สำหรับผู้บกพร่องการมองเห็น
สำหรับบุคคลทั่วไป สมัครเพื่อดาวน์โหลดไฟล์สื่อต่างๆ ภายในเว็บไซต์
ค้นหา
อินโฟกราฟิกแนะนำวิธีการดูแลผู้สูงวัย ซึ่งเป็นประชากรกลุ่มเสี่ยงในช่วงการระบาดโควิด-19 ประกอบด้วยการดูแลทั้งด้านร่างกายเพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ และการดูแลสภาพจิตใจให้ไม่เผชิญหน้ากับความเครียดหรือเป็นทุกข์ในช่วงสถานการณ์ไม่ปกติ
วิธีรับมือข่าวลวง (Fake News) และข่าวร้าย (Bad News) ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่เราถูกห้อมล้อมด้วยข่าวมากมาย สื่อภาพอินโฟกราฟิกนี้ รวบรวมเทคนิคการตรวจสอบข่าวและข้อมูลให้ชัวร์ก่อนแชร์ และเทคนิคการรับมือข่าวร้ายๆ ด้วยสุขภาวะทางปัญญา ทำให้ใจไม่เป็นทุกข์และร้อนรนไปกับข่าวสารที่ได้รับ
อินโฟกราฟิกอธิบายขั้นตอนการรับมือความรู้สึกท้อแท้ ห่อเหี่ยวใจ เพื่อการสร้างสุขภาวะทางปัญญาให้รู้เท่าทันอารมณ์ห่อเหี่ยวใจที่เกิดขึ้น เกิดสติ ไม่จมดิ่งไปกับอารมณ์จนเกิดผลร้ายต่อตัวเองและคนรอบข้าง เป็นหนึ่งในสื่อจากองค์ความรู้ชุด 'เมนูภูมิคุ้มใจ 14 วัน ฉันทำได้'
N/A
ข้อแนะนำและแนวทางการปฏิบัติสำหรับสื่อมวลชนที่ควรพึงระวัง ในการนำเสนอข่าวที่เกี่ยวข้องกับเยาวชนเรื่องภัยออนไลน์ โดยต้องคำนึงถึงหลักจริยธรรมเป็นหลัก ทั้งเนื้อหาและวิธีการนำเสนอข่าว ไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล อีกทั้งข้อควรระวังต่างๆ ที่จะไม่เป็นการสร้างภาพลักษณ์ในทางลบแก่เยาวชนหรือสร้างกระแสวิจารณ์จากสาธารณะ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อตัวเยาวชนและครอบครัวในภายหลัง
พราะอาหารเป็นพื้นฐานสำคัญของการมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง และเราก็มักจะมุ่งไปที่การรับประทานอาหารจากสารอาหารทั้ง 5 หมู่ จนหลงลืมความสำคัญของสารอาหารที่ไม่ให้พลังงานอย่างไฟเบอร์ หรือกากใยอาหารไป ซึ่งในความเป็นจริงนั้น กากใยอาหารมีความจำเป็นต่อระบบการทำงานของร่างกายเป็นอย่างมาก ซึ่งการรับประทานอาหารที่ให้กากใยอาหารอย่างเพียงพอวันละ 5 กำมือ จะช่วยให้ร่างกายเกิดสมดุลในระบบขับถ่าย ทำให้ขับถ่ายคล่อง ลดการเกิดโรคในระบบทางเดินอาหาร ไม่เกิดอาการท้องผูก ลำไส้แข็งแรง และยังป้องกันมะเร็งลำไส้ด้วย มากไปกว่านั้น ประโยชน์ของกากใยอาหาร ยังช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลและระดับไขมันในเลือด และช่วยในการควบคุมน้ำหนัก ดังนั้นจึงควรเพิ่มเมนูประเภทที่ให้กากใยอาหารสูงในแต่ละมื้อ ซึ่งมีอยู่มากในอาหารประเภทถั่วเมล็ดแห้ง ธัญพืชและข้าวไม่ขัดสี ผักและผลไม้ ถ้ารู้ตัวว่าร่างกายของเราได้รับกากใยอาหารน้อยไป ก็อยากชวนมาปฏิวัติตัวเองใหม่ ด้วยการเพิ่มเมนูที่ให้กากใยสูงตั้งแต่มื้อต่อไปเลย
เปลี่ยนวิถีการเที่ยวครั้งใหม่ ให้ดีต่อใจ ดีต่อกาย และดีต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการเที่ยววิถีอินทรีย์ที่เชื่อมโยงอย่างผู้คนในระบบการท่องเที่ยว ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้คุณค่าของเกษตรอินทรีย์ ที่ไม่ได้ให้แค่สุขภาพดีอย่างเดียว แต่ช่วยยกระดับคุณค่าทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมให้ดียิ่งขึ้นด้วย
