สำหรับผู้บกพร่องการมองเห็น
สำหรับบุคคลทั่วไป สมัครเพื่อดาวน์โหลดไฟล์สื่อต่างๆ ภายในเว็บไซต์
ค้นหา
สุขภาพที่ดีของลูกน้อยเริ่มต้นที่ “นมแม่” ใน 6 เดือนแรกของลูกน้อย คุณแม่ควรให้ลูกดื่มนมแม่อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างเสริมการเจริญเติบโตของสมอง ทำให้ลูกได้สารอาหารที่มีประโยชน์ มีภูมิต้านทาน ช่วยลดความเสี่ยงการเสียชีวิตในทารกแรกเกิด นอกจากนี้คุณแม่ที่ให้นมลูกยังลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเต้านม และมะเร็งรังไข่ได้อีกด้วย
คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถออกกำลังกายได้ การออกกำลังกายส่งผลดีทั้งต่อคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ ช่วยทำให้คุณแม่คลอดง่าย เด็กได้รับสารอาหารมากขึ้น เพราะหลอดเลือดของแม่ทำงานได้ดี อายุครรภ์ที่เหมาะสมกับการออกกำลังกาย เริ่มตั้งแต่ 4 เดือน ออกกำลังกายได้วันละ 30 – 40 นาที สัปดาห์ละ 3 – 4 วัน สิ่งที่ควรระมัดระวังคือ อย่าหักโหมออกกำลังกายมากจนเกินไป
จากการสำรวจเด็กนักเรียนไทยทั่วประเทศกว่า 6 ล้านคน พบว่าเป็นเด็กเตี้ย กว่า 2 แสนคน เป็นเด็กอ้วนกว่า 1 แสนคน และเป็นเด็กผอมกว่า 9 หมื่นคน ซึ่งเป็นผลจากการขาดสารอาหารหรือบริโภคแคลเซียมต่ำ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสติปัญญา การเรียนรู้ช้า ภูมิต้านทานต่ำและติดเชื้อได้ง่าย ดังนั้นเด็ก ๆ ควรเสริมสร้างโภชนาการ บริโภคแคลเซียมให้พอเหมาะตามช่วงอายุ โดยอาหารที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ นมจืด โยเกิร์ต ปลาตัวเล็ก และผักคะน้า
หน้าโรงเรียนมักมีอาหารและขนมล่อใจเด็ก ๆ ลิ้มลองมากมาย ทั้งน้ำหวาน น้ำอัดลม อาหารปิ้งย่างปนเปื้อนสารก่อมะเร็ง อาหารทอดที่มีไขมันสูง ซึ่งถ้าเด็กบริโภคเป็นประจำอาจก่อให้เกิดโรคต่างๆ มากมาย ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรเตรียมอาหารว่างที่พกพาสะดวกให้ลูก ๆ ไปทานที่โรงเรียน อาทิ ผลไม้ แซนด์วิช และนมกล่อง
นักเรียนไทยจำนวนมากแบกกระเป๋าหนักเกินมาตรฐาน เฉลี่ย 6 กิโลกรัมต่อคน โดยแท้จริงน้ำหนักกระเป๋าที่เหมาะสมกับเด็กต้องไม่เกิน 10 % ของน้ำหนักตัวเด็ก มิเช่นนั้นจะส่งผลกระทบทำให้เด็กมีพัฒนาการด้านความสูง โครงสร้างกระดูกมีปัญหา และเดินทางไม่ปลอดภัย ส่วนวิธีการลดน้ำหนักกระเป๋านักเรียน เริ่มจากคุณครูต้องจัดตารางเรียน และหลักสูตรที่เหมาะสม เพื่อเด็กจะได้จัดกระเป๋าให้สอดคล้องกับตารางสอนทุกวัน รวมทั้งต้องมีระบบการจัดเก็บหนังสือและอุปกรณ์การเรียนไว้ที่โรงเรียน
ปัจจุบันน้ำตาลในซองสำเร็จรูปมีหลายขนาด ให้เลือกใช้ขนาดน้อยที่สุดเพียง 4 กรัม ซึ่งเท่ากับ 1 ช้อนชา เพราะปริมาณน้ำตาลที่เหมาะสมต่อวันของคนเรานั้น ถ้าเป็นเด็กไม่เกิน 4 ช้อนชา ผู้ใหญ่ไม่เกิน 6 ช้อนชา หากบริโภคน้ำตาลเกินจะมีโรคต่างๆ ตามมา ทั้งโรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด
