที่27 เดือนกุมภาพันธ์ 2560
เปิดข้อมูลและสถานการณ์โรคอ้วนในเด็กไทย สาเหตุหลักมาจากการรับประทานอาหาร ส่งผลถึงบทบาทของโรงเรียนและผู้ปกครอง ที่จะเป็นกลไกสำคัญทำให้เด็กไทยไม่อ้วน ด้วยการลดอาหารหวานมันเค็ม ปิดท้ายด้วยเรื่องเล่าประทับใจแสงสว่างกลาใจราษฎร์ น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9
จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับที่28 เดือนมีนาคม 2560
รู้จัก 3 โครงการสร้างสรรค์ เปลี่ยนความคิดเล็ก ๆ ให้กลายเป็นพลังเปลี่ยนแปลงสังคมที่ยิ่งใหญ่ ทั้งโครงการอย่าปล่อยให้เด็กอ้วน (ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผักผลไม้) การอบรมเชิงปฏิบัติการแกนนำชุมชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงในโครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคม ระยะที่ 2 และปิดท้ายด้วยพลังจิ๋วแต่แจ๋ว สร้างนักสื่อสารสุขภาวะรุ่นใหม่ภาคใต้ ในโครงการคิดดีไอดอล
จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับที่29 เดือนเมษายน 2560
ทำความรู้จักกับการโครงการประกวดสื่อสร้างสรรค์ 'อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา' ก่อนถึงการประกาศผลการประกวด มาพูดคุยกับ 5 ผู้กำกับ กับตัวอย่าง 5 สื่อรณรงค์ของโครงการ พร้อมเปิดเผยสถิติตัวเลขสำคัญของสถานการณ์เหล้าในสังคมไทย
จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับที่30 เดือนพฤษภาคม 2560
คำว่า Spark U คำนี้มีความหมาย และกำลังจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย ตัวอย่างเช่น การนำศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นมาปลุกใจคนภาคอีสานให้เกิดความสุขที่ยั่งยืน ต่อด้วยการไปรู้จัก พบปะ พูดคุยกับทีมหมอลำหุ่นคณะเด็กเทวดา กว่าจะมาถึงวันนี้ไม่ใช่ง่าย ๆ และผลการประกวดโครงการอย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา
จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับที่31 เดือนมิถุนายน 2560
รู้จักโครงการ Spark U หรือปลุกในเมือง ในท้องถิ่นภาคอีสาน แต่ละจังหวัดรวมพลังกันเปลี่ยนพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้ให้กลายเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ ย้อนวันวานนำศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่นกลับมาสร้างสีสัน พัฒนาสุขภาวะเยาวชนและคนในชุมชนให้เกิดความสุขอย่างยั่งยืน
นิตยสาร 30 Seconds
จดหมายข่าวออนไลน์ฉบับปฐมฤกษ์ สื่อส่งต่อความรู้จากโครงการพัฒนาภาวะผู้นำองค์กรเพื่อสังคม สุขภาวะและนักปฏิบัติการทางสังคม ทั้งให้กับผู้ร่วมโครงการและประชาชนทั่วไป เนื้อหาด้านในจะพาไปพบกับกิจกรรมการเปิดสนามเรียนรู้ของโครงการภาวะผู้นำองค์กรสมัยใหม่ ไปทำความรู้จักโครงการ กระบวนการเรียนรู้ ทั้งจากทีมผู้จัดการโครงการ ผู้เข้าร่วมโครงการ กับความคิดเห็นและสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ
จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับที่ 33 เดือนกันยายน 2560
เรื่องเด่นในจุลสารศิลป์สร้างสุขฉบับนี้ ไปรู้จักโครงการ "ปลุก - แปง (สร้าง) - ปั้น (รู้-ทำ-นำสุข)" Spark U ปลุกในเมือง โดยกลุ่ม "รวมใจคน 3 วัยไทเชียงคาน" ที่มีสมาชิกตั้งแต่วัยเด็ก วัยเยาวชน และผู้ใหญ่ มาร่วมกันแบ่งปันและสานต่อวัฒนธรรมที่รุ่มรวยของเชียงคานให้คงอยู่อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะประเพณีผีขนน้ำที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวเชียงคาน พร้อมเรื่องราวสร้างแรงบันดาลใจเพื่อสุขภาวะที่ดีอีกมากมาย ทั้งโรงเรียนไม่ซ่อนอ้วน และปั่น 3 ดีวิถีสุขที่ จ.พัทลุง ฯลฯ
จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับที่32 เดือนกรกฎาคม สิงหาคม 2560
จุลสารศิลป์สร้างสุขฉบับนี้แนะนำให้รู้จักโครงการ "คิดดี ไอดอล นักสื่อสารสร้างสรรค์สุขภาวะ" ที่เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้ออกมาแสดงความสามารถในการพัฒนาสื่อสร้างสรรค์เพื่อสุขภาวะ โดยครั้งนี้เริ่มต้นด้วยการสร้างนักสื่อสารสร้างสรรค์สุขภาวะในพื้นที่ภาคใต้ ภายใต้ 3 ประเด็นสำคัญคือ 1. เท่าทันสื่อ 2. ปัจจัยเสี่ยง 3. ท้องไม่พร้อม พร้อมเรื่องราวน่าสนใจเรื่องอื่น ๆ คับแน่นคุณภาพเต็มฉบับเหมือนเดิม
นิตยสารดีจัง เล่มที่ 3 ฉบับรู้เท่าทันสื่อ
นิตยสารดีจัง ฉบับ 'เล่นลม ล้อคลื่น กลางสึนามิสื่อ' เปรียบยุคสื่อสารดิจิทัลเป็นสึนามิสื่อที่ถาโถมให้เราต้องต่อสู้ฝ่าฟันเพื่อเอาตัวรอดให้ได้ ฉบับนี้จึงเจาะลึกประเด็นรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศและดิจิทัล (MIDL) การสร้างพลเมืองประชาธิปไตยในยุคดิจิทัล พบกับคนทำงานด้านรู้เท่าทันสื่อที่จะมาสะท้อนแนวคิด มุมมอง การรู้เท่าทันสื่อในยุคปัจจุบัน ข่าวสารการรู้เท่าทันสื่อจากทุกมุมโลก และตัวแทนเยาวชนผู้มีมุมมองรู้เท่าทันสื่อที่เป็นแบบอย่างและน่าสนใจ
นิตยสารดีจัง เล่มที่ 2 ฉบับอยู่ดีกินหอมหวาน
นิตยสารดีจัง ฉบับ 'อยู่ดี กินหอมหวาน' พาผู้อ่านไปร้อยเรียงเรื่องราวผ่าน 'การกิน' ในแง่มุมหลากหลายมิติ ทั้งวิถีชีวิต ชุมชน ศิลปะ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ตลอดจนถึงเทคโนโลยีสื่อสารในยุคปัจจุบัน พลิกมิติมุมมองผ่านอาหารการกินในบางแง่มุมที่เราอาจจะไม่เคยคิดถึงมาก่อน ให้ได้มองเห็นโลกและผู้คนรอบตัวอย่างลุ่มลึกมากยิ่งขึ้น