2/16 ซ.อารีย์ 5 ถ.พหลโยธิน พญาไท กรุงเทพฯ 10400
ธนาคารจิตอาสา
-
ช่องทางการติดต่อภาคี
-
ที่อยู่
-
อีเมล
-
ที่มาของภาคีโดยสังเขป
ธนาคารจิตอาสา รับผิดชอบและดำเนินโครงการเพื่อสนับสนุนและสร้างโอกาสให้ทุกคนได้มีสุขภาวะทางปัญญา
ภายใต้วิสัยทัศน์บนความเชื่อว่า “สังคมไทยได้มีความสุขจากการทำความดี แทนความสุขจากการบริโภค และเกิดทัศนคติที่เอื้อต่อจิตใจ เข้าใจในความดี คือการให้และแบ่งปัน และเข้าใจในความจริง คือการเข้าใจในชีวิต” โดยขับเคลื่อนงานที่สนับสนุนกลไกและงานสื่อสารที่สร้างปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อและเปิดโอกาสให้ผู้คนมีประสบการณ์ด้วยตนเอง หรือประสบการณ์ตรง (direct experience) จาก 8 ช่องทาง ได้แก่ งานจิตอาสา ความสัมพันธ์ การสัมผัสธรรมชาติ การศึกษาเรียนรู้
การทำงาน ศิลปะ การเคลื่อนไหวร่างกาย และการภาวนา รวมถึงการเสริมสร้างทักษะเพื่อเพิ่มพูนความเข้าใจในตนเอง
ความเข้าใจในชีวิตและโลก ได้แก่ กระบวนการพัฒนาจิตด้วยทักษะการตระหนักรู้ (self-awareness) และทักษะการสะท้อนตนเอง(self-reflection) ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตนเอง รวมทั้งงานสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง โดยเน้นการติดตั้งทักษะเพื่อการมีสุขภาวะทางปัญญา พร้อมทั้งจัดหลักสูตรที่เอื้อให้เกิดการเชื่อมโยงสนับสนุนกันระหว่างภาคี โดยงานกลไกสนับสนุนช่องทางพัฒนาจิตและสื่อสารนั้นดำเนินงานภายใต้แบรนด์ธนาคารจิตอาสา, ความสุขประเทศไทย และจิตอาสาพลังแผ่นดิน
เว็บไขต์โครงการภายใต้การดำเนินงานของธนาคารจิตอาสา
ความสุขประเทศไทยwww.happinessisthailand.com
จิตอาสาพลังแผ่นดิน www.palangpandin.com
-
ช่องทางการติดต่อภาคี
ธนาคารจิตอาสา รับผิดชอบและดำเนินโครงการเพื่อสนับสนุนและสร้างโอกาสให้ทุกคนได้มีสุขภาวะทางปัญญา
ภายใต้วิสัยทัศน์บนความเชื่อว่า “สังคมไทยได้มีความสุขจากการทำความดี แทนความสุขจากการบริโภค และเกิดทัศนคติที่เอื้อต่อจิตใจ เข้าใจในความดี คือการให้และแบ่งปัน และเข้าใจในความจริง คือการเข้าใจในชีวิต” โดยขับเคลื่อนงานที่สนับสนุนกลไกและงานสื่อสารที่สร้างปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อและเปิดโอกาสให้ผู้คนมีประสบการณ์ด้วยตนเอง หรือประสบการณ์ตรง (direct experience) จาก 8 ช่องทาง ได้แก่ งานจิตอาสา ความสัมพันธ์ การสัมผัสธรรมชาติ การศึกษาเรียนรู้
การทำงาน ศิลปะ การเคลื่อนไหวร่างกาย และการภาวนา รวมถึงการเสริมสร้างทักษะเพื่อเพิ่มพูนความเข้าใจในตนเอง
ความเข้าใจในชีวิตและโลก ได้แก่ กระบวนการพัฒนาจิตด้วยทักษะการตระหนักรู้ (self-awareness) และทักษะการสะท้อนตนเอง(self-reflection) ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตนเอง รวมทั้งงานสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง โดยเน้นการติดตั้งทักษะเพื่อการมีสุขภาวะทางปัญญา พร้อมทั้งจัดหลักสูตรที่เอื้อให้เกิดการเชื่อมโยงสนับสนุนกันระหว่างภาคี โดยงานกลไกสนับสนุนช่องทางพัฒนาจิตและสื่อสารนั้นดำเนินงานภายใต้แบรนด์ธนาคารจิตอาสา, ความสุขประเทศไทย และจิตอาสาพลังแผ่นดิน