เด็กในวัยเรียนคือเด็กอายุระหว่าง 6-12 ปี วัยนี้จะมีพัฒนาการทั้งทางร่างกาย จิตใจ และการเรียนรู้ที่เยี่ยมยอด คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลเรื่องโภชนาการของลูกอย่างใกล้ชิด เลือกอาหารที่จำเป็นต่อพัฒนาการของลูกอย่างดีที่สุดต่อหนึ่งวัน และควรหลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง รสจัด สุก ๆ ดิบ ๆ น้ำอัดลม ชา กาแฟ และขนมหวานต่างๆ
เด็กไทยในวันนี้จะไม่เป็นผู้ใหญ่อ้วนในวันหน้า ถ้าพ่อแม่ปลูกฝังให้ลูกกินอาหารที่มีประโยชน์ โรงเรียนกวดขัน ดูแล และควบคุมร้านค้าที่ขายอาหารและขนมภายในโรงเรียน ไม่ให้มีขนมกรุบกรอบ น้ำหวาน ไอศกรีม และขนมไร้ประโยชน์ต่างๆ และที่สำคัญคือเด็ก ๆ ต้องมีความรู้เรื่องสุขภาพ ดูแลตัวเอง รู้จักเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
อุจจาระของคนเรา สามารถบอกถึงสุขภาพภายในได้ คนที่ถ่ายอุจจาระมีลักษณะลอยน้ำ แสดงว่าทานผัก ผลไม้ และอาหารที่มีกากใยเยอะ ส่วนคนที่อุจจาระจม แสดงว่าทานเนื้อสัตว์มากไป และสีของอุจจาระยังบ่งบอกภาวะเสี่ยงของโรคได้เช่น หากมีสีดำและสีแดง แสดงว่าระบบทางเดินอาหารกำลังมีปัญหา ดังนั้นการสังเกตอุจจาระตนเอง ก็จะช่วยตรวจเช็คสุขภาพได้ในระดับหนึ่งด้วย
ประเทศไทยเป็นเมืองร้อน บางครั้งเวลากระหายน้ำ เราจึงมักหาซื้อน้ำหวานมาดื่ม เพราะสะดวกและดับกระหาย โดยองค์กรอนามัยโลก (WHO) ชี้ว่าคนเราไม่ควรบบริโภคน้ำตาลเกินวันละ 6 ช้อนชา แต่น้ำหวานที่เราดื่มกัน มีน้ำตาลมากกว่า 10 ช้อนชาขึ้นไปแล้ว จึงเป็นปัญหาระดับชาติว่า น้ำหวานทำให้คนไทยเป็นโรคอ้วนกว่า 44 % และมีภาวะเสี่ยงเกิดเป็นโรคเบาหวานและหัวใจตามมา
ปัจจุบันคนเรามักใช้ชีวิตติดเทคโนโลยีกันมากขึ้น จนมองข้ามภัยที่แฝงมากับความสะดวกสบายเหล่านั้น การคุยโทรศัพท์นาน จะส่งผลต่อประสาทหูเสีย การดูโทรทัศน์ และเล่นเกมคอมพิวเตอร์ก็ทำให้ม่านตาถูกทำลาย สมองไม่พัฒนา และมีความอดทนน้อยลง การอยู่ในห้องแอร์นาน ๆ ก็ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ...เพราะฉะนั้นเราจึงควรหากิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อสุขภาพกันบ้าง
สำหรับเด็ก ๆ โดยเฉพาะเด็กที่ยังอ่านไม่ได้ การอ่านให้ฟังเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยผูกใจให้เด็ก ๆ มีความสุขและเกิดทัศนคติที่ดีกับหนังสือและการอ่าน ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ คุณครู และผู้ใหญ่ที่ดูแลเด็ก ๆ ควรจะให้ความสำคัญและเรียนรู้เทคนิคดี ๆ ที่จะอ่านหนังสือให้เด็ก ๆ ฟัง อินโฟกราฟิกนี้รวบรวมเทคนิคง่าย ๆ ในการอ่านหนังสือให้เด็กฟัง เพื่อให้ผู้ใหญ่ได้นำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างง่ายดาย
กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วนเพื่อรับข้อมูลข่าวสาร