สำหรับผู้บกพร่องการมองเห็น
สำหรับบุคคลทั่วไป สมัครเพื่อดาวน์โหลดไฟล์สื่อต่างๆ ภายในเว็บไซต์
ค้นหา
การสื่อสารที่สร้างความเกลียดชัง (Hate Speech) เป็นอีกหัวข้อหนึ่งที่พลเมืองประชาธิปไตยควรเรียนรู้และทำความเข้าใจ เนื่องจากข้อมูลในโลกไซเบอร์ไม่ได้มีเพียงข่าวสาร ข้อเท็จจริง หรือเนื้อหาที่สร้างความบันเทิงเพียงด้านเดียว แต่ยังมีข้อมูลข่าวสารที่เต็มไปด้วยอคติและความรุนแรง พลเมืองประชาธิปไตยควรรู้เท่าทันสื่อ และเข้าใจผลกระทบการการสื่อสารที่สร้างความเกลียดชังที่มีต่อบุคคลและกลุ่มคนอื่นๆ ในมิติต่างๆ และเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นที่มีความแตกต่างจากตนเองในด้านต่างๆ เช่น แนวคิดทางการเมือง ชนชั้น ศาสนา เพศสภาพ เพื่อบรรลุความเป็นพลเมืองที่มุ่งเน้นความเป็นธรรมในสังคม เป็นผู้ที่เคารพสิทธิและอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมที่หลากหลายได้อย่างรับผิดชอบในฐานะพลเมืองที่ต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น
ความฉลาดทางดิจิทัล (DQ: Digital Intelligence Quotient) คือ กลุ่มความสามารถทางสังคม อารมณ์ และการรับรู้ ที่จะทำให้คนคนหนึ่งสามารถเผชิญกับความท้าทายของชีวิตดิจิทัล และสามารถปรับตัวให้เข้ากับชีวิตดิจิทัลได้ ความฉลาดทางดิจิทัลครอบคลุมทั้งความรู้ ทักษะ ทัศนคติและค่านิยมที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตในฐานะสมาชิกของโลกออนไลน์ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ทักษะการใช้สื่อและการเข้าสังคมในโลกออนไลน์
โลกดิจิทัลได้เปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คนในยุคปัจจุบันในหลายๆ ด้าน เช่น วิธีการติดต่อกับเพื่อนและคนรู้จัก การทำธุรกรรมทางการเงิน การซื้อขายสินค้า และการรับชมสันทนาการความบันเทิงต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามโลกไซเบอร์ซึ่งรวมถึง อินเทอร์เน็ต เครือค่ายสังคมออนไลน์ โทรศัพท์มือถือ เกมออนไลน์ แอปพลิเคชั่น และอื่นๆ ยังมีภัยคุกคามที่แฝงมากับความสะดวกสบายและความบันเทิงเหล่านี้ด้วย
การรู้เท่าทันการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญและใส่ใจไม่ว่าจะเป็น เด็กและเยาวชนที่ควรได้รับการปลูกฝังให้รู้จักป้องกันตัวเอง พ่อแม่และโรงเรียนควรจะเข้าใจในการให้คำปรึกษา และภาคเอกชนผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต สื่อดิจิทัล และสื่อสังคมออนไลน์ ควรจะมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องกฎหมายและระเบียบกติกาการใช้สื่อคอมพิวเตอร์และสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อสามารถจัดการปัญหาเบื้องต้นได้หากพบว่ามีการกระทำดังกล่าวเกิดขึ้น มีรายงานสำรวจหลายชิ้นบ่งบอกว่า ตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา สถิติของการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์มีจำนวนสูงขึ้นเรื่อยๆ
รายงานสุขภาพคนไทย 2562 จัดทำโดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเรื่องพิเศษประจำฉบับได้แก่ “สื่อสังคม สื่อสองคม” สุขภาวะของคนไทยในโลกโซเชียล ส่วนอื่น ๆ ได้แก่ ส่วน 12 หมวดตัวชี้วัดสุขภาพประชากรเปราะบาง ประกอบด้วย ประชากรข้ามชาติในไทย, ประชากรไทยในต่างแดน, ผู้ต้องขัง พนักงานบริการทางเพศ และผู้ใช้สารเสพติด, กลุ่มเพศวิถีนอกขนบ, คนจนและผู้มีรายได้น้อย, ครอบครัวเปราะบาง, กลุ่มเปราะบางจากปัญหาสุขภาพจิต, เด็กเปราะบาง, วัยรุ่น, และ ผู้สูงอายุ
เสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทห่างไกล
ไดอารี่เล่มนี้ เขียนขึ้นโดยนักศึกษาภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ และภาคนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ต้องการสะท้อนมุมมอง ความรู้สึกนึกคิดของคนพิการกับการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างเท่าเทียม เข้าถึงสิทธิ กฎหมาย สวัสดิการ และสิ่งต่างๆ ที่ผู้พิการพึงจะได้รับ แม้เรื่องราวจะเป็นตัวละครสมมติ แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นสิ่งที่พบเห็นได้จริงในสังคม ไดอารี่เล่มนี้ จึงเป็นเสียงสะท้อนที่บอกไปยังคนในสังคมได้ตื่นตัวในการเปิดพื้นที่และสิทธิเพื่อดูแลผู้พิการให้ได้รับความเท่าเทียมทางสังคม
มองเห็นปัญหาของการใช้ชีวิตของแรงงานข้ามชาติในเมืองไทย จึงได้จัดทำคู่มือเพื่อเป็นแนวทางในการช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติที่จะใช้ชีวิตในเมืองไทยได้อย่างมีความสุข อาทิเรื่องการแจ้งเหตุเมื่อประสบเหตุร้าย การเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล เป็นต้น
หนังสือคุณภาพชีวิตเด็ก 2556 ภาคภาษาอังกฤษ จัดทำโดยสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล แปลจากหนังสือคุณภาพชีวิตเด็ก 2556 ฉบับภาษาไทย เพื่อให้เกิดการเผยแพร่ในวงการวิชาการในระดับสากล ทั้งนี้เนื้อหาในหนังสือนำเสนอข้อมูลองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาเด็กในมิติต่าง ๆ ทั้งกาย ใจ อารมณ์ สังคมและปัญญา เพื่อการพัฒนาศักยภาพเด็กในทุกด้านอย่างสมบูรณ์
หนังสือเล่มนี้ พาผู้อ่านไปมองภาพและสังเคราะห์ปัญหาระบบการศึกษาไทยในภาพรวมหลากหลายมิติ ทั้งด้านเศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ การศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ หรือการศึกษาทางเลือก เพื่อมุ่งเป้าหมายในการกระตุ้นเตือนสังคมให้มองการศึกษาในแง่มุมใหม่ พาการศึกษาไทยไปสู่เป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนอย่างเต็มศักยภาพ และเกิดการเรียนรู้สร้างสรรค์ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน
หนังสือคุณภาพชีวิตเด็ก 2556 เป็นฉบับปฐมฤกษ์ของสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ที่จัดทำขึ้น เพื่อเป็นสื่อกลางนำเสนอข้อมูลองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาเด็ก โดยได้ทำการรวมรวมข้อมูล วิเคราะห์ และจัดทำองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาศักยภาพเด็กไทยทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนให้ครอบครัวและผู้ทำงานด้านเด็กได้มองเห็นประเด็น เกิดองค์ความรู้ เพื่อนำสู่การพัฒนาศักยภาพเด็กไทยอย่างสมบูรณ์
หนังสือคุณภาพชีวิตเด็กปฐมวัย (ปีที่ 2) นำเสนอประเด็นสำคัญที่น่าห่วงใยและทางออกในการพัฒนาเด็กปฐมวัยของประเทศไทย ภายใต้ข้อมูลฐานงานวิจัยและวิชาการของสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว เพื่อการพัฒนาและส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการที่สมวัย นำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นประเด็นบทบาทของครอบครัวในการเลี้ยงดูเด็ก โภชนาการที่เหมาะสมกับเด็ก ความปลอดภัยและป้องกันการการบาดเจ็บและสารพิษในเด็ก โรคติดเชื้อในศูนย์เด็กเล็ก ปัญหาการบริโภคสื่อของเด็ก รวมทั้งสิทธิและความเสมอภาคของเด็กในการเรียนรู้อย่างเท่าเทียม
เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.