Filter
ประเภทสื่อ
ประเภทสื่อ "หนังสือ" พบ 116 ข้อมูล

เร่งสร้างฐานแผ่นดินไทยให้มั่นคง คนไทยปลอดภัยจากภัยพิบัติโลก

หนังสือเล่มล่าสุดของ ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเวศ วะสี  ท่านได้ให้วิสัยทัศน์ต่อการพัฒนาประเทศให้มีความมั่นคงอย่างแท้จริง ผ่านการสร้างระบบสังคมที่เน้นชุมชนฐานรากนำไปสู่การพัฒนานโยบายระดับประเทศ ข้อคิดในหนังสือเล่มนี้ทำให้เรากลับมาใคร่ครวญว่า การพัฒนาที่มุ่งเน้นอำนาจเงิน การแข่งขันที่คัดผู้แพ้ออก และอยู่แบบตัวใครตัวมันแบบนี้ ทำให้เราเป็นทุกข์มากกว่าทำให้เรามีความสงบสุขอย่างแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้วงเวลาที่เราเผชิญวิกฤตรอบด้าน ดังเช่นช่วงโรคระบาดโควิด 19 สิ่งที่ทำให้เรารอดคือน้ำใจและความเอื้ออาทรของผู้คนรอบตัว   อาจารย์ประเวศให้ทัศนะไว้ว่า “สังคมในอนาคตควรอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล โดยมีรูปธรรมเป็นชุมชนเข้มแข็งและมีภูมิคุ้มกันทั้งในชนบทและในเมือง” นี่เป็นแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาชุมชนมากกว่าการพัฒนาด้านเศรษฐกิจการเงินเพียงอย่างเดียว เพราะชุมชนเปรียบเสมือนรากฐานที่แข็งแรงและภูมิคุ้มกันที่เข้มแข็งให้ประเทศเราฝ่าวิกฤตทุกรูปแบบไปได้    แนวทางการสร้างชุมชนเข้มแข็งทำได้อย่างไร มีลักษณะเป็นอย่างไร และจะสนับสนุนให้เกิดขึ้นได้อย่างไร เป็นสิ่งที่ผู้เขียนได้ให้แนวทางไว้อย่างรอบด้าน อีกทั้งเน้นย้ำความสำคัญของการลงไปเรียนรู้และทำงานจริงร่วมกับชุมชน สิ่งสำคัญคือต้องมีกลไกที่ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมได้ เช่น สภาผู้นำชุมชนที่ไม่เป็นทางการ ให้คนไทยทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการประชาธิปไตยทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ แนวคิดนี้เป็นความพยายามที่ต้องการนำประเทศกลับคืนสู่ “ความสมดุล” อีกครั้ง ตัวอย่างเป็นรูปธรรมคือ องค์กรที่ประสบความสำเร็จในทำงานร่วมกับชุมชนและพัฒนาสู่ระดับนโยบายประเทศ ได้แก่ ขบวนการแพทย์ชนบทที่ได้รางวัลแมกไซไซ และองค์กรตระกูล ส.ทั้ง 8 องค์กร     องค์กรที่ทำงานกับชุมชนฐานรากเหล่านี้ควรจะเป็นผู้นำที่เอื้อให้เกิดกลไกเหล่านึ้ขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง หรือ “ระบบการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล” ทำให้ประเทศไม่ล้มเมื่อเจอวิกฤตร้ายแรง

ก่อการครู ขบวนการเคลื่อนไหวในโลกการศึกษา

หนังสือ ก่อการครู : ขบวนก่ารเคลื่อนไหวในโลกการศึกษา เป็นการสังเคราะห์องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการทำงานจริงของเครือข่ายครูแกนนำ โดยศึกษาผ่าน 3 มิติสำคัญ ได้แก่ หนึ่ง การปฏิบัติการของก่อการครูในฐานะขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม สอง ภาวะการนำของครูผู้เข้าร่วมกระบวนการจากโครงการ สาม จุดแข็ง และข้อจำกัดของโครงการก่อการครูในฐานะขบวนการเคลื่อนไหวทาง สังคม รวมถึงข้อสังเกตอื่น ๆ เพื่อช่วยจุดประกายให้เห็นถึ้งความเป็นไปได้ใหม่ เปิดประตูสู่การมองเห็นความท้าทาย โอกาส และความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหา ตลอดจนการทำงานขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทย

MIDL for Inclusive Cities

การจัดทำหนังสือ MIDL for Inclusive Cties นี้ สสย. ได้รวบรวมและเรียบเรียงข้อมูลการดำเนินงานโครงการ ระหว่างปี พ.ศ. 2563-2564 ในแต่ละภูมิภาคจากบุคคลหลายฝ่าย ทั้งที่เป็นนักวิชาการ นักพัฒนาเอกชน คุณครู ผู้เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนที่เป็นผู้มีบทบาทหลักในการขับเคสื่อนกระบวนการ เพื่อชี้ให้เห็นถึงพลังเล็กๆ ของทุกคนที่อยู่ในพื้นที่ร่วมสร้างเมืองของทุกคน สสย. หวังว่าเรื่องราวในแต่ละพื้นที่ จะทำให้การมองเมืองเปลี่ยนไป มองเห็นคนเล็กคนน้อย เป็นเมืองที่ตอบโจทย์ชีวิตของทุกคน ไม่ทอดทิ้ง ไม่ละเลยให้ใครเป็นคนชายขอบ หรือถูกกีดกันจากการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมือง และมองเห็น MIDL เป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถหยิบยกมาใช้ในการพัฒนาเด็ก พัฒนาสังคมได้ในทุกมิติ

หลักสูตร สูงวัยรู้ทันสื่อ

ผู้สูงอายุ ที่นับว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงในโลกข้อมูลข่าวสารเพราะผู้สูงอายุส่วนใหญ่ เพิ่งได้รู้จักกับความสามารถของเทคโนโลยีการสื่อสารได้ไม่นาน ทำให้บางคนยังไม่เข้าใจเทคนิควิธีการสร้างข้อมูล บางคนรับรู้แต่อาจยังปรับตัวตามไม่ทัน และบางคนอาจไม่สนใจที่จะเรียนรู้ความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยีการสื่อสาร ผู้สูงอายุจึงเสี่ยงที่จะถูกชักจูงความคิด และการตัดสินใจจากความเข้าใจเพียงผิวเผินต่อเทคโนโลยี และวิธีการสื่อสารที่มีรูปแบบหลากหลายเช่นในปัจจุบัน “หลักสูตรสูงวัยรู้ทันสื่อ” เกิดจากแนวคิดการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศ (Media and Information Literacy) ที่ถูกนำมาใช้อบรมให้ความรู้ เพื่อสร้างสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย ให้เป็นสังคมอุดมปัญญาที่เข้มแข็ง เท่าทัน และมีความสุขต่อไป  

วิเคราะห์สังคมไทยและสังคมโลก

E-book ถอดบันทึก สุขสัญจรออนไลน์ ผ่านโปรแกรม Zoom

ช่วงวิกฤตโควิด -19 ระยะแรก มาตรการควบคุมโรคทําให้กิจกรรมต่าง ๆ ไม่สามารถดําเนินไปได้อย่าง ปกติ ต้องรักษาระยะห่างทางสังคม ทํางานจากบ้าน ใส่หน้ากากอนามัย กิจการ ห้างร้านต้องปิดลงชั่วคราว โครงการหรือกิจกรรมอบรม สัมมนาต่าง ๆ ถูกยกเลิก หรือเลื่อนไปอย่างไม่มีกําหนด ทั้งหมดนี้ส่งผลกระทบ ต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสํานักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดกิจกรรมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการดําเนินชีวิตในช่วงวิกฤตที่ผ่านมา โดยมี เภสัชกรหญิง ชรรินชร เสถียร ผู้ช่วยอาจารย์ประจําศูนย์จิตตปัญญาศึกษา เป็นผู้ริเริ่มและบริหารจัดการ เนื้อหาหลัก ๆ แบ่งเป็นสองช่วง ๆ ละ 4 ตอน ช่วงแรกเกี่ยวกับการเผชิญภาวะวิกฤต และช่วงที่สองเกี่ยวกับ ชีวิตวิถีใหม่ ในรูปแบบการบรรยายร่วมกับการตอบคําถาม และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ 

keyboard_arrow_up