Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "ทั้งหมด" พบ 63 ข้อมูล

การจัดระบบชุมชน และขบวนการทางสังคม

ยิ่งสังคมมีความเจริญก้าวหน้ามากเท่าไร ช่องว่างและความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยกับคนจนในสังคมยิ่งมีให้เห็นมากขึ้น ผู้คนเคยชินกับการแข่งขันและให้คุณค่ากับวัตถุมากกว่าเรื่องของจิตใจและคุณธรรม ชุมชนเก่าแก่ในประเทศไทยและในหลายประเทศต้องผจญกับการถูกไล่ที่เพื่อการพัฒนาเมือง ทั้งนี้เพราะมีเหตุปัจจัยมาจากระบบเสรีนิยมที่ให้คุณค่ากับการแข่งขันและการค้าอย่างเสรี การจัดระบบชุมชนและขบวนการทางสังคม ไม่เพียงแค่เข้ามาช่วยสร้างความเข้มแข็งให้แก่คนในชุมชนในการต่อสู้เพื่อสิทธิของตนเท่านั้น แต่ยังให้ความรู้และสร้างจิตสำนึกเรื่องความเท่าเทียมแก่กลุ่มคนอื่นๆ ในสังคม ซึ่งถือเป็นการช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคมและปรับสมดุลการครอบครองทรัพยากรในโลกได้จริง

การเปลี่ยนกระบวนทัศน์

ในยุคปัจจุบันมนุษย์เราถูกกลืนเข้าไปในกระแสแนวคิดภาวะทันสมัย เราใช้ชีวิตมุ่งเน้นไปในทางบริโภคนิยมเพื่อหาความสุขและแข่งขันกับเวลาเพราะต้องการความก้าวหน้าและความทันสมัย แต่ความก้าวหน้าและความทันสมัยนี้กลับทำให้เราขาดความอ่อนโยนและยังต้องเบียดเบียนผู้อื่นและธรรมชาติ อีกทั้งยังสร้างวิกฤตปัญหาความเลื่อมล้ำในสังคม สร้างความขัดแย้งและมลภาวะเอาไว้มากมายอย่างไม่มีทางแก้ การใช้ชีวิตในแนวคิดแบบเดิมๆ ไม่สามารถแก้ไขวิกฤตปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างยั่งยืน ทางออกเดียวที่จะยับยั้งวิกฤตเหล่านี้ได้ คือ การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่ให้เข้าใจต้นตอของปัญหาและสร้างสมดุลในการใช้ชีวิตอย่างตระหนักรู้คุณค่าของธรรมชาติที่เรามี ก็จะช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับตัวเราและสังคมได้

การเจริญสติ เพื่อภาวะการนำจากด้านใน

ทุกครั้งสติมักจะมาหลังจากที่เรารู้สึกทุกข์หรือปัญหาได้เกิดไปแล้ว แต่ถ้าเราฝึกเจริญสติเป็นประจำให้รู้เท่าทันอารมณ์และความคิดของเราปัญหาทั้งหลายก็จะลดน้อยลง เพราะตลอดเวลาสิ่งที่เรารับรู้ทางสัมผัสต่างๆ ถูกนำไปปรุงแต่งต่อด้วยความคิดจนเกิดเป็น “ตัวเราของเรา” เกิดอาการเป็นเจ้าเข้าเจ้าของทั้งร่างกายของเราและสิ่งที่เราได้สัมผัส ซึ่งอาการนี้เป็นบ่อเกิดแห่งปัญหาทั้งหลายในชีวิต การเจริญสติพัฒนาเพื่อภาวะนำภายใน ที่มาพร้อมกับแบบฝึกหัดให้เราฝึกฝนด้วยตัวเอง เพื่อสังเกตความคิด จับอากัปกิริยา ความรู้สึกของตัวเรา การฝึกฝนเจริญสติอย่างต่อเนื่องจะช่วยลดการเกิดปัญหาและทำให้เราดำเนินชีวิตอย่างมีสติรู้เท่าทันตัวเองตลอดเวลา