เว็บไขต์โครงการภายใต้การดำเนินงานของธนาคารจิตอาสา
ความสุขประเทศไทยwww.happinessisthailand.com
จิตอาสาพลังแผ่นดิน www.palangpandin.com
สายใยรักกลางชุมชนแออัด
ชุมชนแออัด อาจเป็นแหล่งมือบอดที่สังคมส่วนใหญ่มองข้าม ทว่า รัศมี ทอนทอง- ป้าหมี และติ๋ม ชูแก้ว-ป้าติ๋ม คือผู้มอบแสงสว่างให้กับชุมชนแห่งนี้ ด้วยความรักและการเอาใจใส่เสมือนแม่คนที่สองของเด็ก ๆ ณ ศูนย์พัฒนาเด็กดวงแข มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) ทุกวันนี้ป้าหมี และป้าติ๋ม ทำงานจิตอาสา เพื่อดูแลเด็กในชุมชนวัดดวงแข ข้างสถานีรถไฟหัวลำโพง ให้ก้าวพ้นวัฏจักรของเด็กสลัมที่ท้ายสุดก็หนีไม่พ้นเรื่องยาเสพติด ให้กลายเป็นเด็กที่มีอนาคต และสามารถไปศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยได้
อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
เสกโรคซึมเศร้าให้เป็นรอยยิ้มด้วยกิจกรรมมนตร์อาสา
“มนตร์อาสา” คือกลุ่มกิจกรรมจิตอาสา ที่คุณเน หรือทิพย์ชยพล ปารีณาพัฒน์นรี ตั้งขึ้นมาเพื่อต้องการบำบัดความซึมเศร้าของตนเอง ในขณะเดียวกันก็อยากจะชวนเพื่อนมาร่วมกันเสกเวทมนตร์การบำบัดนี้เพื่อลดทอนความซึมเศร้าและภาวะเครียดในสังคมด้วยการลุกขึ้นมามีความสุขมากขึ้นโดยไม่ต้องคิดหมกมุ่นแต่เรื่องของตัวเอง ด้วยกิจกรรมไปล้างกรงเสือ กรงหมี ที่ศูนย์เพาะเลี้ยงสัตว์ป่า หรือศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่า รวมทั้งยังมี “กิจกรรมหินน้อยค่อยเจรจา” โดยในวงกิจกรรมมีหินอยู่ 1 ก้อน หินไปอยู่ที่ใครคนนั้นจึงมีพื้นที่ในการพูดและการเจรจา เพื่อผ่อนคลายความเครียดในใจให้เพื่อนได้รับฟัง
อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
ลมหายใจแห่งความสุข ณ ต้นทางแห่งการเปลี่ยนแปลง
ทุกชีวิตต้องการความสุข แต่กลับลืมไปว่าว่าสุขมาแล้วก็ไป พระอาจารย์นาวี ปิยทัสสี เจ้าอาวาสวัดถ้ำดอยโดน อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ อธิบายความสุขออกเป็น 2 แบบ คือ ความสุขจากภายนอกและความสุขจากภายใน ทุกวันนี้ที่คนเราเป็นทุกข์มากมาย เพราะไปยึดติดกับความสุขจากภายนอก สุขจากความสัมพันธ์ พอสุขเปลี่ยนไปก็เกิดทุกข์ การยอมรับความจริงแห่งความเปลี่ยนแปลง มีวัคซีนบอกตัวเองว่าความสัมพันธ์มันเปลี่ยนแปลงได้ เราก็จะทุกข์น้อยลง จงใช้ “ปัญญา” ในการยอมรับการเปลี่ยนแปลง แล้วเราจะมีความสุขมากขึ้นจากภายในของเราเอง
อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
มาตาภาวนา ธรรมะพักใจผู้หญิงเมืองกรุง
