Filter
ประเภทสื่อ
ประเภทสื่อ "สื่อภาพและอินโฟกราฟฟิก" พบ 332 ข้อมูล

FAKE News

"What is FAKE NEWS????" ข่าวเทียม ข่าวปลอม ข่าวลวง คืออะไร ในทุก ๆ วันเราได้รับข้อมูลข่าวสารจากหลากหลายช่องทาง โดยเฉพาะทางสื่อออนไลน์ ต้องยอมรับว่าหลาย ๆ ข้อมูลส่งผลกระทบต่อความคิด ความเชื่อของเรา ซึ่งข้อมูลบางส่วนนั้นถูกจัดว่าเป็น FAKE NEWS แล้ว FAKE NEWS คืออะไร??  หาคำตอบได้จาก infographic ชุดนี้ "What is FAKE NEWS????" ข่าวเทียม ข่าวปลอม ข่าวลวง คืออะไร ในทุก ๆ วันเราได้รับข้อมูลข่าวสารจากหลากหลายช่องทาง โดยเฉพาะทางสื่อออนไลน์ ต้องยอมรับว่าหลาย ๆ ข้อมูลส่งผลกระทบต่อความคิด ความเชื่อของเรา ซึ่งข้อมูลบางส่วนนั้นถูกจัดว่าเป็น FAKE NEWS แล้ว FAKE NEWS คืออะไร??  หาคำตอบได้จาก infographic ชุดนี้

โมเดลกระบวนการสร้างอัตลักษณ์ผ่านสื่อออนไลน์ของวัยรุ่น

" วัยรุ่นใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพิ่มมากขึ้นในการปฏิสัมพันธ์ ติดต่อกับเพื่อนและแบ่งปันข้อมูลต่างๆ รวมถึงการได้รับตอบโต้ปฏิสัมพันธ์ ผลวิจัยระบุว่าวัยรุ่นใช้สื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ทั้งแง่บวกและลบในการสร้างมโนภาพของตนเอง (Self-concept) และการพัฒนาอัตลักษณ์ (Identity) ในแง่บวก วัยรุ่นหาพื้นที่ในการสร้างอัตลักษณ์ต่อกลุ่ม แสดงออกความเป็นตัวตน และสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่นในลักษณะที่ปลอดภัย พร้อมกับพัฒนาทักษะการสื่อสารบนสื่อดิจิทัล ในขณะที่ในแง่ลบ วัยรุ่นใช้สื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์โดยตกหลุมของการจูงใจ การประเมินคุณค่า และแนวโน้มของการเปิดเผยตัวตนที่มากเกินไป "

เมื่อวาจาทำร้ายใจกัน การเดินทางจาก Hate Speech สู่ Cyberbullying

ใครเลยจะรู้ว่าการพูดหรือแสดงความคิดเห็นที่เต็มไปด้วยอคติ ความเกลียดชัง และความต้องการกีดกันบางกลุ่มคนออกไปจากสังคมนั้น สร้างผลกระทบทางจิตใจให้กลุ่มคนที่เป้าหมายมากน้อยแค่ไหน และในโลกยุคดิจิทัล online platform สามารถกระจายความเกลียดชังออกไปสู่วงกว้างในหลากหลายรูปแบบ และนำไปสู่ cyberbullying (การรังแกบนโลกออนไลน์) ที่เป็นจุดจบของชีวิตใครหลาย ๆ คนที่ตกเป็นเหยื่อ อะไรบ้างที่มักถูกหยิบมาสร้างความเกลียดชัง? พฤติกรรมใดบ้างที่เข้าข่าย Hate Speech? และจะจัดการกับ Hate Speech ในโลกออนไลน์ได้อย่างไร? ที่มา: เอกสาร การสื่อสารที่สร้างความเกลียดชัง (Hate Speech) และการศึกษาการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ของวัยรุ่น (2561) สนับสนุนโดย สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.)  

อินโฟกราฟิก การศึกษาความรุนแรงทางโซเชียลมีเดียและการรับรู้ของวัยรุ่น ปี 2560

ตัวละครกับการผลิตซ้ำความเป็นอื่น

สื่ออินโฟกราฟิก สรุปประเด็นจากรายงานการอบรมเชิงปฏิบัติการ "การพัฒนาแนวคิดการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล (MIDL) และแนวคิดพหุวัฒนธรรมกับการสร้างพลเมืองประชาธิปไตย ชี้ประเด็นรู้เท่าทันสื่อในละครไทยกับภาพการผลิตซ้ำที่เรามักพบเป็นรูปแบบประจำ  คือ พระเอก หล่อ รวย ดี นางเอก  สวย น่าสงสาร แต่ก็สู้คน นางอิจฉาร้ายกาจทำทุกทางให้ได้พระเอกมา และคนรับใช้ที่ยอมนายเสมอ  ซึ่งภาพจำเหล่านี้ของตัวละคร ก่อให้เกิดอัตลักษณ์ทางความคิด การด่วนตัดสินคุณค่าของคน เลือกปฏิบัติ ลดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในสังคม เพราะฉะนั้นทั้งผู้ผลิตและผู้ชมละครต้องหันมาสร้างและเสพสื่ออย่างสร้างสรรค์ เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และเห็นอกเห็นใจกัน

