Filter
ประเภทสื่อ
ประเภทสื่อ "หนังสือ" พบ 114 ข้อมูล

3 ฐาน สานพลังต้นทุนชีวิต : บทเรียนการเสริมสร้างพลังบวก

หนังสือ “3 ฐาน สานพลังต้นทุนชีวิต : บทเรียนการเสริมสร้างพลังบวก” เป็นการถอดบทเรียนการทํางาน “ต้นทุนชีวิต” 3 บริบทสําคัญในชีวิตได้แก่ ต้นทุนชีวิตบริบทครอบครัว บริบทชุมชน และบริบทโรงเรียน ซึ่งเปรียบเสมือนต้นไม้ที่เติบโตจากการบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์หยั่งรากลงดิน และเติบโตแตกกิ่งก้านเป็นลําต้นใหญ่ ซึ่งแม้แต่ละบริบทจะมีจุดเน้นต่างกัน แต่เป็นการเชื่อมร้อยต่อกันเป็นห่วงโซ่  ทั้งนี้โดยพื้นฐานของคนเราเกิดมาล้วนมีต้นทุนชีวิต (Life Assets) กันทุกคน  ซึ่งต้นทุนเหล่านั้นจะแปรเปลี่ยนสภาพตามสภาวะแวดล้อม และการเรียนรู้ทางสังคม  หากเราเข้าใจการสานพลัง 3 ฐานนี้แล้ว ก็จะพัฒนาสู่ต้นทุนชีวิตที่ดีงามให้กับเด็กและเยาวชนต่อไป

เรื่องเล่าจากครูมหัศจรรย์ พลังสร้างสรรค์เด็กปฐมวัย

“ครู” คือมนุษย์มหัศจรรย์ที่น่าทึ่ง ความรักและเอาใจใส่ของครูต่อเด็ก ส่งพลังความเปลี่ยนแปลงมาสู่เด็ก ครอบครัว และชุมชน “เรื่องเล่าจากครูมหัศจรรย์ : พลังสร้างสรรค์เด็กปฐมวัย” เป็นการถ่ายทอดประสบการณ์ของครูปฐมวัย ในโครงการมหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีสุขภาวะดีครบทุกด้านและเติบโตเป็นพลเมืองเด็กที่มีคุณสมบัติที่พึงประสงค์ ผ่านการจัดกระบวนการเรียนรู้ภายใต้ แนวคิด ๓ ดี สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี โดยมีการถ่ายทอดความรู้ พัฒนาศักยภาพและสร้างแรงบันดาลใจให้กับครูปฐมวัย ให้มีความสามารถในการจัดกระบวนการเรียนรู้และสร้างเสริมประสบการณ์แก่เด็กๆ พร้อมไปกับสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน เพื่อร่วมพัฒนาให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ร่วมกันของเด็กๆ และชุมชน

เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร

หนังสือสรุปผลงานวิจัย 3 เรื่อง เพื่อการส่งเสริม ปกป้อง และคุ้มครองเด็กและเยาวชนในสื่อยุคดิจิทัล ในรูปแบบที่อ่านง่าย เข้าใจง่าย ประกอบไปด้วย 1. งานวิจัยประเด็นข้อเสนอนโยบายของหน่วยงานรัฐ เอกชน และภาคประชาสังคมต่อประเด็นการแข่งขันอีสปอร์ตในประเทศไทย 2. งานวิจัยประเด็นการขับเคลื่อนการรู้เท่าทันสื่อและดิจิทัลสำหรับเด็กเยาวชนในต่างประเทศและแนวทางสำหรับประเทศไทย และ 3. งานวิจัยประเด็นการนำเสนอข่าวที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเด็กผ่านสื่อเฟซบุ๊กของสำนักข่าวออนไลน์ เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองและผู้ที่ทำงานด้านเด็กและเยาวชนตระหนักและรู้เท่าทันสื่อในโลกยุคดิจิทัลอย่างทันท่วงที

สื่อศิลปวัฒนธรรมสู่มหาลัยภูมิปัญญาแห่งอีสาน

“คู่มือการใช้สื่อศิลปวัฒนธรรม สร้างเสริมความเข้มแข็งของชุมชน” โดย เครือข่ายสื่อศิลปวัฒนธรรมชุมชนอีสาน เป็นการถอดแบบบทเรียนกระบวนการการทำงานของ 9 เครือข่ายสื่อศิลปวัฒนธรรมชุมชนอีสาน ที่ได้ดำเนินการแบบแยกส่วนอยู่ในหลายพื้นที่ในภาคอีสาน ทั้งจังหวัด ขอนแก่น มหาสารคาม นครราชสีมา เลย สุรินทร์ และศรีสะเกษ ซึ่งทั้ง 9 เครือข่ายนี้ ได้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่เยาวชนคนรุ่นใหม่ โดยการนำสื่อศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้าสู่ชุมชน ทั้งละคร หมอลำ หนังประโมทัย การทอผ้า ดนตรี กันตรึม ผญา และกิจกรรมอื่นๆ เพื่อเป็นการฟื้นฟู เยียวยา กล่อมเกลา สร้างสรรค์และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในภาคอีสาน อีกทั้งสร้างสำนึกรักภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งเป็นองค์ความรู้สำคัญให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ เพื่อนำมาปรับใช้พัฒนาบ้านเกิดของตนเองต่อไป