เยียวยาปมชีวิต เพื่ออิสรภาพภายใน

โรคภัยไข้เจ็บของมนุษย์ที่ปรากฏให้เห็นทางกายภาพ ที่จริงแล้ว บางสาเหตุของอาการมีที่มาจากปมที่ฝังลึกในจิตใจ และปมเหล่านี้มาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตที่สร้างความกระทบกระเทือนต่อจิตใจอย่างรุนแรง จนส่งผลให้ร่างกายสร้างปฏิกิริยาตอบโต้ หรือ เกราะป้องกันตัว เมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกับอดีต อาจจะปรากฏให้เห็นในรูปแบบความผิดปกติต่างๆ ทางร่างกาย หรือ รูปแบบนิสัยบางอย่าง แต่กลไกทางสมองของมนุษย์เองก็มีศักยภาพในการเยียวยารักษาตัวเองได้เช่นกัน เพราะกายกับจิตมีความสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียว การเยียวยารักษาปมที่ฝังในจิตใจจึงต้องเริ่มจากการฝึกฝนให้ตัวเองกลับมาอยู่กับปัจจุบันขณะ ละทิ้งความคิดที่สร้างอคติ ยอมรับตัวตนและการช่วยเหลือจากผู้อื่น เพื่อปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระจากความทุกข์และการใช้ชีวิตในรูปแบบเดิมๆ 

เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

หลายๆ คนอาจจะไม่เคยคิดคำนวณจำนวนไฟฟ้าที่เราใช้ในชีวิตประจำวันว่าเราใช้ไปมากน้อยเท่าไร อีกทั้งอาจจะไม่ได้นึกไปไกลถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้ไฟฟ้าของเราในแต่ละวัน ในประเทศไทยเมื่อมีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ทางรัฐก็ต้องสร้างโรงไฟฟ้าใหม่เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งเท่ากับทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากรเพิ่มขึ้นและยังไม่นับผลกระทบอื่นๆ ที่จะตามมาในภายหลัง เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมชุดนี้ มาพร้อมกับเกร็ดความรู้ในเรื่องผลกระทบในการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างสิ้นเปลืองและวิธีการประหยัดพลังงาน ที่เราในฐานะผู้บริโภคสามารถนำไปศึกษาและประยุกต์ใช้งานได้จริง เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ประเทศของเราและช่วยรักษาทรัพยากรธรรมชาติได้อีกทาง

Slow is beautiful วิถีทางเลือกนั้นเป็นไปได้จริง

หลายคนคงจะไม่เคยรู้มาก่อนว่าตัว “สลอธ” ที่เคลื่อนไหวร่างกายได้สุดแสนจะเชื่องช้านั้น ที่จริงแล้ว พวกเขารู้จักการใช้ชีวิตและรู้สำนึกถึงคุณค่าของธรรมชาติมากกว่ามนุษย์อย่างเราๆ เสียอีก ในโลกของมนุษย์ที่ถูกขับเคลื่อนด้วยระบบเสรีนิยมและการแข่งขัน เราใช้ชีวิตกันอย่างรีบเร่งเน้นสร้างปริมาณและให้คุณค่ากับวัตถุมากกว่าจิตใจ เพราะมีกรอบความเชื่อแบบเดิมๆ ตามฝั่งตะวันตกว่า ยิ่งมีมากยิ่งสุขมาก แต่ยิ่งเรามีมากก็เท่ากับเราต้องเบียดเบียนธรรมชาติและเพื่อนมนุษย์ด้วยกันมากขึ้น ถ้าหากเราลองเปลี่ยนกรอบความคิดเดิมให้กลับมาใช้วิถีชีวิตแบบตะวันออก ที่ใช้ชีวิตให้ช้าลง ใจเย็นลง เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติมากขึ้น เราจะค้นพบว่า เราได้สร้างการเบียดเบียนชีวิตอื่นน้อยลง เรามีความสุขง่ายขึ้นและมองเห็นคุณค่าของสิ่งเล็กๆ ได้ง่ายมากขึ้น

คู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างพลเมืองรู้เท่าทันสื่อสำหรับระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

คู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างพลเมืองรู้เท่าทันสื่อสำหรับระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เนื้อหาบรรจุทั้งแนวคิดเบื้องต้น 8 กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะพลเมืองเท่าทันสื่ออย่างรอบด้าน ทั้งการเข้าใจตนเอง การรู้เท่าทันอารมณ์​ การเคารพสิทธิ์ผู้อื่น การคำนึงถึงความเสี่ยงและความปลอดภัยในโลกออนไลน์ ฯลฯ ปิดท้ายด้วยแบบวัดประเมินทั้งความรู้และทักษะการรู้เท่าทันสื่อ คู่มือนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อเรียนรู้ในครอบครัวและกิจกรรมต่างๆ นอกห้องเรียนสำหรับเด็กในกลุ่มวัยเดียวกัน