5 วิธีที่คุณครูจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องการกลั่นแกล้งรังแก

การกลั่นแกล้งรังแกในโรงเรียนกลายเป็นเรื่องที่มีอยู่ทั่วทุกหัวระแหง ต่อไปนี้ เป็นประสบการณ์จากการทำงานวิจัยในสหราชอาณาจักร โดย นักวิจัยชื่อ อลิซาเบซ แนซเซม นักวิจัยแห่ง The Centre for the Study of Practice and Culture in Education, Birmingham City University เธอทำวิจัยเรื่องนี้มานานกว่าทศวรรษและเสนอแนวทางเพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้ในระดับโรงเรียนและพบว่า แนวทางที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือการทำให้เด็ก ๆ มีบทบาทนำในการจัดการแก้ปัญหาดังกล่าว เธอเสนอ 5 วิธีที่ครูสามารถเริ่มต้นได้ ได้แก่ การปรับปรุงความเข้าใจเรื่องการกลั่นแกล้งรังแกขอบเขตของการกลั่นแกล้งรังแกกว้างขวาง นับตั้งแต่การแกล้งหยอกล้อกันแบบเบา ๆ ไปจนถึงขั้นรุนแรง เช่น การตั้งฉายา หรือ การตบตี ซึ่งครูในโรงเรียนสามารถพูดคุยกับนักเรียนเกี่ยวกับประสบการณ์ที่พวกเขาพบเจอ  หรือ ถามถึงสาเหตุว่า ทำไมถึงได้รังแกเพื่อน และคุยกับพวกเขาว่า ควรแก้ปัญหาในเรื่องนี้อย่างไร บ่อยครั้งที่การกลั่นแกล้งรังแกกัน เกิดขึ้นเพื่อให้ตนเองได้เป็นที่นิยมชื่นชอบในหมู่เพื่อน หรือบ้างเป็นการลงมือทำเพื่อแก้เซ็ง หนทางที่สำคัญคือ การดึงเด็ก ๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ และสนับสนุนให้เพื่อน ๆ ช่วยเหลือในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วย ให้คำปรึกษากับเด็กนักเรียนครูสามารถที่จะช่วยเหลือนักเรียนเพื่อให้พวกเขาได้เข้าใจพฤติกรรมของตัวเองที่เป็นฝ่ายกลั่นแกล้งรังแกเพื่อนและช่วยแก้ปัญหาที่ต้นตอนั้น ๆ ด้วยการพูดคุยกับเด็ก ๆ ว่า เกิดอะไรขึ้น การกระทำดังกล่าวส่งผลกระทบอย่างไร เด็ก ๆ จะมีแนวทางที่จะตอบโต้ต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ในแบบที่เคารพอีกฝ่ายหนึ่งได้อย่างไรหากเกิดเรื่องเช่นนี้อีก ซึ่งการใช้วิธีการแบบสมมุติบทบาท (role-playing) ตามฉากของสถานการณ์ต่าง ๆ จะช่วยในการทำความเข้าใจแบบแผนพฤติกรรมในทางลบได้ชัดเจนขึ้น  โรงเรียนสามารถจัดให้มีการพูดคุยเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องนี้แบบเชิงรุก การจัดกิจกรรมนี้ โรงเรียนควรจัดให้มีเป็นประจำมากกว่าจะคอยแก้ปัญหาเมื่อมีเหตุการณ์ใดเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว การสนับสนุนให้นักเรียนช่วยแก้ปัญหา ครูสามารถปรึกษากับเด็ก ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายที่รังแกเพื่อนและถูกเพื่อนรังแก เพื่อเรียนรู้ประสบการณ์เหล่านั้นด้วยกัน และมองหาทางออกหรือข้อเสนอแนะต่อปัญหานั้น ๆ  เช่น การสร้างบรรยากาศให้เด็ก ๆ เล่าเรื่องที่เกิดขึ้น และให้พวกเขาบอกเล่าความรู้สึก และเปิดให้พวกเขาได้เรียนรู้การมีปฎิสัมพันธ์ต่อเรื่องที่อาจสร้างความเกรี้ยวกราดด้วยวิธีการที่ใจเย็นและสงบลง วิธีหนึ่งที่นักวิจัยเลือกใช้คือ การให้เด็ก ๆ เขียนบันทึกประจำวันเป็นประจำ เพื่อให้มีช่องทางระบายอารมณ์ในเชิงบวก การจัดให้เด็กนักเรียนได้มาพบปะพูดคุยกัน ภายหลังจากที่ครูได้แยกคุยกับเด็ก ๆ ที่เป็นคู่ขัดแย้งกันทีละคนแล้ว ครูควรจะเปิดให้มีการพบปะพูดคุยระหว่างกัน การเปิดให้ได้พูดคุยหรือซักถามกันอย่างตรงไปตรงมาระหว่างเด็ก ๆ ที่เป็นคู่ขัดแย้ง เป็นทางหนึ่งที่ช่วยสร้างความเข้าใจระหว่างกันได้ การสร้างความสัมพันธ์ที่เคารพซึ่งกันและกันระหว่างครูกับนักเรียนนักวิจัยย้ำว่า การแก้ปัญหาเรื่องการกลั่นแกล้งรังแก ต้องเป็นความร่วมมือระหว่างครูกับนักเรียน ครูควรจะพูดคุยกับเด็ก ๆ ด้วยความเคารพ ตั้งใจฟังและตอบสนองต่อมุมมองของเด็กนักเรียน ให้เวลามากเพียงพอในการทำความเข้าใจแง่มุมหรือความเห็นของพวกเขา