ศิลปะจะมีส่วนร่วมกันสร้างสรรค์สังคมได้อย่างไร

จากภาวะปัญหาสังคมไทยในปัจจุบันที่อยู่ในวิกฤตความเลื่อมล้ำ ความไม่เป็นธรรม ขาดการบูรณการและจิตสำนึกในการสร้างสรรค์พัฒนาสังคม จึงได้เกิดการร่วมมือกันระหว่างสี่ภาครัฐและภาคประชาชนขึ้น ในการใช้พลังศิลปวัฒนธรรมทุกสาขา วรรณศิลป์ ทัศนศิลป์ คีตศิลป์ และศิลปะการแสดง เพื่อเยียวยาสร้างสรรค์พฤติกรรมและอารมณ์ของผู้คนในสังคม ให้มีความละเอียดอ่อน มีภูมิคุ้มกันและเข้าใจสังคมวัฒนธรรมในพื้นที่ ทว่า ศิลปะ เพียงอย่างเดียวคงเยียวยาสังคมไม่ได้นัก ต้องมีชีวิต มีความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในสังคมร่วมแรงร่วมใจกัน เพราะการสร้างสรรค์สังคมเป็นหน้าที่ของทุกคน โดยมีศิลปะเป็นเครื่องมือนำไปสู่สังคมที่วาดหวังได้

สำนึกสุขภาวะ

ด้วยสภาพสังคมไทยทุกวันนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสสังคมโลก จนอาจทำให้เรามองข้ามความงามในตัวตนและรากเหง้าของเราไป วรรณกรรมชุมชน สำนึกสุขภาวะ กระจกบานเล็กที่สะท้อนวิถีชุมชน ปราชญ์ชาวบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่น สายใยแห่งบรรพบุรุษที่ได้บ่มเพาะมาอย่างยาวนาน โดยมุ่งหวังปลูกสร้างจิตสำนึกการพึ่งตนเอง ให้แก่คนในพื้นที่โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน ให้มองเห็นลึกซึ้งถึงรากเหง้า เข้าถึงปัจจุบันของตัวตนทั้งทางสังคมและวัฒนธรรม ปลูกสำนึกรักในบ้านเกิด หวงแหนในทรัพยากรของชุมชน ผ่านทางกิจกรรมอันได้แก่ ดนตรี กวี ศิลปะ เพื่อสืบทอดเจตนาของบรรพบุรุษด้วยจิตวิญญาณความเป็นชาติไทยต่อไปให้ยั่งยืน

ความรักศิลปะบทกวีมีใบไม้เป็นครู

เรื่องเก่าเล่าใหม่ถึงหัวใจบางหลวง

เสน่ห์ของประวัติศาสตร์ คือ บทเรียนที่คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ เพื่อเข้าใจวิธีคิด การต่อสู้ ความอดทน ของ“คนสองวัย” ในบางหลวงที่ร่วมกันสืบสานและบันทึกตำนานรวมเรื่องเล่าย่านความหลัง ถ่ายทอดเป็นตำนาน “เสื่อผืน หมอนใบ” ของชาวจีนที่ได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ร่วมกับคนไทยและชาวลาว ที่บ้านบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ตั้งแต่ยุคสมัยรัตนโกสินทร์ จนเกิดเป็นแหล่งอารยธรรมผสมผสานระหว่างชาติพันธุ์ ไทย จีน ลาว ที่มีความโดดเด่นในเรื่องของ ปราชญ์ชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความสามัคคี ความเรียบง่ายและวิถีชีวิตของคนในชุมชนที่ผูกพันอยู่กับสายน้ำ ซึ่งเป็นการผสมผสานกันอย่างลงตัวจวบจนถึงปัจจุบัน

เรื่องเล่าจากโต๊ะ

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดด วิถีชีวิตของผู้คนสมัยใหม่เปลี่ยนไปตามตรรกะที่อุบัติขึ้นแม้แต่ในตำบลคลองประสงค์ จังหวัดกระบี่ วิถีชุมชนเดิมเริ่มเปลี่ยนไปเน้นบริโภคนิยม เกิดการแข่งขันและไล่ตามวัตถุนิยมมากขึ้น “เรื่องเล่าจากโต๊ะ” เป็นเรื่องราวที่ปราชญ์ ครูภูมิปัญญา หรือผู้เฒ่าในชุมชน ได้ถ่ายทอดเรื่องราววิถีการดำเนินชีวิตที่มีความสัมพันธ์กับท้องทะเล บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียงที่ตกทอดเป็นมรดกทางภูมิปัญญาและวัฒนธรรมบ้านเรือนท้องถิ่น จากอดีตกาลที่เป็นเอกลักษณ์จวบจนปัจจุบัน ผ่านกิจกรรมในโครงการศิลปะสร้างสรรค์ โกงกางสร้างสุข ชุมชนสร้างภูมิปัญญา ดำเนินงานโดย กลุ่มละครมาหยา ศูนย์สื่อสารเด็กไทยมุสลิม เพื่อเป็นองค์ความรู้ให้กับหน่วยงาน องค์กร โรงเรียน และแหล่งเรียนรู้ต่างๆ อีกทั้งสืบสานเอกลักษณ์ของดีในพื้นที่และวิถีชีวิตแห่งความพอเพียงให้ยั่งยืน

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.