Filter
ประเภทสื่อ
ประเภทสื่อ "ทั้งหมด" พบ 2086 ข้อมูล

ลงทะเบียนเรียนฟรี การคุ้มครองจากภัยออนไลน์

“การคุ้มครองจากภัยออนไลน์” เนื้อหาหลักสูตรออนไลน์ระยะสั้น  เรียนรู้วิธีป้องกันตนเองจากไซเบอร์บูลลี่และรู้จักวิธีการดูแลช่วยเหลือตนเองและผู้อื่น  รู้เท่าทันกลโกงออนไลน์ วิธีการรับมือและปกป้องสิทธิเมื่อสั่งซื้อของแล้วได้รับของไม่ครบ ไม่ตรงปก รู้จักวิธีป้องกันตนเองและรับมือกับการละเมิด การคุกคาม และการแสวงหาประโยชน์ทางเพศ   จุฬาฯ และ สสส. ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าเรียนรู้พัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ทักษะสุขภาวะ ในหลักสูตรออนไลน์ระยะสั้น  CUVIP series เท่าทันสื่อ ก้าวทันโลก   หมวดเนื้อหา “การคุ้มครองจากภัยออนไลน์”   เลือกเรียนได้ตามความสนใจใน 3 หัวข้อ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย 29 มิถุนายน  2565 หัวข้อ รับมือการคุกคามทางเพศออนไลน์ 12 กรกฎาคม 2565 หัวข้อ ทำอย่างไรเมื่อซื้อของออนไลน์ ไม่ตรงปก 20 กรกฎาคม 2565 หัวข้อ เอาตัวรอดเมื่อถูกกลั่นแกล้งระรานทางไซเบอร์ (Cyberbullying)  ทุกหัวข้อใช้เวลาเรียน 2 ชั่วโมง ช่วง 16:30-18:30 น.  ด้วยรูปแบบการเรียนออน์ไลน์ผ่าน Zoom Appication รับเกียรติบัตรหลังผ่านการประเมินการเรียนรู้แต่ละหัวข้อ   ออกแบบหลักสูตรและวิทยากรสอน โดย มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย ดร.ศรีดา ตันทะอธิพานิช,  คุณณัชวลัย สุวรรณฑัต และ คุณสุพิชฌาย์ ชัยธัมมะปกรณ์   รับจำนวนจำกัด !!!  สมัครเข้าร่วม CUVIP และลงทะเบียนเรียนเลยตอนนี้ เพียง 4 ขั้นตอน ลงทะเบียนเป็นผู้ใช้งานใหม่ ที่  http://www.cuvip.gened.chula.ac.th/Member-Public.php ติดตามประกาศตารางวันเวลาเรียน และวันลงทะเบียนเข้าร่วมในหัวข้อที่สนใจ ที่ Facebook : CUVIP Project ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม CUVIP ที่ เว็บไซต์  http://www.cuvip.gened.chula.ac.th/Timetable.php ก่อนวันเรียน 2-3 วัน สามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ได้เข้าร่วมกิจกรรม CUVIP ที่ Facebook : CUVIP Project หรือ โทรศัพท์ 0 2218 3920   ทำความรู้จักภาพรวมหลักสูตร CUVIP series เท่าทันสื่อ ก้าวทันโลก ได้ที่  https://online.fliphtml5.com/mqfzw/vpuj/