โครงการอบรมสมุดเบาใจ สำหรับโรงเรียนผู้สูงอายุ

โครงการอบรมสมุดเบาใจสำหรับโรงเรียนผู้สูงอายุ เป็นกระบวนการกิจกรรมเตรียมความพร้อมและส่งเสริมสุขภาพรูปแบบในเชิงป้องกันก่อนที่จะถึงเวลาวิกฤตสุดท้ายของชีวิต เพื่อให้ผู้ที่สมัครได้รับการเกื้อกูลให้ได้มีโอกาสในการสนทนาเรื่องชีวิตและความตาย เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจในการเตรียมความพร้อมสำหรับการทำ Advance care plan หรือ Living will โดยใช้สมุดเบาใจเป็นเครื่องมือและผู้สูงอายุนำความรู้ที่ได้นั้น กลับไปพูดคุยกับครอบครัว เพื่อสร้างสัมพันธภาพทัศนศติที่ดีต่อการเตรียมพร้อมสำหรับความตายและการดูแลตนเองและครอบครัวในระยะท้ายของชีวิต

โครงการอบรมศิลปะนิทานภาพ ชีวิตและความตาย

โครงการอบรมศิลปะนิทานภาพชีวิตและความตาย เป็นกิจกรรมภายใต้แนวคิดชุมชนกรุณา โดยมีจุดประสงค์ในการจัดกิจกรรมสำหรับคนในครอบครัวให้ได้สื่อสารกัน เพื่อเข้าใจทัศนคติต่อชีวิตและความตาย อีกทั้งได้ใช้เวลาคุณภาพร่วมกัน มีความสัมพันธ์ที่ดีและนำไปสู่การดูแลซึ่งกันและกันได้เป็นอย่างดีในช่วงท้ายของชีวิต ด้วยวิธีการที่สร้างสรรค์ เช่น การแต่งนิทาน วาดภาพสีน้ำ และการพูดคุยถึงเรื่องราวชีวิตและความตายผ่านตัวละครในนิทาน

คู่มือหลักสูตรการบริบาลผู้ป่วยระยะท้าย

การที่บุคคลจะเข้าถึงการอยู่ดีและตายดีนั้น แม้จะเป็นเรื่องเฉพาะตน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า การดูแลวาระสุดท้ายของชีวิตเป็นเรื่องที่สำคัญมากและจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับทั้งคนในครอบครัว แพทย์ พยาบาล เภสัชกร รวมถึงผู้ที่รับจ้างดูแล คู่มือหลักสูตรการบริบาลผู้ป่วยระยะท้ายสำหรับผู้ดูแลและนักบริบาลชุดนี้ จึงมีวัตถุประสงค์ที่ต้องการเผยแพร่แนวทางในการช่วยเหลือผู้ป่วยระยะท้ายให้มีคุณภาพที่ดีและจากไปด้วยดี รวมถึงช่วยให้ครอบครัวเข้าใจยอมรับความพลัดพรากสูญเสียที่เกิดขึ้นได้

แนวคิดชุมชนกรุณา หลักสูตรและเอกสารประกอบการอบรม

การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและจากไปอย่างสงบ เราไม่อาจฝากภาระการดูแลที่สำคัญเช่นนี้ไว้เฉพาะแต่เพียงบุคลากรสุขภาพเท่านั้น การดูแลชีวิตช่วงท้ายเป็นหน้าที่ของทุกคนที่ควรยื่นมือเข้าช่วยเหลือตามศักยภาพและความถนัด ไม่ว่าเขาเหล่านั้นจะเป็นสมาชิกในครอบครัว ญาติมิตร หรือกลุ่มสัมคมต่างๆ หลักสูตรอบรมชุมชนกรุณาเล่มนี้ มีเนื้อหาในการสร้างสรรค์ชุมชนกรุณา เริ่มจากความหมายของความกรุณา เพื่อสร้างการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นกับคนในชุมชน

คู่มือแนวทางปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์ 2563

แม้ว่ายุคปัจจุบันเยาวชนไทยเติบโตขึ้นมากับการใช้อินเทอร์เน็ตและมีอิสระในการเข้าถึงสื่อออนไลน์ค่อนข้างมาก อีกทั้งสื่อออนไลน์ยังเป็นตัวกลางในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลและด้วยความคุ้นชินกับการเข้าถึงสื่อออนไลน์ได้อย่างอิสระนี้ อาจทำให้หลงลืมเรื่องภัยที่มากับโลกออนไลน์ คู่มือแนวทางปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์ชุดนี้ มีเนื้อหาข้อมูลที่เกี่ยวกับแนวทางป้องกันภัยออนไลน์ในรูปแบบต่างๆและผลสำรวจพฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตของเยาวชนไทย ที่สุ่มเสี่ยงที่จะตกเป็นเหยื่อภัยออนไลน์ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติ สำรวจป้องกันและช่วยเหลือเด็กจากภัยออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด 

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.