การกลั่นแกล้งรังแกในโรงเรียนกลายเป็นเรื่องที่มีอยู่ทั่วทุกหัวระแหง ต่อไปนี้ เป็นประสบการณ์จากการทำงานวิจัยในสหราชอาณาจักร โดย นักวิจัยชื่อ อลิซาเบซ แนซเซม นักวิจัยแห่ง The Centre for the Study of Practice and Culture in Education, Birmingham City University เธอทำวิจัยเรื่องนี้มานานกว่าทศวรรษและเสนอแนวทางเพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้ในระดับโรงเรียนและพบว่า แนวทางที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือการทำให้เด็ก ๆ มีบทบาทนำในการจัดการแก้ปัญหาดังกล่าว เธอเสนอ 5 วิธีที่ครูสามารถเริ่มต้นได้ ได้แก่ การปรับปรุงความเข้าใจเรื่องการกลั่นแกล้งรังแก  ขอบเขตของการกลั่นแกล้งรังแกกว้างขวาง นับตั้งแต่การแกล้งหยอกล้อกันแบบเบา ๆ ไปจนถึงขั้นรุนแรง เช่น การตั้งฉายา หรือ การตบตี ซึ่งครูในโรงเรียนสามารถพูดคุยกับนักเรียนเกี่ยวกับประสบการณ์ที่พวกเขาพบเจอ  หรือ ถามถึงสาเหตุว่า ทำไมถึงได้รังแกเพื่อน และคุยกับพวกเขาว่า ควรแก้ปัญหาในเรื่องนี้อย่างไร บ่อยครั้งที่การกลั่นแกล้งรังแกกัน เกิดขึ้นเพื่อให้ตนเองได้เป็นที่นิยมชื่นชอบในหมู่เพื่อน หรือบ้างเป็นการลงมือทำเพื่อแก้เซ็ง หนทางที่สำคัญคือ การดึงเด็ก ๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ และสนับสนุนให้เพื่อน ๆ ช่วยเหลือในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วย ให้คำปรึกษากับเด็กนักเรียน ครูสามารถที่จะช่วยเหลือนักเรียนเพื่อให้พวกเขาได้เข้าใจพฤติกรรมของตัวเองที่เป็นฝ่ายกลั่นแกล้งรังแกเพื่อนและช่วยแก้ปัญหาที่ต้นตอนั้น ๆ ด้วยการพูดคุยกับเด็ก ๆ ว่า เกิดอะไรขึ้น การกระทำดังกล่าวส่งผลกระทบอย่างไร เด็ก ๆ จะมีแนวทางที่จะตอบโต้ต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ในแบบที่เคารพอีกฝ่ายหนึ่งได้อย่างไรหากเกิดเรื่องเช่นนี้อีก ซึ่งการใช้วิธีการแบบสมมุติบทบาท (role-playing) ตามฉากของสถานการณ์ต่าง ๆ จะช่วยในการทำความเข้าใจแบบแผนพฤติกรรมในทางลบได้ชัดเจนขึ้น  โรงเรียนสามารถจัดให้มีการพูดคุยเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องนี้แบบเชิงรุก การจัดกิจกรรมนี้ โรงเรียนควรจัดให้มีเป็นประจำมากกว่าจะคอยแก้ปัญหาเมื่อมีเหตุการณ์ใดเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว การสนับสนุนให้นักเรียนช่วยแก้ปัญหา  ครูสามารถปรึกษากับเด็ก ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายที่รังแกเพื่อนและถูกเพื่อนรังแก เพื่อเรียนรู้ประสบการณ์เหล่านั้นด้วยกัน และมองหาทางออกหรือข้อเสนอแนะต่อปัญหานั้น ๆ  เช่น การสร้างบรรยากาศให้เด็ก ๆ เล่าเรื่องที่เกิดขึ้น และให้พวกเขาบอกเล่าความรู้สึก และเปิดให้พวกเขาได้เรียนรู้การมีปฎิสัมพันธ์ต่อเรื่องที่อาจสร้างความเกรี้ยวกราดด้วยวิธีการที่ใจเย็นและสงบลง วิธีหนึ่งที่นักวิจัยเลือกใช้คือ การให้เด็ก ๆ เขียนบันทึกประจำวันเป็นประจำ เพื่อให้มีช่องทางระบายอารมณ์ในเชิงบวก การจัดให้เด็กนักเรียนได้มาพบปะพูดคุยกัน  ภายหลังจากที่ครูได้แยกคุยกับเด็ก ๆ ที่เป็นคู่ขัดแย้งกันทีละคนแล้ว ครูควรจะเปิดให้มีการพบปะพูดคุยระหว่างกัน การเปิดให้ได้พูดคุยหรือซักถามกันอย่างตรงไปตรงมาระหว่างเด็ก ๆ ที่เป็นคู่ขัดแย้ง เป็นทางหนึ่งที่ช่วยสร้างความเข้าใจระหว่างกันได้ การสร้างความสัมพันธ์ที่เคารพซึ่งกันและกันระหว่างครูกับนักเรียน นักวิจัยย้ำว่า การแก้ปัญหาเรื่องการกลั่นแกล้งรังแก ต้องเป็นความร่วมมือระหว่างครูกับนักเรียน ครูควรจะพูดคุยกับเด็ก ๆ ด้วยความเคารพ ตั้งใจฟังและตอบสนองต่อมุมมองของเด็กนักเรียน ให้เวลามากเพียงพอในการทำความเข้าใจแง่มุมหรือความเห็นของพวกเขา ที่มา: https://www.theguardian.com/teacher-network/2018/jan/17/bullying-is-still-rife-in-schools-heres-how-teachers-can-tackle-it  