“มาตาภาวนา” เป็นการปฏิบัติธรรมสำหรับผู้หญิงเมืองกรุง โดยเฉพาะเพราะสถานที่ในการเข้าไปพักใจ ด้วยการปฏิบัติธรรม ฝึกภาวนา และปิดวาจา เพื่อชำระล้างใจให้สะอาดนั้น จัดขึ้นที่สวนโมกข์กรุงเทพฯ ย่านจตุจักร เป็นประจำทุกสัปดาห์ที่ 2 และ 4 ของทุกเดือน หลังจากนั้นผู้หญิงซึ่งมีภาระหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่ ในการเป็นแม่ที่ต้องดูแลลูก เป็นภรรยาที่ต้องดูแลสามี และเป็นลูกสาวที่ต้องดูแลพ่อแม่ที่แก่เฒ่า ก็จะได้ชาร์ตแบตให้จิตใจได้เข้มแข็งและมีพลังก้าวเดินไปอย่างมีความสุข
อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
แผนที่สู่ความสุขบนเส้นทางนพลักษณ์
นพลักษณ์ คือศาสตร์แห่งการเข้าถึงตนเอง โดยพระสันติกโร พระภิกษุชาวอเมริกัน นำมาเผยแพร่ที่เมืองไทย นพลักษณ์ จะกล่าวถึงคุณลักษณะของคนทั้ง 9 ลักษณ์ที่แตกต่างกัน แต่ละลักษณ์มีศักยภาพและจุดอ่อนในตัวเอง ถ้าเรารู้ทันตัวเรา และดึงศักยภาพนั้นมาพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นได้ รวมทั้งถ้าเราตระหนักรู้ ก็จะสามารถดูแลจุดอ่อนของเราไม่ให้เบียดเบียนตัวเราเองและผู้อื่น นพลักษณ์จึงเปรียบเสมือนแผนที่ของชีวิตที่ทำหเราเข้าใจตนเองมากขึ้น และเห็นใจผู้อื่นด้วยเช่นกัน
อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
ค้นหาตัวตนผ่านศิลปะงานต่อผ้า
ธิดาวรรณ วิวัฒน์คุณูปการ หรือ ครูตู่ และภวัญญา แก้วนันตา หรือป้าหนู สองสาวผู้หลงใหลในเศษผ้าผืนเล็ก ที่นำมาสร้างสรรค์ ผสานกับจินตนาการ กลายเป็นผ้าผืนใหญ่ที่มีเสน่ห์ และเรื่องราวชวนติดตาม และสะท้อนความเป็นตัวเองออกมา การทำงานเย็บต่อผ้า เป็นกิจกรรมที่ทำให้เราได้อยู่กับตัวเอง ฟังเสียงของตัวเอง และเป็นพื้นที่ที่เรากล้าแสดงอารมณ์ และความเป็นตัวเราได้อย่างแท้จริง
อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
บางกอกนี้ดีจัง สร้างพื้นที่ศิลปะวัฒนธรรมให้คนเมืองกรุง
ตัน-สุรนาถ แป้นประเสริฐ จากเด็กที่เคยติดยา และค้ายา กลายมาเป็นแกนนำก่อตั้ง “บางกอกนี้ดีจัง” เครือข่ายเยาวชนและชุมชน ที่ลุกขึ้นมาสร้างสรรค์ชุมชนบ้านเกิดของตนเอง ให้เป็นพื้นที่สร้างสรรค์ ด้วย แนวคิด 3 ดี คือ สื่อดี พื้นที่ดี และภูมิดี โดยมีมูลนิธิเพื่อนเยาวชน เป็นองค์กรพี่เลี้ยง ร่วมกับภาคีเครือข่ายต่าง ๆ จาก สสส. และภาคประชาสังคม ภาครัฐ ที่ให้การส่งเสริมและสนับสนุนกับเยาวชนและคนในชุมชนได้มีโอกาสลุกขึ้นมาสำรวจชุมชนของตตนเอง ส่งเสริมของดีในชุมชนทั้งศิลปะวัฒนธรรมและวิถีชีวิตต่าง ๆ เพื่อร้อยเรียงชุมชนให้เป็น...บางกอกนี้ดีจัง
อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
จากเด็กท้องนาสู่อาจารย์สอนศิลปะเพื่อชุมชน