เพราะการตระหนักเสมอว่าอาหารที่เรากินเข้าไปส่งผลต่อตัวเรา สังคม และสิ่งแวดล้อมยังไงบ้างก็เป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งการอัพเกรดตัวเองให้เป็นนักกินคุณภาพที่ใส่ใจการกินอย่างรอบด้านก็ทำได้ไม่ยากเลย แค่ลองเปลี่ยนมาช้อปปิ้งวัตถุดิบที่ตลาดสีเขียว พูดคุยแลกเปลี่ยนกับเกษตรกรกันเยอะๆ เพื่อทำความเข้าใจเรื่องที่มาที่ไปของอาหารการกินของเรา ส่วนใครที่ไม่มีเวลาขนาดนั้นก็หันมาสนับสนุนร้านอาหารปรุงดี เลือกใช้วัตถุดิบสะอาดปลอดภัยกินแทนในชีวิตประจำวันก็ได้ และเมื่อเรากินดีแล้ว อย่าลืมชักชวนเพื่อนๆ มาร่วมกินดีไปกับเราเยอะๆ ด้วยนะ และสำหรับใครที่มีเครือข่ายรอบตัว รู้จักโรงเรียนหรือโรงพยาบาล ก็สามารถช่วยเข้าไปให้ความรู้ สนับสนุนองค์กรเหล่านี้ให้หันมาทำครัวสีเขียว ส่งต่ออาหารปลอดภัยให้คนรอบตัวได้กินด้วยก็ดี
ทำไมต้องมี PGS เพราะระบบการตรวจสอบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่ดำเนินการโดยหน่วยงานอิสระจากภายนอก เช่น IFOAM หรือ มกอช. (มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ Organic Thailand) นั้น มักจะมีระเบียบข้อกำหนดที่ค่อนข้างเข้มงวด สลับซับซ้อน และอาจไม่เหมาะกับเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์เพื่อขายในท้องถิ่นหรือเกษตรกรรายย่อย ทาง IFOAM จึงได้มีการพัฒนาระบบการรับรอง Participatory Guarantee System (PGS) ที่สมาชิกกลุ่มผู้ผลิตและชุมชนสามารถมีส่วนร่วมในการกำหนดข้อตกลงที่เหมาะสมกับเกษตรกรในพื้นที่ แต่ก็ยังมีตรวจสอบกระบวนการผลิตเป็นประจำ ทำให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ถึงความปลอดภัย ขณะที่เกษตรกรรายย่อยก็สามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสังคมอินทรีย์ได้เช่นกัน
ผักเหลือจากในครัวอย่าเพิ่งรีบทิ้ง! มาคืนชีพให้พวกมันกลับมาเติบโตต่อได้กันดีกว่า กะเพรา โหระพา แมงลัก หรือผักที่มีก้าน และเด็ดใบจนเกลี้ยงแล้ว สามารถนำก้านเหล่านั้นไปแช่น้ำให้พอมีรากอ่อนๆ เพื่อนำไปปักชำเป็นต้นที่เติบโตต่อไปได้ ส่วนผักจำพวกขึ้นฉ่าย ผักชีฝรั่ง และผักบุ้งที่เหลือรากให้ต้องทิ้งอยู่บ่อยๆ ลองเปลี่ยนมาตัดรากแบบเหลือลำต้นเอาไว้เล็กน้อย แล้วตัดแต่งรากให้ไม่ยาวเกินไปก็สามารถนำไปปักลงดินแล้วรดน้ำเพื่อปลูกต่อได้เช่นกัน ขนาดพืชหัวอย่างหอมหรือกระเทียม แค่นำกลีบหรือหัวไปปักลงดินแล้วรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ พวกมันก็จะโตขึ้นมาเป็นต้นให้เราเอาไปใช้ประโยชน์ต่อได้ไม่ยากเลย ใครที่ทำอาหาร คราวหน้าก็ลองนำวิธีเหล่านี้ไปปรับใช้ดูนะ ต่อไปเราจะได้ไม่ต้องมีเศษผักเหลือทิ้ง แล้วยังได้ผักต้นใหม่ไว้กินต่อฟรีๆ ด้วย
โรคไตในเด็กอาจเกิดขึ้นได้แต่กำเนิดหรือจากการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม แต่ปัญหาคือโรคนี้มักไม่แสดงอาการ ทำให้ผู้ปกครองมักไม่รู้ จึงพาเด็กส่งถึงแพทย์ช้า และอาจเกิดอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้น เราจึงรวบรวมข้อมูลที่สำคัญมาให้ว่าผู้ใหญ่จะสังเกตอาการป่วยทางไตของเด็กๆ ผ่านพฤติกรรมการเลี้ยงดู และการสังเกตจากปัสสาวะของเด็กๆ ได้อย่างไรให้ทันท่วงที
เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.