ศรีสะเกษติดยิ้ม ปี3 ตอน เรื่องกินเรื่องใหญ่
คลิปวิดีโอประมวลภาพ สรุปเรื่องราวของงานโครงการศรีสะเกษติดยิ้ม ปี 3 ตอนเรื่องกินเรื่องใหญ่ ถอดบทเรียนศรีสะเกษติดยิ้ม 3 ปี ขยายผลสู่ 8 จังหวัดเครือข่ายอีสานตุ้มโฮมในปี 2560 นอกจากจะเห็นบรรยากาศงานแล้ว ในคลิปยังมีบทสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องในโครงการตั้งแต่ผู้ดูแลไปจนถึงเด็ก ๆ เยาวชนที่เป็นหัวใจหลักของโครงการ ที่มาช่วยกันสร้างสรรค์หยิบเรื่องกินให้กลายเป็นมาสื่อสร้างสรรค์ส่งต่อเรื่องดี ๆ ในชุมชน
สปอตโปรโมท ขบวนการเรื่องกินเรื่องใหญ่
สปอตโปรโมทขบวนการเรื่องกินเรื่องใหญ่ ชวนไปดูเด็ก ๆ จาก 7 พื้นที่ที่ลุกขึ้นมาสืบค้นอาหารท้องถิ่นของตนเอง เพื่อนำมาเรียนรู้วัฒนธรรม เข้าใจความต่าง ๆ สื่อสารความมั่นคงของอาหารที่สอดคล้องไปกับทั้งเรื่องเท่าทันสื่อและสิทธิมนุษยชน ดังนั้น สำหรับเด็ก ๆ แล้ว เรื่องกินไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ อีกต่อไป
ขบวนการเรื่องกินเรื่องใหญ่ ตอน ข้าวโป่ง จังหวัด ยโสธร
เด็ก ๆ กลุ่มอีสานตุ้มโฮม จ.ยโสธร จะพาเราไปรู้จักกับ 'ข้าวโป่ง' หรือข้าวเกรียบซึ่งเป็นอาหารพื้นถิ่นของคนอีสาน เพราะคนอีสานมีอาชีพหลักคือการปลูกข้าว ในทุกฤดูหนาวข้าวจะถูกนำมาแปรรูปเป็น 'ข้าวโป่ง' แล้วเก็บไว้รับประทานได้ตลอดทั้งปี ข้าวโป่งยังทำให้ชาวบ้านมีรายได้เสริม เด็ก ๆ ได้ทานอาหารอร่อย ปลอดภัย มีประโยชน์ต่อสุขภาพด้วย
ขบวนการเรื่องกินเรื่องใหญ่ ตอน แกงส้มดอกแคปลาดุก จังหวัด แม่ฮ่องสอน
เมนู 'แกงส้มดอกแคปลาดุก' แสนอร่อย ฝีมือน้อง ๆ เยาวชนที่โรงเรียนบ้านแม่เงา อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน เด็กและเยาวชนที่นั่นเรียนรู้ต่อยอดโครงการอาหารปลอดภัยในโรงเรียน จนกลายเป็นแหล่งเรียนรู้และศูนย์รวมอาหารปลอดภัยให้กับเด็ก ๆ นอกจากนี้ยังเกิดการสืบค้นเมนูท้องถิ่น เรียนรู้วิธีการทำอาหารพื้นบ้านตามฤดูกาลที่ดีต่อสุขภาพ เด็ก ๆ สามารถพึ่งพาตนเองได้ มีชีวิตพอเพียง
ขบวนการเรื่องกินเรื่องใหญ่ ตอน ไข่เจียว จังหวัด กรุงเทพ
วิถีชีวิตชุมชนเมือง แม้จะมีเวลาน้อย แต่ก็สามารถทำอาหารทานเองได้ ตัวอย่างเมนูง่าย ๆ แสนอร่อยและสนุกของเด็ก ๆ กลุ่มเยาวชนรองเมืองเรืองยิ้มก็คือ 'ไข่เจียวทรงเครื่อง' การทำไข่เจียวของเด็ก ๆ มากไปกว่ารสชาติอร่อยคือบรรยากาศของมิตรภาพ การได้พูดคุยกันระหว่างผู้ใหญ่กับเด็ก ได้พัฒนาทักษะ ฝึกการช่วยเหลือตัวเอง ทำให้เด็ก ๆ รู้สึกภาคภูมิใจในตัวเองอีกด้วย
ขบวนการเรื่องกินเรื่องใหญ่ ตอน ซุปไก่ จังหวัด นราธิวาส
น้อง ๆ กลุ่มธนาคารใจอาสา 3 จังหวัดชายแดนใต้ จะพาเราไปทำความรู้จักและเข้าใจวิถีชีวิตของชาวมุสลิมผ่านวัฒนธรรมการกินอาหาร 'ฮาลาล' และเมนู 'ซุปไก่' ที่เป็นเมนูคู่กับวัฒนธรรมที่ยาวนานของชาวมุสลิม
ขบวนการเรื่องกินเรื่องใหญ่ ตอน โมฮิงกาโต๊ะ แม่สอด จังหวัด ตาก