ลงทะเบียนเรียนฟรี การรับมือกับข้อมูลข่าวสาร

ลงทะเบียนเรียนฟรี!!! “การรับมือกับข้อมูลข่าวสาร” เนื้อหาหลักสูตรออนไลน์ระยะสั้น  ที่พาผู้เรียนทำความเข้าใจแนวคิดเรื่องข้อมูลข่าวสารที่ทำให้เข้าใจผิด บิดเบือน ฝึกฝนการตรวจสอบข้อเท็จจริง (FACT-CHECKING) ในข่าวลวง ข่าวปลอม และข้อมูลเท็จ ติดตั้งแนวคิดเรื่องความเป็นพลเมืองดิจิทัลรับมือโรคระบาดข้อมูลข่าวสาร และสร้างทักษะประสบการณ์ในการหาความจริงร่วม   จุฬาฯ และ สสส. ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าเรียนรู้พัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ทักษะสุขภาวะ ในหลักสูตรออนไลน์ระยะสั้น  CUVIP series เท่าทันสื่อ ก้าวทันโลก   หมวดเนื้อหา “การรับมือกับข้อมูลข่าวสาร”   เลือกเรียนได้ตามความสนใจใน 3 หัวข้อ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย 20 มิถุนายน 2565 หัวข้อ พื้นฐานการตรวจสอบข้อเท็จจริง (Fact-Checking 101) 7 กรกฎาคม 2565 หัวข้อ เครื่องมือและเคล็ดลับ สำหรับนักตรวจสอบข้อเท็จจริง ออกแบบหลักสูตรและวิทยากรสอน โดย คุณพีรพล อนุตรโสตถิ์  ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท   8 กรกฎาคม 2565 หัวข้อ พลเมืองดิจิทัลกับการรับมือข้อมูลข่าวสาร(นวัตกรรมโคแฟค) ออกแบบหลักสูตรและวิทยากรสอน โดย คุณสุภิญญา กลางณรงค์  ผู้ร่วมก่อตั้งโคแฟค (ประเทศไทย)   ทุกหัวข้อใช้เวลาเรียน 2 ชั่วโมง ช่วง 16:30-18:30 น.  ด้วยรูปแบบการเรียนออน์ไลน์ผ่าน Zoom Appication รับเกียรติบัตรหลังผ่านการประเมินการเรียนรู้แต่ละหัวข้อ   รับจำนวนจำกัด !!!  สมัครเข้าร่วม CUVIP และลงทะเบียนเรียนเลยตอนนี้ เพียง 4 ขั้นตอน ลงทะเบียนเป็นผู้ใช้งานใหม่ ที่  http://www.cuvip.gened.chula.ac.th/Member-Public.php ติดตามประกาศตารางวันเวลาเรียน และวันลงทะเบียนเข้าร่วมในหัวข้อที่สนใจ ที่ Facebook : CUVIP Project ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม CUVIP ที่ เว็บไซต์  http://www.cuvip.gened.chula.ac.th/Timetable.php ก่อนวันเรียน 2-3 วัน สามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ได้เข้าร่วมกิจกรรม CUVIP ที่ Facebook : CUVIP Project หรือ โทรศัพท์ 0 2218 3920   ทำความรู้จักภาพรวมหลักสูตร CUVIP series เท่าทันสื่อ ก้าวทันโลก ได้ที่  https://online.fliphtml5.com/mqfzw/vpuj/

สุขภาพคนไทย 2565

รายงานสุขภาพคนไทยปี 2565 ในวิกฤตโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมสุขภาพกาย สุขภาพจิต การศึกษา ชีวิตการทำงาน เศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้ำในสังคมชุมชนและครอบครัวในแง่มุมต่างๆ ที่อาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนไทยในระยะสั้นและระยะยาว นอกเหนือจากรายงานผลกระทบที่เกิดขึ้นจากวิกฤตโควิด-19 แล้วก็ยังมีอีก 10 สถานการณ์เด่นที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตสุขภาพกายของคนไทยที่เป็นทั้งเรื่องใหม่และที่ยังรอการแก้ไข เช่น การปลดล็อกกัญชา กัญชงและพืชกระท่อม การโฆษณาอาหารเสริมเกินจริง โรงงานหมิงตี้ระเบิดบทเรียนภัยพิบัติจากโรงงานสารเคมี ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากและการปรับตัว อนาคตเกษตรไทยกับเกษตรอัจฉริยะ ไทยกับ RECP และ CPTPP ข้อดีและสิ่งที่ต้องระวังและสุดท้ายเรื่องการเมืองบนท้องถนนกับทางออก ซึ่งรายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้นต่อไป

หลักสูตรและคู่มือการฝึกอบรมการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาและจิตวิญญาณในสถานที่ทำงาน

สุขภาวะทางปัญญาหรือการมีจิตวิญญาณในสถานที่ทำงาน คือ ตัวช่วยสำคัญที่มีอิทธิพลในการพัฒนาปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานภายในองค์การหรือการพัฒนาตัวบุคลากรในสถานที่ทำงาน ซึ่งปัจจัยสำคัญที่จะส่งเสริมการทำงานก็คือ ความฉลาดทางอารมณ์ ความคิดสร้างสรรค์ ความสัมพันธ์ทางบวก การเห็นคุณค่าในตนเองและภาวะผู้นำ โดยปัจจัยเหล่านี้จะส่งเสริมหรือส่งผลกระทบต่อการทำงานในองค์รวม องค์การที่สนับสนุนสุขภาวะทางปัญญาและจิตวิญญาณในสถานที่ทำงานจะเป็นองค์การที่ตระหนักรู้ว่าผู้คนไม่ใช่เครื่องจักร แต่เป็นมนุษย์ที่แสวงหาความหมายและเป้าหมายในการทำงาน รวมถึงความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งในองค์การ หลักสูตรและคู่มือการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาและจิตวิญญาณในสถานที่ทำงาน จัดทำขึ้นสำหรับผู้ที่สนใจหรือไม่เคยมีความคุ้นเคยในเรื่องนี้มาก่อน เพื่อนำไปปรับใช้พัฒนาให้เกิดแนวคิดเชิงบวกในการทำงานและการเปลี่ยนแปลงการทำงานภายในองค์การให้มีประสิทธิผล

รายงานการศึกษาการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาและจิตวิญญาณในสถานที่ทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาลเอกชน

คู่มืออบรมการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาหรือจิตวิญญาณในสถานที่ทำงานเป็นคู่มือที่ได้ผ่านการศึกษาวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูล จนกลายมาเป็นหลักสูตรที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นคู่มืออบรมการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาในสถานที่ทำงานต่างๆ ได้ เพราะการมีสุขภาวะทางปัญญาหรือจิตวิญญาณในสถานที่ทำงาน คือ สิ่งที่สำคัญที่สุดต่อองค์การแห่งการเรียนรู้ เพื่อการสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก สร้างความเชื่อมโยงและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นภายในองค์การ หลายคนที่ได้เข้ารับการอบรมเรื่องสุขภาวะทางปัญญาและการมีจิตวิญญาณในสถานที่ทำงานพบว่ามีความพึงพอใจในการทำงานและความผาสุกทางจิตเพิ่มขึ้น มีการตระหนักรู้ถึงตนเอง มองโลกในแง่บวกและมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น ซึ่งยังรวมไปถึงมีการเชื่อมโยงกับธรรมชาติมากขึ้น 

หลักสูตรวัยเพชร รู้ทันสื่อ

วัยเพชร คือ วัยที่เปรียบได้ดั่ง ”เพชร”ที่ผ่านการเจียระไนด้วยประสบการณ์ แต่ด้วยความถดถอยทางร่างกายจึงทำให้วัยเพชร หรือผู้สูงอายุมีความรอบในการพิจารณาข้อมูลข่าวสารในโลกปัจจุบันน้อยลง "หลักสูตรวัยเพชรรู้เท่าทันสื่อ" เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติในโครงการสูงวัยไม่เสพสื่ออย่างสุ่มเสี่ยงที่มีเนื้อหาสาระเรื่องการรู้เท่าทันสื่อและวิธีการถ่ายทอดเนื้อหาผ่านกิจกรรม เนื้อหาและวิธีการสอนในแต่ละบทมีลักษณะสั้นกระชับเข้าใจง่าย เพื่อให้ง่ายต่อการเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อและภูมิคุ้มกันในการบริโภคสื่อให้กับผู้สูงอายุให้ปลอดภัยจากการเสพข้อมูลข่าวสารในแต่ละวัน

หัวใจอาสา คู่มือสร้างสุขในงานอาสา

การให้ที่แท้จริงไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่การให้วัตถุสิ่งของเสมอไป เวลา แรงกาย ทักษะความรู้ ความสามารถความรัก ความเมตตา หรือแม้แต่ รอยยิ้ม ก็นับว่าเป็นการให้ที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับสังคมและตัวเราได้ เพียงแค่เรามีจิตอาสาที่ปรารถนาดีไม่นิ่งดูดายต่อสังคมหรือความทุกข์ยากของคนอื่นและพร้อมที่จะสละแรงกายแรงใจใช้สิ่งที่ตัวเองมีเข้าไปแบ่งปันให้กับสังคม นอกจากเราจะได้ช่วยเหลือและสร้างความสุขให้กับสังคมแล้วสิ่งที่เราจะได้รับ คือ การเรียนรู้ที่จะพัฒนาตัวเองไปพร้อมๆ กับการรู้จักกับความสุขที่เรียบง่าย หัวใจอาสาคู่มือสร้างสุขในงานอาสา หนังสือเล่มนี้จะนำเราไปเปิดประสบการณ์ในมุมมองใหม่ๆ ที่มีคุณค่าที่เราจะได้รับในงานอาสาช่วยเหลือสังคม

ปัญญาความสุข ในโลกอันผันผวน

ท่ามกลางโลกอันผันผวน มีขึ้นมีลง มีเรื่องวุ่นวายที่เข้ามากระทบจิตใจของเราตลอดเวลา ทุกคนต่างดิ้นรนไขว่คว้าหาความสุขมาเติมเต็มช่องว่างภายใน ซึ่งความสุขที่เราหามาได้นั้นก็ล้วนแต่เป็นความสุขที่เบี่ยงเบนความทุกข์ได้เพียงแค่ชั่วครู่เท่านั้น ไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง จึงไม่น่าแปลกใจที่เราจะมีความรู้สึก “เป็นสุข” ได้เพียงแค่ครู่เดียว ทั้งๆ ที่เรากลับใช้เวลาวิ่งตามความสุขเหล่านี้กันแทบจะทั้งชีวิต การสร้างสุขภาวะทางปัญญาเพื่อให้เกิดการตื่นรู้และรู้เท่าทันตนเองและความไม่แน่นอนของโลก จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะช่วยเรารับมือกับโลกยุคนี้ หนังสือเรื่อง “ปัญญาความสุข ในโลกอันผันผวน” บทเรียนแห่งความสำเร็จจากภารกิจสร้างสังคมสุขภาวะด้วยการขับเคลื่อนงานสุขภาวะทางปัญญา หนังสือเล่มนี้จะพาเราไปค้นพบความหมายของสุขภาวะทางปัญญาและนอกจากจะทำให้เราเข้าใจว่าทำไมเราถึงต้องการสุขภาวะทางปัญญาแล้ว ยังทำให้เรารู้อีกว่าที่จริงแล้วความสุขที่แท้จริงนั้นอยู่ใกล้กว่าที่เราคิด