ผศ. ดร. อภิชาติ พลประเสริฐ หัวหน้าภาควิชาศิลปะ ดนตรีและนาฎศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากเด็กชัยภูมิได้รับโอกาสทางการศึกษา เมื่อเติบใหญ่ได้เป็นครู จึงขอตอบแทนกลับสู่สังคม ด้วยการเป็นครู “ผู้ให้” ตามที่ตั้งใจไว้ “...เรางานศิลปะไปสู่ชุมชนทางศูนย์ศิลป์ที่ชัยภูมิเปิดบ้านเป็นศูนย์ศิลป์ สอนเด็กวาดรูปฟรี มีเพื่อนศิลปินต่างชาติมาร่วมทำงานศิลปะ และทำกิจกรรมร่วมกับชาวบ้านด้วย ศิลปินคนหนึ่งได้ออกแบบลายผ้าโดยได้รับแรงบันดาลใจจากสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน แล้วจ้างแม่บ้านทอผ้าไหมจากลวดลายที่เขาออกแบบ เสร็จแล้วจัดนิทรรศการให้ชาวบ้านได้ชม และจัดแสดงต่อที่กรุงเทพฯ และที่อเมริกา” แม้วันนี้ครูอภิชาตเรียนจบดีกรีเด็กนักเรียนนอก แต่ครูกลับเลือกลับมาทำงานที่บ้านเกิด
อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
ความสุขของนักเสริมพลังการเรียนรู้เพื่อครูปฐมวัย
สรวงธร นาวาผล และ สายใจ คงทน สองสาว พี่เลี้ยงผู้ริเริ่มโครงการ มหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3 ดี วิถีสุข (สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี) ภายใต้การสนับสนุนของ สสส. เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพครูศูนย์เด็กเล็กทั่วประเทศ ด้วยการรับฟัง ยอมรับ และการให้ควาทเชื่อมั่นต่อพลังอำนาจของครูที่มีคุณค่า กับการสร้างเครือข่าย “ครอบครัวครูมหัศจรรย์ทั้งสี่ภาค” เพื่อเสริมพลังให้ครูในศูนย์เด็กเล็กได้ประสบความสำเร็จ สร้างความเปลี่ยนแปลงให้เด็ก ๆ ด้วยพลังของความรัก และความเข้าใจ ควบคู่ไปกับความรู้
อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
ธนัญธร เปรมใจชื่น รับฟังด้วยหัวใจ
ธนัญธร เปรมใจชื่น หรือ อาจารย์น้อง กระบวนกรอบรมด้านการพัฒนาตนเองจากภายในผ่านการจัดอบรมด้านการฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening) ปัญหาหลาย ๆ อย่าง เกิดจากการที่เราไม่รับฟัง ไม่ใช่แค่ฟังคนอื่น แต่ไม่เคยฟังเสียงตนเอง ไม่เคยได้ยินว่าฉันพูดอะไรออกไป การอบรมด้านการฟังอย่างลึกซึ้ง เราจะได้ยินเสียงความคิดของตนเอง เมื่อเราเข้าใจตนเองมากขึ้น เราก็จะทำชีวิตให้ดีขึ้น ยกระดับจิตใจตนเองให้มีความสุขได้มากขึ้น
อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
เดอะเรนโบว์รูม ครอบครัวหัวใจสีรุ้ง
โรสซาลีน่า อเล็กซานเดอร์ แม๊คเคย์ ผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิเดอะ เรนโบว์ รูม เพื่อทำภารกิจในการสร้างเครือข่ายเพื่อครอบครัวเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ด้วยเป้าหมายเพื่อสร้างความเข้าใจในครอบครัวและสังคม ได้เปิดพื้นที่และโอกาส เพื่อการพัฒนาเต็มศักยภาพของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ และครอบครัวได้มีพลังใจยืนหยัด และทำหน้าที่ของตนเองได้อย่างดีที่สุด และมีความสุขที่สุด
อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
ส่งความรักผ่านการออกกำลังกายจากแม่สู่ลูกภาวะออทิสติก