ไปรู้จัก 'โมฮิงกาโต๊ะ' หรือยำขนมจีนแท้ ๆ แสนอร่อย อาหารประจำครอบครัวจากประเทศพม่า โดยเด็กเยาวชนกลุ่ม Rays of youth อ.แม่สอด ใช้กระบวนการเรียนรู้อาหารพื้นถิ่นในชุมชนแรงงานเพื่อสร้างความเข้าใจและอยู่ร่วมกันของกลุ่มคนไทยและพม่าในพื้นที่ อ.แม่สอด จ.ตาก
ขบวนการเรื่องกินเรื่องใหญ่ ตอน บะหมี่เกี๊ยวทุ่งเทิน จังหวัด ศรีสะเกษ
ในอดีตเด็ก ๆ หลายคนที่โรงเรียนบ้านเทิน อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ รู้สึกอายที่จะบอกอาชีพของพ่อแม่ซึ่งเป็นคนขายบะหมี่เกี๊ยวในเมืองใหญ่ แต่พอคุณครูพาเด็ก ๆ ลงไปเรียนรู้วิธีการทำบะหมี่เกี๊ยว ให้คุณพ่อคุณแม่ได้เข้ามาสอนเด็ก ๆ ทำบะหมี่เกี๊ยว ทำให้เด็ก ๆ เปลี่ยนทัศนคติ เกิดความภาคภูมิใจและเห็นคุณค่าในการทำบะหมี่เกี๊ยวที่เชี่ยวชาญของพ่อแม่ เกิดการขยายต่อความรู้เป็นหลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่นในโรงเรียน ทำให้เด็ก ๆ มีรายได้เสริมจากการทำ 'บะหมี่เกี๊ยวทุ่งเทิน' แสนอร่อยอีกด้วย
ขบวนการเรื่องกินเรื่องใหญ่ ตอน ลาบหมู จังหวัดเชียงใหม่
เรียนรู้และเข้าใจความต่าง เห็นคุณค่าวัฒนธรรมผ่านอาหารประจำถิ่น สำหรับคลิปนี้เป็นผลงานของกลุ่มเด็กเยาวชนแดข่องนี้ดีแต้ จ.เชียงใหม่ เด็ก ๆ จะมาสาธิตวิธีทำลาบหมูอาข่า ซึ่งเป็นอาหารประจำถิ่น อุดมด้วยสมุนไพร อร่อย และยังได้ประโยชน์ต่อสุขภาพ ทำให้เด็ก ๆ ได้ภูมิใจในวัฒนธรรมของตนเอง รวมถึงการเรียนรู้วิถีความยั่งยืนของอาหารอีกด้วย
ละครเด็กคลิตี้ 13 ปี ชีวิต สายน้ำ ความหวัง
การแสดงนิทานเพลงจากเด็กและเยาชนของหมู่บ้านคลิตี้ ชุมชนชาวกระเหรี่ยง ที่ จ.กาญจนบุรี สะท้อนภาพชีวิตที่ผูกพันกับสายน้ำและผืนป่า จนกระทั่งโรงแต่งเหมืองแร่เข้ามาทำธุรกิจที่ชุมชน ชีวิตและสิ่งแวดล้อมของที่นี้จึงถูกทำลายด้วยสารตะกั่ว การเล่าเรื่องด้วยเสียงเพลงท่วงทำนองที่ไร้เดียงสา รอยยิ้ม และแววตาที่ใสซื่อบริสุทธิ์พวกเด็กๆ เหล่านี้ มุ่งหวังให้เป็นนิทานสอนใจ ขอให้หมู่บ้านคลิตี้ล่างนี้เป็นบทเรียนสุดท้าย เพื่อไม่ให้ชุมชนอื่นๆ ได้รับผลกระทบแบบชุมชนของตนเอง
13 ปี คลิตี้ ชีวิต สายน้ำ ความหวัง
13 ปี เส้นทางการต่อสู้ของชาวกระเหรี่ยงในหมู่บ้านคลิตี้ล่าง อ.ศรีสวัสดิ์ และ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี นับตั้งแต่ปี 2510 ที่ธุรกิจเหมืองแร่ได้คร่าชีวิตและสิ่งแวดล้อมของชุมชน ด้วยการปล่อยน้ำเสียที่มีสารตะกั่วลงสู่แหล่งน้ำดื่มน้ำใช้ของชุมชน ชาวบ้านต้องเผชิญปัญหานี้โดยลำพัง จนในปี 2541 จึงลุกขึ้นมาต่อสู้เรียกร้องสิทธิ์ความเป็นธรรม กระทั่งปี 2554 ธุรกิจเหมืองแร่นั้นเลิกกิจการไปแล้ว แต่สารตะกั่วยังอยู่สร้างผลกระทบต่อสุขภาพของเด็ก คนในชุมชนและสิ่งแวดล้อม คนนอกพื้นที่อาจจะคิดว่าการเรียกร้องของชาวบ้านหมู่บ้านคลิตี้ล่าง ได้รับการเยียวยาด้วยเงินชดเชยแล้ว แท้จริงพวกเขายังคงเดินต่อสู้ต่อด้วยวิถีของการสร้างงานศิลปะ บอกเล่าผ่านการใช้พื้นที่ งานศิลปะ และสื่อสร้างสรรค์ เพื่อให้คนตัวใหญ่ในสังคมได้หันมามองคนตัวเล็ก ๆ แห่งนี้บ้าง