อรุโณทัยแห่งการตื่นรู้ สู่การขยายมวลความสุข

รู้หรือไม่ว่าในวันวันหนึ่งเราใช้สมองส่วนไหนในการดำรงชีวิตมากที่สุด สมองส่วนหน้าส่วนที่ใช้สติปัญญาไตร่ตรอง ส่วนกลางส่วนของความรู้สึก หรือว่าส่วนหลังที่เป็นส่วนที่ดึกดำบรรพ์ที่สุดเพียงเพื่อเอาชีวิตรอดไปวันๆ  อรุโณทัยแห่งการตื่นรู้สู่การเคลื่อนขยายมวลความสุข โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์ประเวศ วะสี เป็นหนังสือที่พูดถึงการสร้างสุขภาวะทางปัญญา เพื่อการตื่นรู้ในระดับจุลภาคไปสู่ระดับมหภาค ด้วยการใช้สมองส่วนหน้าที่เป็นส่วนของมนุษย์ขั้นสูงในการเข้าถึงความเป็นจริง เพื่อให้เรารู้เท่าทันตนเองและเข้าใจความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในโลก รวมถึงการสร้างสังคมแห่งการตื่นรู้หรือสังคมยุคสมองส่วนหน้า ซึ่งเราทุกคนล้วนเป็นฟันเฟืองตัวหนึ่งหรือหนึ่งในมวลสารแห่งความสุขที่จะช่วยขับเคลื่อนสังคมไปสู่สังคมแห่งอารยะ

รายงานสุขภาพคนไทย 2564

รายงานสุขภาพคนไทยปี 2564 ที่นำเสนอ 10 หัวข้อสถานการณ์เด่นแห่งปี 2564  ที่เกิดขึ้นในสังคมและเป็นตัวชี้วัด “สุขภาพพื้นที่” ที่เป็นตัวสะท้อนความหลากหลายในประเด็นสุขภาพของคนไทย โดยรายงานฉบับนี้นำเสนอตั้งแต่เรื่อง สุขภาพกาย สุขภาพจิต สุขภาพสังคม เศรษฐกิจ การเข้าถึงบริการทางด้านสุขภาพ ปัญหาเรื่องทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมไปจนถึงสถานการณ์ Covid-19 มหันตภัยร้ายเขย่าโลก ที่เป็นประเด็นสำคัญที่ทุกประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญร่วมกัน ซึ่งเราจะได้เรียนรู้ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของสถานการณ์การระบาดของโรค การควบคุมและป้องกัน การต่อสู้กับการระบาดของหลายๆ ประเทศ รวมทั้งกรณีที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและผลกระทบที่เกิดขึ้น รวมถึงประเด็นเรื่องการพัฒนาวัคซีนและยารักษาโรคโควิด -19

ผลสำรวจข้อมูล ทำไมต้องค้นหาความจริงร่วม

“ทำไมต้องค้นหาความจริงร่วม: Why Cofact Matters” อินโฟกราฟิก สรุปผลการสำรวจ ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับข่าวลวงและข้อมูลปลอม ปัญหาที่สร้างความสับสนและความเชื่อผิดๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมและสื่อสังคมออนไลน์ภายในหนึ่งปีที่ผ่านมา โดยสรุปผลสำรวจจากผู้เข้าร่วมทำแบบสอบถามจำนวน 670 คน ที่เคยตรวจสอบข่าวลวงและข้อมูลปลอมผ่านโคแฟค พร้อมทั้งร่วมแสดงความคิดเห็นถึงสาเหตุต้นตอของข่าวลือ สาเหตุของการเผยแพร่ข่าวลวงซ้ำ สิ่งที่น่ากังวลและข้อมูลปลอมที่พบเห็นในสื่อโทรทัศน์และสื่อออนไลน์มากที่สุด รวมถึงเสนอทางออกของการแก้ปัญหาข่าวลวงให้กับสังคมในระยะยาว

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.