วรรณวิชญ์ เหล่าตระกูลงาม หรือ ปาล์ม ลูกชายของแม่อู๊ด ที่เริ่มเป็นเด็กออทิสติก ตั้งแต่ 4 ขวบ ด้วยแม่อู๊ดสังเกตอาการของคุณปาล์ม ว่าไม่พูดและม่สบตาม แม่อู๊ดคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวลูกสอง เลยตัดสินใจลาออกจากงานมาเลี้ยงดูลูกทั้ง 2 คน ด้วยความรัก ความเข้าใจ และเอาใจใส่ให้ลูกสามารถยืนหยัดในสังคมได้ แม่อู๊ดจึงค้นหาวิธีการเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของคุณปาล์ม ด้วยการออกกำลังกายด้วย “การวิ่ง” เพราะการออกกำลังกายทำให้คุณปาล์มมีสมาธิ ช่วยลดพฤติกรรมก้าวร้าว รุนแรง นอกจากนี้การวิ่ง ยังเป็นกิจกรรมที่คุณปาล์มและแม่อู๊ดได้ใช้กิจกรรมด้วยกัน ผลพวงที่ได้คือ สุขภาพแข็งแรงทั้งแม่และ
อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
โยคะภาวนา ฝึกกายและจิตรวมเป็นหนึ่งเดียว
กวี คงภักดีพงษ์ หรือ ครูกวี ผู้อำนวยการสถาบันโยคะวิชาการ มูลนิธิหมอชาวบ้าน ได้ค้นพบหัวใจของการฝึก “โยคะภาวนา” คือ การเข้าไปดูที่จิต ปิดจิตไม่ให้คิดปรุงแต่ง เมื่อไหร่ที่เราดับการปรุงแต่งของจิต จิตเราจะเข้าสู่สมาธิ หลักการฝึกโยคะภาวนา ใช้ความนิ่งและสบาย ใช้แรงกายให้น้อยที่สุด สภาวะของการฝึกโยคะภาวนาแบ่งออกเป็น 3 สภาวะด้วยกัน คือ 1. การรวมกายและจิตเข้าด้วยกัน มีสติรู้อยู่กับกายตลอดเวลา 2. ความสมดุล ทั้งภายในตนเอง ระหว่างตนเองกับผู้อื่น และตนเองกับสภาพแวดล้อม 3. การพัฒนา โดยเฉพาะการฝึกจิตให้นิ่งและบริหารจิตให้เข้มแข็งจนยกระดับให้สูงยิ่งๆ ขึ้นไป
อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
สุขกายสุขใจวัยเกษียณ
สุรีย์ นาวีเรือรัตน์ หรือ ครูเจี๊ยบ ครูสอนออกกำลังกายแบบเต้าเต้อจิง ทางเลือกของการออกกำลังที่เหมาะกับผู้สูงอายุ เพราะเน้นการหายใจและการเคลื่อนไหวไปตามจังหวะเพลงแบบไม่เร่งรีบ ครูเจี๊ยบอดีตเป็นดีไซน์เนอร์กระเป๋าที่โรงงานย่านนครปฐม หลังจากหายป่วยจากโรคมะเร็งรังไข่ ก็หันมาดูแลสุขภาพด้วยการออกกำลังกายเต้าเต้อจิง รวมทั้งชักชวนเพื่อนๆ ในวัยเกษียณ มาจัดตั้งกลุ่มผู้สูงอายุ ออกกำลังกายแบบเต้าเต้อจิง ที่จังหวัดนนทบุรีด้วย
อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
ร้านยิ้มสู้ คาเฟ่ของคนหัวใจไม่พิการ
“ปัจจุบันคนพิการในประเทศไทยที่อยู่ในวัยทำงานมีทั้งหมดประมาณ 7 แสนคนและยังมีศักยภาพที่ความสามารถทำงานได้ประมาณ 4 แสนคน ส่วนที่เหลืออีก 2 แสนมีความพิการซ้ำซ้อนซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน ทว่าหากสังคมไทยมองข้ามความบกพร่องของผู้พิการสู่การเติมเต็มความแตกต่างแล้ว คนพิการจะสามารถทำงานได้มากกว่าอาชีพขอทานอย่างแน่นอน” ศ. ดร. วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ กล่าวไว้ และนี่เองคือแนวคิดของ “ยิ้มสู้คาเฟ่” ร้านคาเฟ่ธรรมดา ที่ไม่ธรรมดา เพราะที่นี่มีคนพิการแตกต่างกัน ทว่าสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุขด้วยหัวใจที่ไม่พิการ
อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com