Hate speech ในโลกออนไลน์

เมื่อวาจาทำร้ายใจกัน... การเดินทางจาก “Hate Speech” สู่ “Cyberbullying” ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมส่วนหนึ่งมาจากการสื่อสารเพื่อสร้างความเกลียดชัง ผ่านการพูด ผ่านตัวอักษรที่เต็มไปด้วยอารมณ์ทางลบ อคติ ตีตรา เหมารวม และความรู้สึกต้องการลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ของบุคคลหรือกลุ่มคนให้ลดลง Hate Speech (การสื่อสารเพื่อสร้างความเกลียดชัง) ในปัจจุบันถูกสื่อสารผ่านโลกออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ และอาจเป็นที่มาของการเกิด Cyberbullying (การกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์) แล้วเราจะจัดการ “Hate Speech” ในโลกออนไลน์ได้อย่างไร? 1.มีการสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ทางออนไลน์กับผู้อื่นโดยไม่คำนึงถึงอัตลักษณ์ที่แตกต่าง 2.มีความเห็นอกเห็นผู้อื่นโดยเฉพาะผู้ที่ถูกกลั่นแกล้งหรือถูกเกลียดชังในโลกไซเบอร์ 3.รายงานการพบเห็นการสื่อสารที่สร้างความเกลียดชังทางออนไลน์ผ่านช่องทางในสื่อสังคมออนไลน์ 4.สนับสนุนแนวทางการสื่อสารที่สร้างสรรค์ ให้ความรู้ความเข้าใจในแนวคิดการอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีความหลากหลายเพื่อลดอคติและการแบ่งแยกในสังคม ที่มา: เอกสาร การสื่อสารที่สร้างความเกลียดชัง (Hate Speech) และการศึกษาการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ของวัยรุ่น (2561) สนับสนุนโดย สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.)

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.